สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 14 ตุลาคม 2557

ข่าวทั่วไป Tuesday October 14, 2014 10:11 —สำนักโฆษก

วันนี้ (14 ตุลาคม 2557) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี

ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ….

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมการอุทธรณ์ฎีกา)

3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับ ..) พ.ศ. .... และ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ

4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ....

5. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. ….

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตาม ความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุน การท่องเที่ยว และจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ)

7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลแขวงสระบุรี ในจังหวัดสระบุรี พ.ศ. ....

8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....เศรษฐกิจ-สังคม

10. เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2557/2558

11. เรื่อง การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม ต่างประเทศ

12. เรื่อง ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย

13. เรื่อง การรับรองแถลงการณ์ของรัฐมนตรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่ฉลาดด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

14. เรื่อง การประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2014 ของสหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ

15. เรื่อง ร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยบทบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ASEAN Agreement on Medical Device Directive)

16. เรื่อง การรับรองเอกสารผลการประชุมผู้นำเอเชีย – ยุโรป ครั้งที่ 10 (ASEM 10)

17. เรื่อง ขอความเห็นชอบแนวทางการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมการ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาทุกภาคส่วน และเตรียมการส่งความช่วยเหลือของไทยไปยังแอฟริกาตะวันตก

18. เรื่อง ขอให้ความเห็นชอบต่อเอกสารถ้อยแถลงของประธานและเอกสารสารัตถะ ประกอบการประชุมรัฐมนตรีวัฒนธรรมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 6 แต่งตั้ง

19. เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนัก เลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

21. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม

22. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

23. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ลาออก

24. เรื่อง มอบหมายผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์

25. เรื่อง การแต่งตั้งนางกานดา วัชราภัย ผู้แทนไทยด้านสิทธิสตรีในคณะกรรมาธิการ อาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ACWC) ให้ดำรง ตำแหน่งต่ออีก 1 วาระ

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)

27. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง แรงงาน)

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ ก.พ. (สำนักนายกรัฐมนตรี)

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม)

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม)

33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้า ที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ….

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของเรื่อง

พณ. รายงานว่า

1. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ขอให้กรมการค้าต่างประเทศพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมการนำเข้าโดยกำหนดให้บารากู่ไฟฟ้าและบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 เนื่องจากได้รับเรื่องร้องเรียนว่า มีการนำบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาในประเทศไทย และมีการเผยแพร่จำหน่ายผ่านทางอินเทอร์เน็ตและตลาดนัดอย่างแพร่หลาย ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีรูปแบบการใช้ที่แปลกใหม่ ง่ายต่อการเชิญชวนให้เยาวชนทดลองใช้ อีกทั้งมีรูปลักษณ์ กลิ่นสีที่ดึงดูดใจ ประกอบกับตรวจพบว่า มีสารพิษชนิด Organic Compounds (กลุ่มของสารประกอบอินทรีย์) เช่น Propylene Glycol, Menthol, Cycloherand และมีสารพิษชนิด Metals (กลุ่มโลหะหนัก) ได้แก่ Chromium, Manganese, Copper ซึ่งเป็นสารอันตรายต่อสุขภาพและต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้งานเป็นอย่างมาก

2. เพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากการสูบบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าและบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในกำกับของพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายใดควบคุมการนำเข้าสินค้าดังกล่าว

สาระสำคัญของร่างประกาศ

กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึง พืช ผลไม้ พืชหมัก ผลไม้หมักสาร สารสกัด หรือสิ่งอื่นใด ที่ใช้เป็นแหล่งกำเนิดควันหรือละอองไอน้ำ ซึ่งนำเข้ามาพร้อมกันเพื่อใช้กับอุปกรณ์ดังกล่าว เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมการอุทธรณ์ฎีกา)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

1.1 กำหนดให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดและคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ โดยให้ยื่นคำร้องไปพร้อมกับฎีกา และให้องค์คณะผู้พิพากษา ซึ่งประกอบด้วย รองประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาในศาลฎีกาที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาอีกอย่างน้อย 3 คน เป็นผู้พิจารณาและวินิจฉัยคำร้องดังกล่าว ทั้งนี้ ศาลฎีกาอาจอนุญาติให้ฎีกาได้เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะหรือเป็นปัญหาสำคัญอื่นที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย และคดีที่ ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา ให้เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของ ศาลอุทธรณ์

1.2 กำหนดให้ในคดีที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาที่มีแต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้องไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ศาลฎีกาจะมีคำวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายนั้นและยกคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์หรือศาลชั้นต้น แล้วมีคำสั่งให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี ทำคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ภายใต้กรอบคำวินิจฉัยของศาลฎีกาก็ได้

2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับ ..) พ.ศ. .... แก้ไขในส่วนของการฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ โดยมีสาระสำคัญเช่นเดียวกับ ร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1

3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การบังคับโทษปรับ การรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษ และแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับโทษของผู้ใช้และผู้ถูกใช้) และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การโอนคดีที่มีผลกระทบต่อการอนุรักษ์หรือการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนรวม หรือประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นไปยังศาลแพ่ง รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

