จดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดี โอบามา และประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เรื่องการส่งเสริมสันติภาพ การประนีประนอม และการพัฒนาในพม่า

ข่าวต่างประเทศ Monday November 19, 2012 14:15 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

อ็อตตาวา--19 พ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ ก่อนที่การประชุมระหว่างนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา และอู เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีแห่งพม่าจะเริ่มต้นนั้น ผู้แทนสตรี 5 คนที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจากกลุ่มสตรีโนเบล (Nobel Women’s Initiative) ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกเพื่อเรียกร้องให้ผู้นำของประเทศยุติเหตุการณ์รุนแรงที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นระบบในรัฐยะไข่ หรืออาระกัน ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเต็มรูปแบบในพื้นที่ประสบเหตุ และการประนีประนอมที่นำโดยผู้นำชุมชน สำเนาจดหมายเปิดผนึกฉบับเต็ม มีดังต่อไปนี้: 18 พฤศจิกายน 2555 ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐ 1600 ถนนเพนซิลวาเนีย เอ็นดับเบิ้ลยู วอชิงตัน ดีซี 20500 สหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดี อู เต็ง เส่ง ทำเนียบประธานาธิบดี เนปีดอ;N พม่า เรื่องการส่งเสริมสันติภาพ การประนีประนอม และการพัฒนาในพม่า เรียน ประธานาธิบดี โอบามา เรียน ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ขณะที่ท่านได้ประชุมร่วมกันที่พม่าในสัปดาห์นี้ เราได้เขียนคำร้องเพื่อข้อคำมั่นสัญญาจากท่านให้ช่วยยุติเหตุการณ์รุนแรงอย่างเป็นระบบขณะที่เหตุการณ์รุนแรงกำลังทวีความรุนแรงขึ้นในรัฐอาระกัน เรามีความเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ได้รับทราบรายงานผู้เสียชีวิตจำนวน 170 คน และผู้ที่ถูกขับไล่ออกจากที่อยู่อาศัยจำนวน 110,000 คน เราสนับสนันให้ยุติการกีดกันความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ทั้งในด้านยา อาหาร และที่พักพิง และช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์รุนแรงดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย เด็ก และสตรี ในฐานะผู้นำสันติภาพ เรากำลังติดตามเหตุการณ์ความขัดแย้งในรัฐกะฉิ่น และรัฐอาระกันด้วยความเป็นห่วงอย่างยิ่ง ออง ซาน ซูจี เพื่อนผู้ได้รับรางวัลโนเบลของเรา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพม่าได้กล่าวถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในครั้งนี้ว่าเป็น “โศกนาฏกรรมระดับสากลครั้งใหญ่” จดหมายเปิดผนึกฉบับนี้เป็นคำร้องฉุกเฉินเพื่อร้องขอให้ท่านตัดสินใจเพื่อยุติเหตุการณ์ความรุนแรงในรัฐทั้ง 2 แห่ง รวมถึงปกป้อง และให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบเหตุ เราไม่สนับสนุนให้มีการการยุติเหตุการณ์รุนแรงโดยใช้ความรุนแรง เรามีความเชื่อว่าการใช้ความรุนแรงไม่สามารถบรรเทาความทุกข์ของประชาชนในพม่าได้ ความคิดที่ว่า วิธีการอดทนไม่ตอบโต้ และการแบ่งแยกกลุ่มคน จะก่อให้เกิดสันติภาพนั้น ถือเป็นตรรกะที่ผิดพลาด ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับข้อบกพร่องทางการเมืองในระดับชาติ และระหว่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น หากความขัดแย้งที่รุนแรงเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้การปฏิรูปที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจล่าช้า และความไม่สงบ รวมถึงเหตุการณ์รุนแรงอาจแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ และสั่นคลอนความมั่นคงในพื้นที่ การจัดลำดับความสำคัญของท่าน ควรจะรวมไปถึงการสรรหาวิธีการประนีประนอมที่ครอบคลุมในรัฐอาระกัน