กรุงเทพโพลล์: “ชีวิตเด็ก ม.ปลาย สู่รั้วมหาวิทยาลัย”

ข่าวผลสำรวจ Tuesday July 1, 2014 09:16 —กรุงเทพโพลล์

ชีวิตนักเรียน ม.ปลาย 60.2% ต้องเรียนพิเศษ และ 64.4% บอกระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบันเหมาะสมดีอยู่แล้ว โดย 55.5% จะเลือกคณะที่ชอบโดยไม่สนใจเรื่องสถาบัน ทั้งนี้นักเรียนถึง 74.7% ไม่ค่อยมั่นใจว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันจะทำให้เด็กไทยเก่งกว่าประเทศอื่นในอาเซียน พร้อมเสนอ คสช. ปฏิรูปการศึกษาโดยปรับปรุงระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ลดจำนวนชั่วโมงเรียนและปรับปรุงการเรียนการสอนในห้องเรียน

เนื่องด้วย วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เป็นวันประกาศผลสอบแอดมิชชั่นศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ชีวิตเด็ก ม.ปลาย สู่รั้วมหาวิทยาลัย” โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.ปลาย และที่กำลังรอศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557 ทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,231 คน พบว่า

นักเรียนม.ปลายส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.2 นิยมเรียนพิเศษ โดยเหตุผลว่า เรียนในห้องเรียนไม่ค่อยเข้าใจ และเนื้อหาที่เรียนไม่ตรงกับที่จะใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัย เป็นต้น ขณะที่ร้อยละ 39.8 ไม่ได้เรียนพิเศษ ด้วยเหตุผลที่ว่า ฐานะไม่ดี ตั้งใจเรียนในห้อง และเอาเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นดีกว่า เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อถามเฉพาะผู้ที่เรียนพิเศษว่า เมื่อถึงเวลาสอบใช้ความรู้จากที่ใดมากกว่ากันระหว่างความรู้ที่เรียนในห้องเรียนกับความรู้ที่ได้จากการเรียนพิเศษ ร้อยละ 59.6 บอกว่าใช้ความรู้ที่ได้จากการเรียนให้ห้องเรียนและจากที่เรียนพิเศษพอๆ กัน รองลงมาร้อยละ 27.9 ใช้ความรู้ที่ได้จากการเรียนพิเศษมากกว่า มีเพียงร้อยละ 12.5 เท่านั้นที่ใช้ความรู้ในห้องเรียนมากกว่า

สำหรับความเห็นต่อการเพิ่มเนื้อหา ด้านคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกความเป็นไทย ในเนื้อหาวิชาเรียนนั้นนักเรียนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.3 บอกว่าเห็นด้วย ร้อยละ 8.6 บอกว่าไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 24.1 บอกว่าไม่แน่ใจ

ส่วนความเห็นต่อระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐในปัจจุบัน นักเรียนร้อยละ 64.4 เห็นว่าเหมาะสมแล้วและควรมีต่อไป โดยให้เหตุผลว่า สามารถนำคะแนนเก็บในโรงเรียนมาคิดเป็นคะแนนสอบได้ทำให้เกิดการตั้งใจเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้น และการสอบส่วนกลางสามารถเก็บคะแนนได้หลายครั้ง สามารถเลือกคะแนนที่ดีที่สุดได้ เป็นต้น ส่วนอีกร้อยละ 35.6 เห็นว่าไม่เหมาะสม ควรยกเลิก โดยให้เหตุผลว่า จำนวนครั้งที่สอบมีมากเกินไป ทำให้เครียด ต้องกวดวิชามากขึ้น และต้องวิ่งรอกหาสถานที่สอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น เป็นต้น