          ประเด็นที่มีการแก้ไข           ประมวลกฎหมายอาญา           ร่างพระราชบัญญัติที่ ศย. เสนอ
          กำหนดวิธีการใช้              ยึดทรัพย์สินเพื่อใช้              ยึดหรืออายัดเพื่อใช้ค่าปรับ
          ค่าปรับ                     ค่าปรับ                      โดยให้

ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อ

ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้

นั้นใช้ค่าปรับ

          แก้ไขปรับปรุงอัตราเงิน         อัตรา 200 บาทต่อหนึ่ง          อัตรา 400 บาทต่อหนึ่งวัน
          ในการกักขังแทน              วัน

ค่าปรับ

          การรอการกำหนดโทษ          กำหนดให้ศาลอาจรอ            กำหนดให้ศาลอาจรอกำหนด
          หรือการรอการลงโทษ          การกำหนดโทษหรือรอ           โทษหรือรอการลงโทษ
                                    การลงโทษสำหรับ              สำหรับผู้กระทำความผิดซึ่ง
                                    ผู้กระทำความผิดซึ่งจะ           จะถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 5
                                    ถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 3         ปี หรือกักขังหรือปรับและ
                                    ปี หรือกักขังแทนค่าปรับ          เพิ่มเติมเงื่อนไข

ในการคุมความประพฤติ

          การกำหนดโทษผู้ใช้ให้          ไม่มี                        กำหนดให้ผู้ใช้เด็กหรือ
          เด็กหรือเยาวชนกระทำ                                    เยาวชนอายุ
          ความผิด                                               ไม่เกินสิบแปดปี ผู้พิการ หรือ

ป่วยเจ็บ

ลูกจ้างหรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับ

บัญชา ผู้ที่มีฐานะยากจนหรือ

ผู้ต้องพึ่งพาผู้ใช้ไม่ว่าทางใด

ต้องรับโทษเพิ่มขึ้นอีกกึ่งหนึ่ง

ของโทษที่ศาลกำหนด

          โทษของผู้ถูกใช้หรือ            ไม่มี                        กำหนดให้ศาลมีอำนาจ
          ผู้กระทำตามคำโฆษณา                                     ลงโทษผู้ถูกใช้หรือผู้กระทำ
          หรือประกาศแก่บุคคล                                      ตามคำโฆษณาหรือประกาศ
          ทั่วไปให้กระทำ                                          แก่บุคคลทั่วไปให้กระทำ
          ความผิด                                               ความผิดที่ได้เปิดเผยข้อมูล

สำคัญจนสามารถดำเนินคดี

กับผู้ใช้หรือผู้โฆษณาหรือ

ประกาศดังกล่าว น้อยกว่า

อัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมาย

กำหนดไว้ได้

2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับ ..) พ.ศ. ....

          ประเด็นที่มีการแก้ไข         ประมวลกฎหมายแพ่ง     ร่างพระราชบัญญัติที่ ศย. เสนอ
          การโอนคดีที่มี              ไม่มี                 กำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์มีอำนาจโอน
          ผลกระทบต่อ                                   คดีที่อาจกระทบต่อการอนุรักษ์หรือการ
          ประโยชน์                                     บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
          สาธารณะที่                                    การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนรวมหรือ
          สำคัญ                                        ประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นที่สำคัญจาก

ศาลชั้นต้นไปยังศาลแพ่ง และให้ศาลแพ่งซึ่ง

รับคดีไว้พิจารณาพิพากษามีอำนาจดำเนิน

กระบวนพิจารณานอกเขตศาลได้

          การนำระบบ               ไม่มี                 1. กำหนดให้การจัดทำสารบบความสารบบ
          อิเล็กทรอนิกส์                                  คำพิพากษา และการเก็บรักษาข้อมูลใน
          มาใช้ใน                                      สำนวนคดีอาจทำให้รูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
          กระบวนการ                                   2. กำหนดให้การยื่นและส่งคำคู่ความและ
          ยุติธรรม                                      เอกสารระหว่างศาลกับคู่ความและระหว่าง

คู่ความด้วยกันสามารถดำเนินการโดยทาง

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยี

สารสนเทศอื่นได้

          วิธีการส่งคำ               ไม่มี                 1. กำหนดให้การส่งคำคู่ความหรือเอกสาร
          คู่ความ                                       สามารถกระทำโดยทางไปรษนีย์ด่วนพิเศษ
          หมายเรียกและ                                 2. กำหนดให้การส่งหมายเรียกและคำฟ้อง
          คำฟ้อง                                       ตั้งแต่ต้นคดีไปยังจำเลยหรือบุคคลภายนอก

ที่อยู่นอกราชอาณาจักรสามารถกระทำโดย

ทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศหรือ

ผู้ประกอบกิจการรับส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่าง

ประเทศได้ด้วย

3. กำหนดให้ในกรณีที่มีการส่งหมายเรียก

และคำฟ้องตั้งแต่ต้นคดีไปยังจำเลยหรือ

บุคคลภายนอกที่อยู่นอกราชอาณาจักรแล้ว

ไม่อาจทราบผลการส่งภายในเวลาที่ศาล

กำหนดศาลอาจส่งโดยวิธีการปิดประกาศไว้

ที่ศาลแทน

4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... (กำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 45 วรรคสอง) ตามที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการออกข้อกำหนดของศาลเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ

2. กำหนดให้มีพนักงานคดีรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ช่วยเหลือในกระบวนพิจารณาของศาลตามที่ ศาลมอบหมาย โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และข้อกำหนดของศาล สำหรับคุณสมบัติหลักเกณฑ์ และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง การแต่งตั้ง และอัตราเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงานคดีรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ศาลกำหนด

3. กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีตามรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

4. เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของตุลาการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และให้ได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ศาลกำหนด สำหรับค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายอื่นในกรณีเดินทางไปราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ศาลกำหนด

5. กำหนดวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ระบบไต่สวน

6. กำหนดหลักเกณฑ์การยื่นคำร้องและการจำหน่ายคดี โดยคำร้องต้องทำเป็นหนังสือระบุเรื่อง อันเป็นเหตุให้ต้องใช้สิทธิ

7. กำหนดองค์คณะของศาลในการพิจารณาคดีและในการทำคำวินิจฉัยต้องประกอบด้วย ตุลาการไม่น้อยกว่า 5 คน และคำวินิจฉัยของศาลให้มีผลในวันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำวินิจฉัยนั้น

5. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. ….คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้

1. อนุมัติหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติพ.ศ. …. และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

2. อนุมัติให้ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2525 เรื่อง นโยบายการใช้กรรมสิทธิ์ที่ดิน ข้อ ฉ ที่กำหนดให้การจัดที่ดินซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันให้ดำเนินการต่อไป แต่ไม่ให้ขยายพื้นที่ดำเนินการ ยกเว้นในกรณีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและพัฒนาที่ดิน ฯลฯ

สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

1. กำหนดนิยามคำว่า “การบริหารจัดการ” “ที่ดิน” และ “ทรัพยากรดิน” (ตามร่างข้อ 3)

2. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า คทช. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 2 มีกรรมการโดยตำแหน่งอีก 9 คน และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 10 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรเอกชนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรดินและมิได้มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือมุ่งค้าหากำไร และผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรดิน ด้านการปฏิรูปที่ดิน ด้านการผังเมือง ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านกฎหมายที่ดิน และด้านเศรษฐศาสตร์ โดยให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ข้าราชการในสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการสำนักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนไม่เกิน 12 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ (ตามร่างข้อ 4)

3. กำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ต้องไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ และไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (ตามร่างข้อ 5-6)

4. กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่รวม 7 ประการ เช่น กำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ กำหนดแนวทางและมาตรการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินหรือทรัพยากรดิน เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง จัดทำ ปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกกฎหมายหรือกฎเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินหรือทรัพยากรดินเพื่อดำเนินการต่อไป เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการในเชิงบริหารกรณีที่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นหรือของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินหรือทรัพยากรดินซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกัน เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ (ตามร่างข้อ 8)

5. กำหนดให้ค่าใช้จ่ายสำหรับเบี้ยประชุม ค่าตอบแทน รวมทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและคณะอนุกรรมการ ให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ตามร่างข้อ 15)

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว และจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของเรื่อง

กค. รายงานว่า

1. เพื่อเป็นการส่งเสริมและฟื้นฟูการท่องเที่ยวและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ การท่องเที่ยว ตลอดจนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ จึงเห็นสมควรกำหนดมาตรการภาษี โดยยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับรายจ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ และยกเว้นรัษฎากรให้แก่บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมสำหรับเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ

2. การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้จำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายในการอบรมสัมมนาภายในประเทศจะกระตุ้นอุปสงค์ในการใช้บริการธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ และการกำหนดให้ครอบคลุมถึงธุรกิจนำเที่ยวจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในวงกว้าง โดยคาดว่าจะ เกิดผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีประมาณ 600 ล้านบาท

3. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับผู้เสียภาษีจากการซื้อโปรแกรมการท่องเที่ยวภายในประเทศที่ได้จ่ายให้แก่ธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์จะมีผลกระทบต่อ การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 400 ล้านบาท แต่เป็นการกระตุ้นอุปสงค์ในการใช้บริการธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศในวงกว้าง

4. มาตรการภาษีดังกล่าวคาดว่าจะมีผลดีต่อผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศประมาณ 3,000 ล้านบาท สาระสำคัญของร่างกฎหมาย

1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศให้แก่ลูกจ้าง หรือรายจ่ายที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ร่างพระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558

2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

กำหนดให้เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 15,000 บาท เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ เฉพาะค่าบริการหรือค่าที่พักที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ร่างกฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558

7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลแขวงสระบุรี ในจังหวัดสระบุรี พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลแขวงสระบุรี ในจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

1. กำหนดให้ในจังหวัดสระบุรี มีศาลแขวงสระบุรีโดยมีเขตอำนาจตลอดจังหวัดสระบุรี และให้เปิดทำการในวันที่ 1 เมษายน 2558