และการริเริ่มเจรจาสันติภาพที่สำคัญกับผู้นำต่างๆของรัฐกะฉิ่น สตรีเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ และเป็นตัวแทนที่สำคัญยิ่งในกระบวนการทั้ง 2 วิธีข้างต้น นอกจากนี้ สันติภาพที่ถาวรต้องการคำมั่นสัญญาภายในชาติ และระหว่างประเทศเพื่อยุติปัญหาการไร้สัญชาติของชาวโรฮิงยา ด้วยการส่งเสริมความพยายามในการปรับปรุงคุณภาพความเป็นอยู่ และการศึกษาของประชากรในพม่า เราพึงพอใจกับการพัฒนาที่ดีที่เพิ่งเกิดขึ้นในการปฏิรูปประชาธิปไตยของพม่า อย่างไรก็ตาม การทำงานที่สำคัญให้บรรลุเป้าหมายเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อตอกย้ำถึงการผนึกรวมตัวกันอย่างแท้จริงของกลุ่มบุคลากรทางการเมือง ชนกลุ่มน้อย และกลุ่มเคร่งศาสนาในการพัฒนาอนาคตของประเทศ การที่เราไม่สามารถควบคุมประชากรที่หลากหลายโดยปราศจากการกดขี่ หรือความรุนแรงได้ จะก่อให้เกิดผลร้ายต่อการพัฒนา สันติภาพ และความมั่นคงภายในพม่า เรามั่นใจว่าประชาชนชาวพม่าทุกศาสนา และทุกเชื้อชาติมีโอกาสที่จะได้รับการยอมรับ และการปกป้องที่ดีที่สุดจากการเป็นประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ และสอดคล้องกับผลประโยชน์ในระดับประเทศของท่าน ด้วยเหตุนี้เราจึงเรียกร้องให้: - มีการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเต็มรูปแบบในพื้นที่ประสบเหตุ - การสร้างความประนีประนอมโดยผู้นำทางศาสนา และผู้นำในท้องถิ่น - และท้ายที่สุด เพื่อร้องขอคำมั่นสัญญาจากท่านเพื่อยุติเหตุการณ์ความรุนแรงที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องในรัฐอาระกันอย่างเป็นระบบ รัฐบาลพม่ามีภารกิจที่สำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ยากที่ไม่สามารถแก้ไขได้จากเหตุการณ์ความขัดแย้งรุนแรงในระดับท้องถิ่น และประเทศ เราอยู่เคียงข้างท่าน และประชาชนชาวพม่า เพื่อดำเนินการยกระดับเสรีภาพของมนุษย์ และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ และประชาธิปไตยภายประเทศ และท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้า ด้วยความเคารพอย่างสูง โจดี้ วิลเลียมส์ (Jody Wiliams) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2540 เลย์มาห์ โกบวี (Leymah Gbowee) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2554 เมรีด แมไกร์ (Mairead Maquire) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2519 ริโกเบอร์ต้า เมนชู ทัม (Rigoberta Menchu Tum) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2535 ชีริน อีบาดี (Shirin Ebadi) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2546 เกี่ยวกับ กลุ่มสตรีที่ได้รับรางวัลโนเบล กลุ่มสตรีที่ได้รับรางวัลโนเบล (The Nobel Women’s Initiative) เป็นองค์กรซึ่งประกอบด้วยสตรีผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ 6 คน ได้แก่ เมรีด แมไกร์, ริโกเบอร์ต้า เมนชู ทัม, โจดี้ วิลเลียมส์, ชีริน อีบาดี, เลย์มาห์ โกบวี และทาวัคคอล คาร์แมน กลุ่มสตรีโนเบลก่อตั้งขึ้นด้วยวิสัยทัศน์ในการช่วยเสริมสร้างการดำเนินงานด้านการสนับสนุนสิทธิสตรีทั่วโลก กลุ่มสตรีโนเบลใช้เกียรติยศแห่งรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และกิตติคุณแห่งผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพที่กล้าหาญ เพื่อแผ่ขยายอำนาจ และการทำงานของผู้หญิงเพื่อสันติภาพ ความยุติธรรม และความเสมอภาคในประเทศต่างๆทั่วโลก เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่: http://nobelwomensinitiative.org ติดต่อ: ราเชล วินเซนท์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อและการสื่อสาร โทร. +1-613-276-9030 อีเมล: rvincent@nobelwomensintiative.org

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