หลักเกณฑ์ที่ใช้เลือกมหาวิทยาลัยที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของรัฐ นักเรียนร้อยละ 55.5 บอกว่าจะเลือกจากคณะที่ชอบและตั้งใจจะเรียนโดยไม่สนใจเรื่องสถาบัน รองลงมาร้อยละ 25.5 จะเลือกสถาบันที่ชอบเป็นหลัก และร้อยละ 13.1 จะเลือกคณะหรือมหาวิทยาลัยที่มีคะแนนถึง ส่วนเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกมหาวิทยาลัยเอกชน หากพลาดจากแอดมิชชั่น นักเรียนร้อยละ 52.1 จะพิจารณาจากการมีคณะ/หลักสูตรที่ต้องการและมีชื่อเสียง รองลงมาร้อยละ 32.9 เลือกจากชื่อเสียงของสถาบันเป็นที่ยอมรับในสังคม และร้อยละ 30.5 เลือกจากการเดินทางสะดวกสบาย

ทั้งนี้เมื่อถามถึงความมั่นใจต่อระบบการเรียนการสอนของไทยในปัจจุบัน ว่าจะทำให้นักเรียนมีศักยภาพดีกว่านักเรียนในประเทศอาเซียนได้มากน้อยเพียงใดพบว่า นักเรียนร้อยละ 60.1 มั่นใจน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 25.3 มั่นใจมากถึงมากที่สุด ที่เหลือร้อยละ 14.6 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย

สำหรับความคาดหวังในการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของนักเรียน ม. ปลายร้อยละ 27.5 คาดหวังว่าจะเรียนสบายๆ มีความสุข ไม่เครียด รองลงมาร้อยละ 15.6 คาดหวังว่าจะได้เจอสังคมที่ดีระหว่างเพื่อน และการดูแลที่ดีจากรุ่นพี่ และร้อยละ 10.4 คาดหวังว่าชีวิตจะไปด้วยดีจนจบการศึกษา

สุดท้ายเรื่องที่อยากฝากให้ คสช. ปฏิรูปด้านการศึกษามากที่สุด คือ ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่มีหลากหลายเกินไป อยากให้ลดจำนวนการสอบลง จะทำให้นักเรียนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการสอบ (ร้อยละ 27.5) รองลงมาคือ ลดจำนวนชั่วโมงเรียน หรือคาบเรียนลง (ร้อยละ 15.8) และปรับปรุงการเรียนการสอนในห้องเรียน ให้เข้าใจง่ายขึ้น สามารถนำไปใช้ได้จริง เน้นเข้าใจมากกว่าท่องจำ (ร้อยละ 11.4)

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. การเรียนพิเศษของนักเรียนชั้น ม.ปลาย
          - เรียน                                                                      ร้อยละ 60.2

โดยให้เหตุผลว่า เรียนในห้องเรียนไม่ค่อยเข้าใจ ต้องเพิ่มความเข้าใจในแต่ละวิชาให้มากขึ้น

คิดว่ายังเก่งไม่พอ เนื้อหาที่เรียนไม่ตรงกับที่จะใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัย ต้องเตรียมตัวสอบเข้า

มหาวิทยาลัย เป็นต้น

          - ไม่เรียน                                                                    ร้อยละ 39.8

โดยให้เหตุผลว่า ฐานะไม่ดี ไม่สนใจ ไม่จำเป็น เอาเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นดีกว่า

ตั้งใจเรียนในห้อง อ่านหนังสือเอง เป็นต้น

2. เมื่อถึงเวลาสอบใช้ความรู้จากที่ใดมากกว่ากันระหว่างความรู้ที่เรียนในห้องเรียนกับความรู้ที่ได้จากการเรียนพิเศษ (ถามเฉพาะผู้ที่เรียนพิเศษ)
          - ความรู้จากทั้ง 2 ที่ พอๆกัน                                                      ร้อยละ 59.6
          - ความรู้จากที่เรียนพิเศษมากกว่า                                                   ร้อยละ 27.9
          - ความรู้จากห้องเรียนมากกว่า                                                     ร้อยละ 12.5