2. กำหนดให้ในระหว่างที่ยังไม่เปิดทำการศาลแขวงดังกล่าว ให้ศาลจังหวัดสระบุรีมีเขตอำนาจตลอดถึงเขตอำนาจศาลแขวงนี้ด้วย

3. กำหนดให้บรรดาคดีของท้องที่จังหวัดสระบุรีที่ค้างการพิจารณาอยู่ในศาลจังหวัดสระบุรีในวันเปิดทำการศาลแขวงสระบุรี ให้คงพิจารณาพิพากษาต่อไปในศาลจังหวัดสระบุรี และในกรณีที่มีคำสั่งให้ผัดฟ้องหรือให้ขังผู้ต้องหาไว้ระหว่างสอบสวนในวันเปิดทำการศาลแขวงสระบุรี ให้ศาลจังหวัดสระบุรีมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการ ผัดฟ้องหรือขังระหว่างสอบสวนนั้นต่อไป

8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ตามที่ กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

แก้ไขปรับปรุงประเภทหรือชนิดของโรงงานทั้งหมดรวม 4 ประเภท ได้แก่ ลำดับที่ 50 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ลำดับที่ 88 โรงงานผลิตไฟฟ้า ลำดับที่ 89 โรงงานผลิตก๊าซ และลำดับที่ 91 โรงงานบรรจุสินค้าในภาชนะโดยไม่มีการผลิต โดยลำดับที่ 50 และ 91 เป็นการแก้ไขร่างกฎกระทรวงที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว สำหรับลำดับที่ 88 ได้ปรับปรุงแก้ไขจากร่างกฎกระทรวงที่ สคก. ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว ส่วนลำดับที่ 89 อก. ได้เสนอเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ เพื่อมิให้โรงงานส่งหรือจำหน่ายก๊าซที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าข่ายเป็นโรงงาน

9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว (จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมขึ้นในสำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี) และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2552 ดังนี้

1. กำหนดให้มีศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมขึ้นในสำนักงาน ก.พ. และกำหนดอำนาจหน้าที่ของศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมในการเสนอแนะนโยบายและกลยุทธ์การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม พัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่ข้าราชการพลเรือน พัฒนาองค์ความรู้ สนับสนุน ให้คำปรึกษาแก่ข้าราชการในด้านการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม เป็นต้น

2. กำหนดให้มีกลุ่มตรวจสอบภายใน และกลุ่มพัฒนาระบบบริหารในสำนักงาน ก.พ. รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ ก.พ. และให้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของสำนักงาน ก.พ.

3. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของศูนย์นักบริหารระดับสูง เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้เพิ่มภารกิจเกี่ยวกับระบบกำลังคนคุณภาพนอกเหนือจากระบบนักบริหารระดับสูงที่กำหนดไว้เดิม

เศรษฐกิจ-สังคม

10. เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2557/2558

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้

1. รับทราบสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำแม่กลอง และลุ่มน้ำอื่น ๆ

2. เห็นชอบการงดส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่

กลอง โดยให้มีการออกประกาศทางราชการแจ้งพื้นที่ที่ให้งดการส่งน้ำและงดการทำนาปรังในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ รวม 26 จังหวัด ทั้งนี้ การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยในพื้นที่งดส่งน้ำและงดทำนาปรังให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556

3. เห็นชอบแนวทางการดำเนินงานตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2557/2558 ดังนี้

1. เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังในเขตชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลองจะไม่ได้รับการช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติด้านการเกาตร

2. เกษตรกรทั้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลองในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานได้รับมาตรการช่วยเหลือเหมือนกัน

3. มาตรการหลัก โดยกรมชลประทานดำเนินการจ้างแรงงานเพื่อซ่อมคูคลองในฤดูแล้ง จำนวน 7.54 ล้านคนต่อวัน

4. มาตรการเสริม จะดำเนินการโดยใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 และขอสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ 2558 ดังนี้

4.1 การอบรมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อส่งเสริมอาชีพด้านประมง 3,574 ราย แบ่งเป็นเรื่องการเลี้ยงปลา 2,702 ราย (ราบละ 2,250 ราย) และกบ 872 ราย (รายละ 2,900 ราย)

4.2 การอบรมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อส่งเสริมอาชีพด้านปศุสัตว์ 13,389 ราย แบ่งเป็นเรื่องการเลี้ยงเป็ด 4,407 ราย (รายละ 4,000 บาท และไก่ 8,982 ราย (รายละ 4,000 บาท)

          4.3 การฝึกอาชีพในภาคเกษตร โดยกรมส่งเสริมการเกษตรฝึกอาชีพเกษตรกร จำนวน 17,804 ราย แบ่งเป็น 9 หลักสูตร ได้แก่ ปุ๋ยหมัก (รายละ 800 บาท)  สารชีวินทรีย์ (รายละ 800 บาท) ถั่วงอก (รายละ 500 บาท) เพาะเห็ด (รายละ 800 บาท) ขยายพันธุ์ไม้ผล (รายละ 500 บาท) ผึ้ง (รายละ        2,950 บาท) แมลงเศรษฐกิจ (รายละ 1,200 บาทป ซ่อมเครื่องจักรกล (รายละ 3,000 บาท) และการแปรรูป/ถนอมอาหาร (รายละ 1,000 บาท)

