แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนกรกฎาคม 2558

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday August 31, 2015 10:55 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 13/2558

ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือเดือนกรกฎาคม 2558 มีสัญญาณปรับลดลง โดยอุปสงค์รวมยังอ่อนแอทั้งการบริโภคภาคครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชน ผลจากภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานกระทบต่อผลผลิตสินค้าเกษตรทั้งลาไยและข้าวนาปรังลดลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับลดลงต่อเนื่อง ผลผลิตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกลดลงจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสิ่งทอ ขณะที่การใช้จ่ายงบลงทุนของภาครัฐชะลอลง ซึ่งอาจเป็นเพียงชั่วคราว อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวและการค้าชายแดนยังขยายตัวดีช่วยชดเชยอุปสงค์ส่วนที่ชะลอตัวได้บ้าง สาหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือ โดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงเล็กน้อยตามราคาน้ามันเชื้อเพลิง อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ ด้านเงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนมิถุนายนชะลอตัวเล็กน้อย ส่วนเงินให้สินเชื่อปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือมีดังนี้

ดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญยังมีสัญญาณหดตัวต่อเนื่อง ได้แก่ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ลดลงร้อยละ 19.3 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะแห้งแล้งและฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ทาให้ผลผลิตพืชสาคัญในเดือนนี้ลดลงทั้งลำไย ข้าวนาปรังและสับปะรด อย่างไรก็ดี ผลผลิตปศุสัตว์มีปริมาณเพิ่มขึ้นทั้งสุกร ไก่เนื้อและไข่ไก่ ด้านดัชนีราคาสินค้าเกษตร กลับมาขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 1.7 ตามผลผลิตพืชทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวที่มีปริมาณลดลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกร ลดลงร้อยละ 17.9

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 9.4 ตามการผลิตเพื่อส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูปและเซรามิก รวมทั้งการผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงชั่วคราวจากการปิดซ่อมบารุงเครื่องจักร อย่างไรก็ดี ผลผลิตเกษตรแปรรูปประเภทผลไม้สดแช่แข็งยังเพิ่มขึ้น และผลผลิตเครื่องดื่มประเภทสุราขาวกลับมาผลิตได้ตามปกติ หลังจากที่หยุดการผลิตไปในช่วงก่อนหน้าดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 7.5 ส่วนสำคัญมาจากภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่ยังไม่มีการลงทุนใหม่ๆ เนื่องจากมีอุปทานส่วนเกินอยู่ ประกอบกับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมีกำลังการผลิตเหลือ ทำให้ผู้ประกอบการเลื่อนการลงทุนใหม่ออกไป เพื่อรอความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สะท้อนให้เห็นจากเครื่องชี้ที่ลดลง ทั้งพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล ยอดขายวัสดุก่อสร้างและปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ อย่างไรก็ดี เงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมจาก BOI เพิ่มขึ้นมากในหมวดบริการและสาธารณูปโภคประเภทการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 แต่การขยายตัวจากัดอยู่เฉพาะในกลุ่มสินค้าวัสดุก่อสร้างที่ได้รับอานิสงส์จากการก่อสร้างภาครัฐ การจับจ่ายใช้สอยในหมวดสินค้าจำเป็นของนักท่องเที่ยวชะลอลงบ้างขณะที่การบริโภคสินค้าคงทนโดยเฉพาะรถยนต์และจักรยานยนต์ยังลดลง เพราะอุปสงค์โดยรวมถูกบั่นทอนจากรายได้ภาคเกษตรและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับลดลงต่อเนื่อง รวมทั้งสถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

บทบาทของภาครัฐจากการเบิกจ่ายงบลงทุน ชะลอลงในเดือนนี้ คาดว่าได้เร่งเบิกจ่ายไปมากในช่วงหลายเดือนก่อนหน้า อาจจะกลับมาเร่งเบิกจ่ายในเดือนถัดไป ทั้งนี้ เห็นความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารของสถาบันการศึกษาและสาธารณสุข

ปัจจัยที่ยังช่วยพยุงเศรษฐกิจภาคเหนือ ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยว ที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี สะท้อนให้เห็นจากเครื่องชี้สาคัญยังขยายตัวดีทั้งจานวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน อัตราเข้าพักของโรงแรม และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคาร ส่วนสำคัญยังมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่ภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเดินทางของนักท่องเที่ยวไทยเพิ่มขึ้นจากการเร่งจัดประชุมสัมมนาของหน่วยงานภาครัฐ

ด้านมูลค่าการส่งออก ขยายตัวร้อยละ 3.9 โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านด่านชายแดนขยายตัวดี แต่การส่งออกชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสิ่งทอลดลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะการแข่งขันด้านราคาและสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้เกาหลีใต้และจีน ส่วนมูลค่าการนำเข้า ลดลงร้อยละ 10.0 ตามการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในการผลิตและส่งออกแผงวงจรรวมและชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

เสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือ อยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงต่อเนื่องเป็นร้อยละ 1.7 ตามราคาขายปลีกน้ามันในประเทศ แต่ราคาอาหารสดประเภทผักผลไม้สดปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีผลผลิตน้อยลงจากภัยแล้ง ด้านอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่าที่ร้อยละ 0.9 โดยการจ้างงานในภาคเกษตรลดลงตามผลผลิตสินค้าเกษตร อย่างไรก็ดี แรงงานสามารถเคลื่อนย้ายไปทางานในภาคธุรกิจอื่นๆ เช่น ภาคบริการ ค้าส่งค้าปลีกและการก่อสร้าง

ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 สาขาธนาคารพาณิชย์ มียอดเงินฝากคงค้าง 608,634 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามการถอนเงินของส่วนราชการเพื่อนำไปใช้ในโครงการและเงินฝากที่ครบกำหนดแต่ไม่ได้ฝากต่อเนื่องเพราะอัตราดอกเบี้ยไม่จูงใจ ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 609,650 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ตามความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนโดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ขณะที่สินเชื่อภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นโดยกระจายตัวในธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง การเงิน ก่อสร้าง ขนส่ง โรงแรมและอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งนี้ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 100.2 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทร. 0 5393 1164 e-mail: Kusolc@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