3. ความเห็นต่อการเพิ่มเนื้อหา ด้านคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกความเป็นไทย ในเนื้อหาวิชาเรียน
          - เห็นด้วย                                                                    ร้อยละ 67.3
          - ไม่เห็นด้วย                                                                  ร้อยละ 8.6
          - ไม่แน่ใจ                                                                    ร้อยละ 24.1

4. ความคิดเห็นต่อรูปแบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาลในปัจจุบัน
- เห็นว่าเหมาะสมและสมควรให้มีต่อไป                                                          ร้อยละ 64.4
โดยให้เหตุผลว่า
- สามารถนำคะแนนเก็บในโรงเรียนตอน ม.ปลายมาคิดเป็นคะแนนสอบได้ทำให้เกิดการตั้งใจเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.0
- สอบส่วนกลางสามารถเก็บคะแนนได้หลายครั้ง สามารถเลือกคะแนนที่ดีที่สุดได้                             ร้อยละ 21.9
- สามารถแก้ หรือลดปัญหาการกวดวิชาได้                                                        ร้อยละ  8.3
- อื่นๆ อาทิ มีทางเลือกมากขึ้น สอบได้หลายที่ การสอบตรงรู้ผลได้เร็วกว่า  ฯลฯ                           ร้อยละ  1.2

- เห็นว่าไม่เหมาะสมและสมควรยกเลิก                                                          ร้อยละ 35.6
โดยให้เหตุผลว่า
- จำนวนครั้งที่สอบมีมากเกินไป ทำให้เครียด                                                      ร้อยละ 11.7
- ทำให้ต้องกวดวิชามากขึ้น                                                                   ร้อยละ  7.5
- ทำให้ต้องวิ่งรอกหาสถานที่สอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น                                           ร้อยละ  6.8
- ทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการสอบหลายๆครั้ง                                               ร้อยละ  6.5
- อื่นๆ อาทิ ตัดโอกาสสอบสำหรับคนที่ฐานะไม่ดี ข้อสอบยากเกินไป                                      ร้อยละ  3.1
แต่ละโรงเรียนมีมาตรฐานการให้เกรดไม่เท่ากัน มีการแข่งขันกันสูง  ฯลฯ

5. หลักเกณฑ์ที่ใช้เลือกมหาวิทยาลัยที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของรัฐ
- เลือกคณะที่ชอบและตั้งใจจะเรียนโดยไม่สนใจเรื่องสถาบัน                                           ร้อยละ 55.7
- เลือกสถาบันที่ชอบเป็นหลัก                                                                  ร้อยละ 25.5
- เลือกคณะ/มหาวิทยาลัยที่มีคะแนนถึง                                                           ร้อยละ 13.1
- เลือกตามเพื่อนเพื่อจะได้ไปเรียนด้วยกัน                                                        ร้อยละ  1.1
- อื่นๆ อาทิ เลือกคณะและสถาบันตามที่ผู้ปกครองอยากให้เรียน อาชีพที่รองรับในอนาคต เป็นต้น                 ร้อยละ  4.6

6. เกณฑ์ที่ ใช้ในการเลือกมหาวิทยาลัยเอกชน หากพลาดจากแอดมิชชั่น คือ  (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
- มีคณะ/หลักสูตรที่ต้องการและมีชื่อเสียง                                                         ร้อยละ 52.1
- ชื่อเสียงของสถาบันเป็นที่ยอมรับในสังคม                                                        ร้อยละ 32.9
- การเดินทางสะดวกสบาย                                                                   ร้อยละ 30.5
- ดูอัตราการได้งานทำของบัณฑิตที่จบ                                                            ร้อยละ 29.3
- ค่าเล่าเรียน/ ค่าเทอมถูก                                                                  ร้อยละ 27.9
- อาคารเรียน อุปกรณ์การสอนทันสมัย                                                           ร้อยละ 16.9
- ดูผลงานและงานวิจัยของคณาจารย์                                                            ร้อยละ 16.2
- ดูจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาโดย สมศ. และ สกอ.                                         ร้อยละ 15.2
- ดูจากศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จ /มีชื่อเสียง                                                   ร้อยละ 14.5
- มีคนรู้จัก / รุ่นพี่เรียนอยู่                                                                   ร้อยละ  9.3

