กรุงเทพโพลล์: ความเห็นของคนกรุงต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์

ข่าวผลสำรวจ Friday December 7, 2012 10:19 —กรุงเทพโพลล์

คนกรุงเทพฯ เกือบ 80 % ไม่ต้องการนโยบายประชานิยมของรัฐ หากต้องมาพร้อมกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ชี้โครงการรับจำนำข้าวมีปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นมากที่สุด ยกยิ่งลักษณ์เป็นนักการเมืองที่มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุด

ประเทศไทยถูกจัดอันดับการมีภาพลักษณ์ความโปร่งใสของ องค์กรเพื่อความโปร่งใสสากล หรือ Transparency International ประจำปี 2012 อยู่อันดับที่ 88 จากการสำรวจทั้งหมด 176 ประเทศทั่วโลก และเนื่องในวันที่ 9 ธันวาคมที่จะถึงนี้เป็นวันต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นสากล ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ความเห็นของคนกรุงต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,039 คน พบว่า

คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 88.0 เห็นว่าระดับความรุนแรงของการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทย อยู่ในระดับค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 12.0 เห็นว่าอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด โดยเมื่อถามต่อว่าต้นเหตุสำคัญที่ทำให้สังคมไทยมีปัญหาเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่ในปัจจุบัน ร้อยละ 62.9 ระบุว่าคือ นักการเมืองระดับชาติ (สส. สว.) รองลงมาร้อยละ 57.5 ระบุว่าคือ นักการเมืองท้องถิ่น (อบต. อบจ. สก. สข.) และร้อยละ 50.1 ระบุว่าคือ ตัวกฎหมายมีช่องโหว่ล้าสมัย

ส่วนความเห็นต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 64.2 เห็นว่าให้ความสำคัญค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 35.8 ให้ความสำคัญค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าพอใจต่อการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลชุดปัจจุบันมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 69.9 พอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 30.1 พอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

เมื่อถามว่า “หากการมีนโยบายประชานิยมของรัฐบาลต้องมาพร้อมกับการทุจริตคอร์รัปชั่นแล้ว ยังต้องการนโยบายดังกล่าวหรือไม่” คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 79.1 ระบุว่าไม่ต้องการ ขณะที่ร้อยละ 20.9 ระบุว่าต้องการ โดยเมื่อถามต่อว่าโครงการของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นมากที่สุดอันดับแรกคือ โครงการรับจำนำข้าว (ร้อยละ 51.8) รองลงมาคือ โครงการฟื้นฟูภัยพิบัติและบริหารจัดการน้ำ (ร้อยละ 19.3) และโครงการแท็บเล็ต ป.1 (ร้อยละ 8.9)

สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากประเทศไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นได้ จะเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของต่างประเทศมากน้อยเพียงใดหากมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 83.7 เห็นว่าค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 16.3 เห็นว่าค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

ส่วนนักการเมืองไทยในปัจจุบันที่มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุดอันดับแรกคือ

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ร้อยละ 35.0) รองลงมาคือ นายชวน หลีกภัย (ร้อยละ 32.3) และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 14.6)

รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ระดับความรุนแรงของการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทย

ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 58.6 และมากที่สุดร้อยละ 29.4)          ร้อยละ          88.0

ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 9.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 2.5)            ร้อยละ          12.0

2. ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้สังคมไทยมีปัญหาเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่ในปัจจุบัน (5 อันดับแรก) พบว่า
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
          นักการเมืองระดับชาติ (สส. สว.)                        ร้อยละ          62.9
          นักการเมืองท้องถิ่น (อบต. อบจ. สก. สข.)                ร้อยละ          57.5
          ตัวกฎหมายมีช่องโหว่ล้าสมัย                              ร้อยละ          50.1
          คนไทยมีค่านิยมหรือไม่จริงจังในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น           ร้อยละ          48.5
          ระบบราชการ                                        ร้อยละ          42.1

3. ความเห็นต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นมากน้อยเพียงใด

ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 28.2 และมากที่สุดร้อยละ 7.6)          ร้อยละ          35.8

ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 48.1และน้อยที่สุดร้อยละ 16.1)          ร้อยละ          64.2

4. ความพอใจต่อการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลชุดปัจจุบันมากน้อยเพียงใด

ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 23.0 และมากที่สุดร้อยละ 7.1)          ร้อยละ          30.1

ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 47.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 22.4)         ร้อยละ          69.9

5. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หากการมีนโยบายประชานิยมของรัฐบาลต้องมาพร้อมกับการทุจริตคอร์รัปชั่นแล้ว
ท่านยังต้องการนโยบายดังกล่าวหรือไม่”
          ต้องการ            ร้อยละ          20.9
          ไม่ต้องการ          ร้อยละ          79.1

6. โครงการของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นมากที่สุด (5 อันดับแรก)
          โครงการรับจำนำข้าว                         ร้อยละ          51.8
          โครงการฟื้นฟูภัยพิบัติและบริหารจัดการน้ำ           ร้อยละ          19.3
          โครงการแท็บเล็ต ป.1                        ร้อยละ           8.9
          โครงการกองทุนหมู่บ้าน SML                    ร้อยละ           5.8
          โครงการรถยนต์คันแรก                        ร้อยละ           3.8

7. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หากประเทศไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นได้ จะเป็นอุปสรรคต่อการ
ลงทุนของต่างประเทศมากน้อยเพียงใดหากมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”

ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 55.9 และมากที่สุดร้อยละ 27.8)          ร้อยละ          83.7

ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 12.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 3.8)           ร้อยละ          16.3

8. นักการเมืองไทยในปัจจุบันที่มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุด (5 อันดับแรก)
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
          นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร                    ร้อยละ          35.0
          นายชวน  หลีกภัย                          ร้อยละ          32.3
          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ                     ร้อยละ          14.6
          นายชูวิทย์  กมลวิศิษฎ์                       ร้อยละ           8.8
          ร.ต.อ. ดร.ปุระชัย  เปี่ยมสมบูรณ์             ร้อยละ           5.0

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ในเรื่องระดับความรุนแรงและต้นเหตุสำคัญของการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทย การให้ความสำคัญและความพอใจต่อการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลชุดปัจจุบัน นโยบายประชานิยมกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น โครงการของรัฐบาลที่มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นมากที่สุด การทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทยจะเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนต่างประเทศมากน้อยเพียงใดหากมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และนักการเมืองที่มีภาพลักษณ์ของความสื่อสัตย์สุจริตมากที่สุด

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 26 เขต จากทั้งหมด 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ป้อมปราบ พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง สาทร และสายไหม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,039 คน เป็นชายร้อยละ 50.1 และหญิงร้อยละ 49.9

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามแบบปลายเปิด จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   28 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2555

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   7 ธันวาคม 2555

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                    จำนวน          ร้อยละ
เพศ
                       ชาย            521           50.1
                       หญิง            518           49.9
          รวม                       1,039          100.0

อายุ
                      18 - 25 ปี       268           25.8
                      26 - 35 ปี       281           27.0
                      36 - 45 ปี       251           24.2
                      46 ปีขึ้นไป        239           23.0
          รวม                       1,039          100.0

การศึกษา
               ต่ำกว่าปริญญาตรี           633           60.9
               ปริญญาตรี                365           35.2
               สูงกว่าปริญญาตรี            41            3.9
          รวม                       1,039          100.0

อาชีพ
     ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ        101            9.7
     พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน         316           30.4
     ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว          253           24.4
     รับจ้างทั่วไป                        157           15.1
     พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ              69            6.6
     นักศึกษา                           127           12.2
     อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น     16            1.6
          รวม                       1,039          100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