4.4 การสนับสนุเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่วแก่เกษตรกรในพื้นที่ 2 ลุ่มน้ำ จำนวน 150,000 ไร่ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือถั่วลิสง แก่เกษตรกรที่มีความประสงค์จะปลูกพืชตระกูลถั่ว

4.5 การฝึกอาชีพนอกภาคเกษตร โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 1,385 ราย แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชย์และบริหาร ความคิดสร้างสรรค์ และเฉพาะทาง (รายละ 900 บาท)

4.6 การสนับสนุนให้ปลูกพืชปุ๋ยสด ในพื้นที่พักนาที่มีความชื้นเพียงพอ 150,000 ไร่ โดยกรมพัฒนาที่ดิน

5. เกษตรกรเลือกมาตรการช่วยเหลือตามความสมัครใจ

5.1 ได้รับมาตรการหลักแล้ว สามารถเลือกมาตรการเสริมเพิ่มเติมได้ หรือจะไม่เลือกมาตรการหลัก ก็ยังมีสิทธิ์เลือกมาตรการเสริม

5.2 มาตรการเสริมเลือกได้เพียงมาตรการเดียวเพื่อกระจายการช่วยเหลือไปให้เกษตรกรรายอื่น ๆ อย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ การประชาสัมพันธ์และติดตาม กำกับ การขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการฯ ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมเกษตร

6. มาตรการสนับสนุนอื่น ๆ ประกอบด้วย การแจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด สภาเกษตรกรแห่งชาติ รวมถึงกลไกระดับพื้นที่ อาทิ องค์กรผู้ใช้น้ำของแต่ละโครงการ การกำหนดแผนปฏิบัติการฝนหลวง การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ การเร่งรัดขุดลอกคลองระบายน้ำการจัดทำแก้มลิง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ รวมถึงการเตรียมสำรองเมล็ดพันธุ์พืชและการสนับสนุนเสบียงสัตว์และเวชภัณฑ์ นอกจากนี้เห็นควรให้จังหวัดกำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก รณรงค์ให้งดเลี้ยงปลา ในกระชังเขตลุ่มน้ำปิงและน่าน ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำน้อยในช่วงเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2557/58 ที่ไม่สามารถปลูกพืชได้ให้มีรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบจากภัยแล้งที่จะเกิดแก่เกษตรกร ทั้งนี้ เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือทันต่อฤดูเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2557/58 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 ถึง 30 เมษายน 2558

11. เรื่อง การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่ กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้

1. ขอความร่วมมือทุกกระทรวง สั่งการให้ส่วนราชการในสังกัดไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัด อำเภอ ส่วนราชการส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจในสังกัด ให้การสนับสนุนด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ ข้อมูลงานบริการประชาชนด้านต่าง ๆ หรือด้านงบประมาณ ในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอตามความเหมาะสมและจำเป็น

2. ขอความร่วมมือทุกกระทรวง สั่งการให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัด สนับสนุนการจัดทำข้อมูล งานบริการประชาชน ข้อมูลข่าวสารสำคัญที่ประชาชนควรทราบ ข้อมูลกฎ ระเบียบ เงื่อนไข ขั้นตอน การพิจารณาอนุมัติ/อนุญาต ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ข้อมูลรายชื่อเจ้าหน้าที่ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อขอทราบข้อมูล หรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง และช่องทางการส่งเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ หรืองานบริการอื่น ๆ

สาระสำคัญของเรื่อง

มท.รายงานว่า

1. การจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม มท. ได้จัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย และจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 มีภารกิจหลัก คือ การรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยมีช่องทางการร้องเรียนทางไปรษณีย์ มาด้วยตนเองและโทรศัพท์สายด่วน 1567 ต่อมาได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 96/2557 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2557 (เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม) โดยให้จัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมขึ้น ณ ศาลากลางจังหวัดหรือสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร โดยประกาศให้ประชาชนทราบและให้ มท. เป็นผู้กำกับดูแลและอำนวยการให้การบริหารงานของศูนย์ดำรงธรรมและการบริหารงานของจังหวัดดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ซึ่งการจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางที่รัฐบาล/คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะได้รับทราบความทุกข์สุขของประชาชน และสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ได้รับฟังข้อเสนอแนะหรือแก้ไขความคับข้องใจของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประชาชนได้รับความพึงพอใจ

2. ผลการดำเนินการที่ผ่านมา จัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมส่วนกลาง ณ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย และศูนย์บริการประชาชน กรมการปกครอง (วังไชยา) และจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดได้ครบ 76 จังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ครบ 878 อำเภอ และได้ขยายผลไปยังศูนย์ดำรงธรรมท้องถิ่นบางแห่งแล้ว ซึ่งมีงานให้บริการประชาชน 7 มิติ ดังนี้

2.1 การรับเรื่องร้องเรียน - ร้องทุกข์

2.2 งานบริการเบ็ดเสร็จ (One stop service)

2.3 งานบริการ - ส่งต่อ (Service link)

