มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงผนึกกำลังพัฒนานวัตกรรม สานฝันจีนสู่ผู้นำโลก

ข่าวต่างประเทศ Friday January 19, 2018 18:23 —Asianet Press Release

หางโจว, จีน--19 ม.ค.--ซินหัว-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์ ทีมงานซึ่งนำโดยศาสตราจารย์หลี่ หลานจวน ได้รับรางวัล Grand Prize of China's National Science and Technology Progress Awards ในวันที่ 8 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา สำหรับผลงานในการป้องกันโรคติดต่อ ซึ่งรวมถึงเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H7N9 ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ ศจ.หลี่ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการประจำห้องปฏิบัติการหลักแห่งรัฐเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรคติดต่อ ณ โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (ZJU) และเป็นสมาชิกของสถาบันวิศวกรรมจีน (CAE) รางวัลดังกล่าวเป็นการให้การยกย่องในระดับสูงสุดสำหรับความสำเร็จด้านเทคโนโลยีในประเทศจีน ศจ.หลี่และทีมงานได้สร้างต้นแบบที่เป็นนวัตกรรมสำหรับการป้องกันและรักษาโรคระบาด ซึ่งประสบความสำเร็จในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H7N9 ในปี 2556 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนสามารถยับยั้งโรคระบาดหลักได้เอง แนวทางของศจ.หลี่ มิใช่เพียงหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดซ้ำของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ในปี 2556 เท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยชีวิตประชาชนในประเทศจีนจากโรคระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) และโรคไข้ซิกา (ZIKA) ด้วย นอกจากนี้ ผลงานที่โดดเด่นในการต่อสู้กับโรคไวรัสอีโบลา ยังได้เปิดทางให้แนวทางดังกล่าวสร้างความเปลี่ยนแปลงระดับโลก แนวทางใหม่ที่ศจ.หลี่และทีมงานคิดขึ้นนี้ได้รับคำชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก (WTO) ว่า เป็นตัวอย่างที่นานาชาติควรปฏิบัติตาม โครงการอื่น ๆ อีก 3 โครงการที่นำโดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง ก็สามารถคว้ารางวัลจากเวที 2017 Science and Technology Award ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ข้อมูลกจาก Shanghai Ranking พบว่า ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยชิงหวารั้งอันดับ 1 ของประเทศ ด้วยการกวาดรางวัลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชาติไปครองได้ถึง 37 รางวัล ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง และมหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2440 เป็นสถาบันอุดมศึกษาสมัยใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดในจีน และได้กลายเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ สถิติ ESI (Essential Science Indicator) ล่าสุดได้จัดอันดับให้มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงอยู่ใน 1% แรกจากทั่วโลกใน 18 สาขาวิชา และติด 100 อันดับแรกใน 7 สาขา ส่งผลให้มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงยืนอยู่ในอันดับ 2 ในบรรดามหาวิทยาลัยจีน "นวัตกรรมถือเป็นจิตวิญญาณและเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่มหาวิทยาลัยของเรายึดถือเสมอมาเพื่อการก้าวไปสู่การเป็นสถาบันระดับโลก" ศาสตรจารย์อู๋ จ้าวฮุย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง กล่าว "ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งในสาขาวิชาเฉพาะหลายแขนง ผ่านทางการสนับสนุนงานวิจัยทางวิทยาศาตร์ที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติมากมาย" นอกจากนี้ รายงานสถิติว่าด้วยเอกสารงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีของจีนประจำปี 2559 ซึ่งเผยแพร่โดยสถาบันสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน ยังจัดอันดับให้ ZJU อยู่ในอันดับต้น ๆ เทียบชั้นสถาบันอุดมศึกษาชั้นแนวหน้ารายอื่น ๆ ของจีน ขณะเดียวกัน ZJU ยังมีผลงานวิจัยที่ถูกจัดเข้าดัชนีของ SCI มากถึง 6,231 ฉบับ ส่งผลให้ ZJU เป็นผู้นำในจีน ยิ่งไปกว่านั้น ZJU ยังมีจำนวนสิทธิบัตรการประดิษฐ์รวมกันถึง 1,738 ฉบับ ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยแห่งอื่น ๆ ในจีน ศาสตราจารย์หยาน เจียนหัว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย กล่าวว่า "เรามีทีมสร้างสรรค์นวัตกรรมเหมือนกับทีมของศจ.หลี่อีกหลายทีม" ในช่วงไม่กี่ปีนี้ จีนได้หันไปสู่แนวทางการพัฒนาชาติด้วยนวัตกรรมอย่างจริงจัง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์ประดิษฐกรรมระดับสูงให้สมบูรณ์แบบ พร้อมขับเคลื่อนการวิจัยพื้นฐานและอุตสาหกรรมไฮเทค ด้วยเหตุนี้จีนจึงได้พยายามสร้างระบบที่เอื้อให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ส่งผลให้บรรดานักวิจัยตามสถาบันอุดมศึกษามีแรงกระตุ้นมากขึ้น กล้าลอง และกล้าคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น ขณะเดียวกัน รายงานติดตามขีดความสามารถทางนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยจีน ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน เผยให้เห็นว่า การเปลี่ยนทิศทางนโยบายนี้ส่งผลให้มหาวิทยาลัยจีนเริ่มมองข้ามการยกระดับทางกายภาพ และหันไปให้ความสนใจกับการพัฒนาเชิงคุณภาพแทน เป็นเหตุให้มีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ พร้อมบ่มเพาะบุคลากรคุณภาพ และดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่ ขณะที่ระบบทดสอบความปลอดภัยรถไฟความเร็วสูง ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยทีมงานของศาสตราจารย์เฉิน ยุนมิน แห่ง ZJU ติดอันดับท็อป 10 ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยจีน ประจำปี 2560 ซึ่งจัดอันดับโดยกระทรวงศึกษาธิการจีน ทางทีมงานได้พัฒนาวิธีการประเมินการวางรางรถไฟ ส่งผลให้สามารถขจัดอุปสรรคในการซ่อมแซมรางรถไฟโดยไม่ต้องหยุดให้บริการรถไฟทั่วประเทศจีน ระบบดังกล่าวถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างและงานบูรณะซ่อมแซมทางรถไฟสายจิงหู (ปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้), หูหนิง (เซี่ยงไฮ้-หนานจิง) และหูฮั่ง (เซี่ยงไฮ้-หางโจว) รวมไปถึงระบบรถไฟใต้ดินในเมืองต่าง ๆ อาทิ หางโจว และ หนิงโป ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังกล่าวจะส่งผลในวงกว้าง ด้วยจีนกำลังรุกออกไปทั่วโลกเพื่อสร้างชุมชนแห่งอนาคตร่วมกัน "นวัตกรรมคือตัวขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยอดเยี่ยมที่สุด มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงควรเป็นแหล่งรวมความแข็งแกร่ง และเป็นกลไกแถวหน้าในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่มุ่งเน้นนวัตกรรม" ศจ.อู๋กล่าวย้ำ ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีนที่สามารถรับรู้ได้ทั่วโลก เราเชื่อว่าในอนาคต ZJU จะก้าวขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าของโลกในด้านการพัฒนา ซึ่งจะช่วยขยายขีดความสามารถของทางมหาวิทยาลัยในการก้าวข้ามข้อจำกัดและเพิ่มความสามารถเพื่อรับใช้สังคม ในขณะที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ กำลังแข่งขันกันเป็นผู้นำในจีน ที่มา: มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (ZJU) ลิงค์ภาพประกอบ: http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=305167 AsiaNet 71953

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