7. ความมั่นใจต่อระบบการเรียนการสอนของไทยในปัจจุบัน ว่าจะทำให้นักเรียนมีศักยภาพดีกว่านักเรียนในประเทศอาเซียนมากน้อยเพียงใด
- มั่นใจมากถึงมากที่สุด                                                                      ร้อยละ 25.3
(โดยแบ่งเป็น มั่นใจมาก ร้อยละ 21.9 และมั่นใจมากที่สุด ร้อยละ 3.4)
- มั่นใจน้อยถึงน้อยที่สุด                                                                      ร้อยละ 60.1
(โดยแบ่งเป็น มั่นใจน้อย  ร้อยละ 50.6 และมั่นใจน้อยที่สุด ร้อยละ 9.5 )
- ไม่มั่นใจเลย                                                                            ร้อยละ 14.6

8. ความคาดหวังในการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของนักเรียน ม. ปลาย (มากที่สุด 5 อันดับแรก) (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- คาดหวังว่าจะเรียนสบายๆ มีความสุข ไม่เครียด                                                  ร้อยละ 27.5
- คาดหวังว่าจะได้เจอสังคมที่ดีระหว่างเพื่อน และการดูแลที่ดีจากรุ่นพี่                                    ร้อยละ 15.6
- คาดหวังว่าชีวิตจะไปด้วยดีจนจบการศึกษา                                                       ร้อยละ 10.4
- คาดหวังว่าจะมีความสุขที่ได้เรียนคณะที่ชอบ                                                      ร้อยละ  7.3
- คาดหวังว่าเรียนแล้วจะนำไปใช้งานได้จริง                                                      ร้อยละ  6.2

9. เรื่องที่อยากฝากให้ คสช. ปฏิรูปด้านการศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีหลากหลายเกินไป อยากให้ลดจำนวนการสอบลง                          ร้อยละ 27.5
จะทำให้นักเรียนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการสอบ
- ลดจำนวนชั่วโมงเรียน หรือคาบเรียนลง                                                        ร้อยละ 15.8
- ปรับปรุงการเรียนการสอนในห้องเรียน ให้เข้าใจง่ายขึ้น สามารถนำไปใช้ได้จริง เน้นเข้าใจมากกว่าท่องจำ      ร้อยละ 11.4
- ปรับปรุงให้ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา มีคุณภาพในการสอนมากขึ้น                               ร้อยละ 10.7
- เพิ่มเนื้อหาที่ต้องไปเรียนพิเศษเพิ่ม ให้มีอยู่ในการสอนในห้องเรียน และให้มีเนื้อหาตรงกับที่ใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัย  ร้อยละ  9.1

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และที่กำลังรอศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557 ทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในโรงเรียน ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ตลอดจนเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกมหาวิทยาลัยเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เพื่อสะท้อนมุมมองให้สังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยและการปฏิรูปการศึกษา

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และที่กำลังรอศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557 ทั้งในสังกัดโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,231 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.4 และเพศหญิงร้อยละ 49.6

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Ended) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  27 – 30 มิถุนายน 2557

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   1 กรกฎาคม 2557

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                  จำนวน         ร้อยละ
เพศ
          ชาย                      620          50.4
          หญิง                      611          49.6
                    รวม          1,231           100
ระดับการศึกษา
          มัธยมศึกษา ปีที่ 4            357            29
          มัธยมศึกษา ปีที่ 5            431            35
          มัธยมศึกษา ปีที่ 6            400          32.5
          รอศึกษาต่อปริญญาตรี           43           3.5
                    รวม          1,231           100
สังกัดของโรงเรียนที่จบการศึกษาระดับ ม.6
          รัฐบาล                    969          78.7
          เอกชน                    262          21.3
                    รวม          1,231           100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