2.4 การบริการข้อมูลข่าวสาร/คำปรึกษา

2.5 รับเรื่องราวความต้องการและข้อเสนอแนะของประชาชน

2.6 การปฏิบัติตามนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล/หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

2.7 การจัดชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว (Mobile service)

3. การขับเคลื่อนศูนย์ดำรงธรรม

3.1 มท. ได้จัดทำแนวทางการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ประกอบด้วยหลักคิดในการจัดตั้ง โครงสร้างศูนย์ดำรงธรรม กรอบภารกิจ สถานที่ตั้งศูนย์ดำรงธรรม แนวทางการดำเนินการของจังหวัด ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเชื่อมต่อข้อมูลงานบริการหน่วยงานต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานประจำศูนย์ดำรงธรรม และงบประมาณดำเนินการ

3.2 แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ดำรงธรรม มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน โดยมอบหมายภารกิจรองปลัดกระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ได้แก่ การให้บริการประชาชนเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ การดำเนินการตามนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล การอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน ภารกิจการอำนวยการและหน่วยปฏิบัติการเร่งด่วนเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และความพึงพอใจสูงสุด

3.3 ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทยได้จัดทำระบบฐานข้อมูลการร้องเรียนร้องทุกข์ที่เชื่อมต่อกับทุกจังหวัด จัดทำเว็บไซต์ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทยเชื่อมต่อกับทุกกระทรวงและจังหวัดเพื่อสนับสนุนข้อมูลงานบริการต่าง ๆ โอนสายโทรศัพท์ สายด่วน 1567 ไปให้ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด โดยประชาชนโทรฟรีทั่วประเทศตลอด 24 ชั่วโมง

3.4 มท.ได้ร่วมประชุมหารือกับผู้แทนทุกกระทรวง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2557 โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับศูนย์ดำรงธรรมและขอข้อมูลงานบริการประชาชนการส่งต่อ และการเชื่อมต่อข้อมูลงานบริการของแต่ละหน่วยงานเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลและติดต่อประสานงานในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม

ต่างประเทศ

12 เรื่อง ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย

2. อนุมัติการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ให้ผู้ลงนามสามารถใช้ดุลพินิจในเรื่องนั้น ๆ ได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

สาระสำคัญของเรื่อง

กค. รายงานว่า

1. กระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เสนอให้มีการจัดตั้งกลไกให้ความช่วยเหลือทางการเงินในระดับพหุภาคี (Multilateral Financing Mechanism: MFM) ใหม่สำหรับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาค โดยใช้ชื่อว่า ธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB) และเสนอให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง (Founding Members) ธนาคารดังกล่าวร่วมกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย

2. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ เป็นเอกสารที่ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Non-legal Binding) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบเบื้องต้นของการดำเนินการของ AIIB และการลงนามพิจารณาในร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะยังไม่มีผลผูกพันประเทศนั้น ๆ ในการเข้าร่วมเป็นผู้ถือหุ้นของ AIIB จนกว่าจะมีการลงนามในร่างความตกลงเพื่อการจัดตั้ง AIIB โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ เป็นหลักเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจ เสริมสร้างความมั่งคั่งให้กับภูมิภาคและความเชื่อมโยงกันในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงร่วมมือกับองค์กรเพื่อการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือภายในภูมิภาค ประเทศที่ร่วมลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะมีสถานะเป็นประเทศที่สนใจเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง ซึ่งจะมีสิทธิ์เข้าร่วมเจรจายกร่างความตกลงเพื่อการจัดตั้ง AIIB และภายหลักจากการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ สาธารณรัฐประชาชนจีนจะเป็นผู้นำในการจัดตั้งคณะทำงานระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยกร่างความตกลงฯ และแผนขั้นตอนและกระบวนการจัดตั้ง AIIB อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะนำเสนอต่อสมาชิกผู้ก่อตั้งทุกประเทศเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไปกระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ขอให้ประเทศที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของ AIIB พิจารณาดำเนินการภายในประเทศเพื่อการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ซึ่งกำหนดการเบื้องต้นสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศสมาชิกที่จะลงนามร่วมกันในเดือนตุลาคม 2557

13. เรื่อง การรับรองแถลงการณ์ของรัฐมนตรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่ฉลาดด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองแถลงการณ์ของรัฐมนตรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่ฉลาดด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

ทก. รายงานว่า

1. APT เป็นองค์กรระหว่างประเทศด้านโทรคมนาคมของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2522 ภายใต้การอุปถัมป์ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific : UNESCAP) ซึ่งปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 38 ประเทศ และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกในการพัฒนาข่ายงานโทรคมนาคมและ ICT ให้มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้ง APT ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522

2. APT ได้จัดการประชุมรัฐมนตรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ณ บรูไนดารุสซาลาม ระหว่างวันที่ 10 - 11 กันยายน 2557 โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 35 ปี ของการก่อตั้ง APT และเป็นเวทีสำหรับผู้แทนระดับรัฐมนตรีจากประเทศสมาชิก APT ได้ร่วมอภิปรายในประเด็นที่ว่าด้วยการพัฒนาด้าน ICT ในภูมิภาคฯ ภายใต้หัวข้อหลักคือ “Building Smart Digital Economy through ICT” โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการประชุมฯ ดังนี้

