ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องในฟิลิปปินส์

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 3, 2013 14:57 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

ฟิลิปปินส์เป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่า 7,000 เกาะ และมีแนวชายฝงั่ ทะเลยาวกว่า 36,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในประเทศแถบเอเชียที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตกมากที่สุด เนื่องจากเคยเป็นอาณานิคมของสเปนและสหรัฐอเมริกา ประชากรส่วนใหญ่จึงนับถือศาสนาคริสต์ รวมทั้งทำให้ฟิลิปปินส์มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงามแตกต่างจากประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องเป็นธุรกิจสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องในฟิลิปปินส์สร้างการจ้างงานในปี 2554 ถึง 3.8 ล้านคนหรือร้อยละ 10 ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ และคาดว่าจะสร้างการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็ น 7.4 ล้านคน หรือร้อยละ 18.8 ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ ภายในปี 2559 และทำให้กำลังซื้อของชาวฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อันจะมีส่วนช่วยเสริมศักยภาพของตลาดฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ด้วยจำนวน ประชากรราว 104 ล้านคน (มากเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย) ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

รัฐบาลฟิลิปปินส์ส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภายใต้นโยบาย “It’s More Fun in the Philippines”เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นให้จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 37.5 ล้านคน ในปี 2554 เป็น 44.1 ล้านคน ในปี 2556 และ 56.1 ล้านคน ในปี 2559 ขณะเดียวกัน ยังตั้งเป้าดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เดินทางมาฟิ ลิปปิ นส์เพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านคน ภายในปี 2559 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของฟิลิปปินส์ยังมีศักยภาพในการขยายตัวได้อีกมาก จึงเป็นโอกาสของนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปต่อยอดการลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องในหลากหลายสาขา

ปัจจัยสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องในฟิ ลิปปิ นส์
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาฟิลิปปินส์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง Department of Tourism (DOT) ของฟิลิปปินส์ รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นจาก 3.9 ล้านคน ในปี 2554 เป็น 4.3 ล้านคน ในปี 2555 นับเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นครั้งแรกที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุระดับ 4 ล้านคน โดยมีนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้เดินทางมาฟิลิปปินส์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 24 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และจีน ตามลำดับ ขณะที่นักท่องเที่ยวจากอาเซียนแม้ยังมีจำนวนไม่มากนัก หรือราวร้อยละ 9 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด แต่มีความเป็นไปได้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากอาเซียนที่เดินทางมาฟิลิปปินส์จะเพิ่มมากขึ้นหลังการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งเดินทางมาฟิลิปปินส์ มากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของอาเซียน
  • รัฐบาลฟิลิปปินส์เร่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว The Travel & Tourism Competitiveness Report 2013 ของ World Economic Forum ระบุว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของฟิลิปปินส์มีพัฒนาการมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และมีสัดส่วนรายจ่ายของรัฐบาลในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อ GDP สูงที่สุดในโลก สะท้อนให้เห็นถึงความจริงจังในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังขาดแคลน โดยเฉพาะการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางภายในประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2556 รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้จัดสรรงบประมาณราว 295 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาถนน และจะจัดสรรงบประมาณอีกราว 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงปี 2559 เพื่อเพิ่มจำนวนห้องพักสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น รวมทัง้ เชื่อมโยงเส้นทางการบินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
  • รัฐบาลฟิลิปปินส์ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้นโยบาย “It’s More Fun in the Philippines”DOT ร่วมมือกับภาคเอกชนเข้าร่วมงานมหกรรมท่องเที่ยวระดับนานาชาติ อาทิ The Internationale Tourismus Bourse ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี World Travel Mart ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และ JATA Travel Mart ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น รวมทัง้ เข้าร่วม Thai International Travel Fair ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ที่ประเทศไทย และได้รับรางวัล “Best Booth Display” จากงานดังกล่าว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในประเทศเป็นอย่างมากรัฐบาลฟิลิปปินส์มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ดังเห็นได้จาก Philippines Investments Promotional Plan (PIPP) ซึ่งเป็นแผนส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศและพัฒนาตลาดของฟิลิปปินส์ในช่วงปี 2553-2557 ระบุว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 8 อุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในระยะกลาง จึงเป็นโอกาสที่นักลงทุนไทยจะเข้าไปลงทุนในธุรกิจดังกล่าว สำหรับโอกาสด้านการค้าการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจท่องเที่ยวในฟิลิปปินส์ที่น่าสนใจ มีดังนี้

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังขาดแคลนเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมและรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังมีความต้องการโรงแรมและห้องพักอีกจำนวนมาก แม้ในปี 2554 มีโรงแรมหลายแห่งเปิดให้บริการในหลายพื้นที่ของประเทศ ทำให้มีห้องพักเพิ่มขึ้นราว 5,000 ห้อง และ DOT คาดว่าจะมีห้องพักเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก7,350 ห้อง ในช่วงปี 2555-2558 ซึ่งสะท้อนให้เห็นโอกาสการลงทุนในธุรกิจดังกล่าว รวมถึงโอกาสในการขยายตลาดสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ และเครื่องจักร นอกจากนี้ ผู้ส่งออกสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านมีโอกาสขยายตลาดเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ไม้ ทั้งนี้ฟิลิปปินส์นำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไม้จากไทยมากเป็นอันดับ 3 รองจากจีนและมาเลเซีย

ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รัฐบาลฟิลิปปินส์ตั้งเป้าเป็นประเทศปลายทางของการให้บริการทางการแพทย์ที่มีราคาไม่แพง และตั้งเป้ เพิ่มรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็น 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2558 ขณะที่ผู้ประกอบการไทยมีความชำนาญในธุรกิจดังกล่าวเป็นอย่างดีดังเห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มาใช้บริการในไทยมีสัดส่วนสูงถึงราวร้อยละ 40 ของเอเชียโอกาสด้านการค้าการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจท่องเที่ยวในฟิลิปปินส์ จึงเป็นโอกาสของนักลงทุนไทยจะเข้าไปลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาล รวมถึงธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพเพื่อตอบรับกระแสใส่ใจสุขภาพและความงามในฟิลิปปินส์ที่เพิ่มขึ้นมาก

ธุรกิจอาหาร ฟิลิปปินส์เป็นตลาดขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้มีความต้องการบริโภคสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น ขณะที่ฟิลิปปินส์ยังไม่สามารถผลิตสินค้าอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ ทำให้ฟิลิปปินส์นำเข้าอาหารจากต่างประเทศเป็นหลัก จึงเป็นโอกาสที่ผู้ส่งออกสินค้าอาหารของไทยจะเข้าไปขยายตลาดเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการป้อนวัตถุดิบหรือขยายช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารผ่านโรงแรมและร้านอาหาร ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จรูปอันดับ 2 ของไทย รองจากสหรัฐฯ และเป็นตลาดส่งออกสิ่งปรุงรสอาหารอันดับ 3 ของไทยรองจากญี่ปุ่น และสหรัฐฯ นอกจากนี้ ธุรกิจแปรรูปอาหารก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากฟิลิปปินส์มีผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ แต่ยังขาดแคลนทักษะและเทคโนโลยีในการแปรรูปที่มีประสิทธิภาพ

Disclaimer : ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