2.1 เพื่อแสดงถึงผลการดำเนินงานและบทบาทของ APT ในการทำให้เกิดความร่วมมือในระดับภูมิภาค และสร้างความมั่นคงและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศสมาชิก

2.2 เพื่อกำหนดนโยบายและแนวทางสำหรับภูมิภาคในอีก 5 ปี ข้างหน้า โดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือช่วยสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ

2.3 เพื่อประเมินและติดตามผลโครงการพัฒนาบรอดแบนด์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของข้อตกลงและแผนปฏิบัติบาหลี

2.4 เพื่อเป็นเวทีสำหรับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกได้ร่วมกันอภิปรายและหารือในประเด็นสำคัญ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญและบุคคลสำคัญในกลุ่มอุตสาหกรรม ICT

3. แถลงการณ์ดังกล่าว เป็นการแสดงเจตจำนงของประเทศสมาชิก APT ในการเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกด้านการพัฒนาโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมุ่งเน้นการดำเนินการตามพันธสัญญาร่วมกัน เพื่อสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่ฉลาดด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคฯ นอกจากนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวยังเน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งของรัฐบาลและผู้กำกับดูแลในการเอื้อให้การพัฒนาอุตสาหกรรม ICT เป็นไปได้โดยสะดวก ตลอดจนความจำเป็นในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐของประเทศสมาชิก APT และภาคเอกชนในการดำเนินงานในระดับภูมิภาคให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้าง Smart Digital Economy โดยวิสัยทัศน์และแนวทางในการดำเนินการต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ในแถลงการณ์ฯ ได้คำนึงถึงความสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้กรอบ อื่น ๆ ด้วย อาทิ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals : MDGs) และผลการประชุมสุดยอดผู้นำระดับโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (World Summit on the Information Society : WSIS) ภายใต้กรอบสหประชาชาติ เป็นต้น

14. เรื่อง การประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2014 ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2014 ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) เสนอ ดังนี้

1. มอบอำนาจให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการอภิปราย ลงมติ

และลงนามให้กรรมสารสุดท้ายของการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) ปี ค.ศ. 2014

2. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกตราสารแต่งตั้ง (Credentials)

โดยมอบอำนาจตาม 1 ให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

สาระสำคัญของเรื่อง

ทก. รายงานว่า

1. ITU เชิญประเทศสมาชิกพิจารณาแต่งตั้งคณะผู้แทนเพื่อเข้าร่วมการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2014 (Plenipotentiary Conference 2014 : PP-14) ณ เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน 2557 และขอให้ประเทศสมาชิกที่จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวจัดส่งตราสารแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) ซึ่งลงนามโดยผู้นำประเทศ หรือหัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

2. กาประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มเป็นการประชุมสูงสุดของ ITU จัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี

โดยมีคณะผู้แทนจากประเทศสมาชิก (ปัจจุบันมี 193 ประเทศ) สำหรับการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มปี ค.ศ. 2014 จะมีการพิจารณาประเด็นสำคัญต่าง ๆ อาทิ การพิจารณาข้อเสนอในการแก้ไขบทบัญญัติแห่งธรรมนูญและอนุสัญญาของ ITU การพิจารณาข้อเสนอของสภาบริหาร (ITU Council) เกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินงานและนโยบายด้านการบริหารจัดการองค์กร การพิจารณารายงานผลการดำเนินงานและกิจกรรมของสำนักต่าง ๆ ของ ITU ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนการวางหลักเกณฑ์ด้านงบประมาณและการเงินสำหรับ ITU การพิจารณาการจัดทำความตกลงหรือทบทวนความตกลงในด้านต่างๆ ระหว่าง ITU และองค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการพิจารณาประเด็นท้าทายที่สำคัญ ๆ ในด้านโทรคมนาคมและ ICT ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของการประชุมใหญ่ ITU จะจัดให้มีถ้อยแถลงของผู้นำประเทศ หัวหน้าคณะผู้แทนระดับรัฐมนตรี และผู้บริหารระดับสูงที่เข้าร่วมการประชุมฯ

15. เรื่อง ร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยบทบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ASEAN Agreement on Medical Device Directive)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบและอนุมัติการลงนามความตกลงอาเซียนว่าด้วยบทบัญญัติเครื่องมือแพทย์

2. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามในความตกลงฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญในความตกลงฯ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้ผู้ลงนามเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจตามสถานการณ์ ตามความเหมาะสมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยต่อไป

3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามความตกลงฯ

4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือแจ้งการมีผลใช้บังคับความตกลงฯ เมื่อประเทศไทยได้ลงนามและดำเนินการตามกระบวนการภายในเสร็จสิ้นแล้ว

สาระสำคัญของร่างความตกลง AMDD มีดังนี้

1. ประเทศสมาชิกต้องดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีเพียงเครื่องมือแพทย์ที่เป็นไปตามบทบัญญัติของความตกลงของอาเซียนว่าด้วยข้อตกลงบทบัญญัติเครื่องมือแพทย์ และภาคผนวก ฉบับนี้เท่านั้นที่อาจนำไปวางตลาดในประเทศสมาชิกได้ ซึ่งบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล หรือผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจ ที่รับผิดชอบในการวางตลาดเครื่องมือแพทย์ในประเทศสมาชิกต้องขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานผู้กำกับดูแลของแต่ละประเทศสมาชิกนั้น หรือในประเทศสมาชิกหนึ่งประเทศหรือมากกว่า ต้องขอรับการอนุญาตก่อนการวางตลาดกับหน่วยงานผู้กำกับดูแลของแต่ละประเทศสมาชิกนั้น

2. ร่างความตกลง AMDD มีสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองเครื่องมือแพทย์ เช่น คำจำกัดความและขอบเขตของเครื่องมือแพทย์ หลักการที่จำเป็นเพื่อความปลอดภัยและสมรรถนะในการใช้งานของเครื่องมือแพทย์ การจำแนกประเภทเครื่องมือแพทย์ การประเมินความสอดคล้องของเครื่องมือแพทย์ เอกสารวิชาการของเครื่องมือแพทย์ การอ้างอิงมาตรฐาน ฉลาก ระบบเฝ้าระวัง เป็นต้น

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์และหารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า ร่าง AMDD กับพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 มีสาระสำคัญไม่ขัดแย้งกัน โดยการดำเนินการรองรับในการนำแนวทางจากร่าง AMDD มาปฏิบัติ ต้องมีการจัดทำหรือปรับกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายลำดับรองต่อไป ซึ่งการลงนามในร่างดังกล่าวเป็นการลงนามที่ยังไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันในทันที โดยหลังจากการลงนามแล้วประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินกระบวนการภายในให้เสร็จสิ้นแล้วจะต้องแจ้งการยอมรับหรือให้สัตยาบันอีกขั้นตอนหนึ่ง เพื่อให้มีผลผูกพันทางกฎหมายต่อไป

16. เรื่อง การรับรองเอกสารผลการประชุมผู้นำเอเชีย - ยุโรป ครั้งที่ 10 (ASEM 10)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงของประธานสำหรับการประชุมผู้นำเอเชีย - ยุโรป ครั้งที่ 10

(ASEM 10)

2. อนุมัติให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย หรือผู้แทนรับรองเอกสารในข้อ 1

3. หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างเอกสารถ้อยแถลงของประธานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ก่อนจะมีการรับรองเอกสารดังกล่าว ให้ กต. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

4. ร่างถ้อยแถลงฯ เป็นเอกสารแถลงสรุปผลลัพธ์การประชุม ASEM 10 โดยประธานการประชุมผู้นำ ASEM ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแสดงวิสัยทัศน์และนโยบายเกี่ยวกับการกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาชิก ASEM ในภูมิภาคเอเชียกับยุโรป ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งสะท้อนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญระหว่างประเทศ โดยมิได้ใช้ถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งให้เกิดพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่มีการลงนามในร่างเอกสารดังกล่าว ร่างเอกสารฯ จึงไม่ใช่สนธิสัญญาภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557

17. เรื่อง ขอความเห็นชอบแนวทางการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส อีโบลาทุกภาคส่วน และเตรียมการส่งความช่วยเหลือของไทยไปยังแอฟริกาตะวันตก

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้

1. รับทราบสถานการณ์และความคืบหน้ามาตรการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

2. เห็นชอบและมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางมาตรการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาทุกภาคส่วน

3. เห็นชอบให้ใช้งบกลางในการจัดส่งบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขไปให้ความช่วยเหลือในแอฟริกาตะวันตก โดยให้ สธ. เป็นผู้ดำเนินการหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4. เห็นชอบให้จัดความช่วยเหลือของประเทศไทยด้านเงินช่วยเหลือวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น และด้านมนุษยธรรมอื่น ๆ โดยระดมความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

สาระสำคัญของเรื่อง

สธ. รายงานว่า

1. ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีมติ (26 ส.ค. 57) กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการ ดังนี้

1.1 ติดตามสถานการณ์จากองค์การอนามัยโลกและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

1.2 คัดกรองผู้เดินทางที่มีประวัติเดินทางกลับมาจากประเทศที่เกิดโรคโดยการซักประวัติและวัดอุณหภูมิที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ 9 แห่ง ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ท่าเรือ และพรมแดนช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2557 - 25 กันยายน 2557 มีผู้เดินทางที่ผ่านการคัดกรองสะสมแล้ว 1,689 ราย ทั้งนี้ มีการติดตั้งอุปกรณ์วัดอุณหภูมิร่างกายผู้โดยสารขาเข้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

1.3 เฝ้าระวัง สอบสวนโรคในผู้ป่วยที่สงสัยติดเชื้อ อย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศไทยยังไม่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

1.4 จัดหาชุดพร้อมอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข กระจายไปยังพื้นที่งวดแรกแล้วในปีงบประมาณ 2557 จำนวน 5,000 ชุด และจัดซื้อเพิ่มเติมจากงบกลาง จำนวน 29,640 ชุด พร้อมอุปกรณ์ประกอบ เป็นเงิน 11,463,832.40 บาท ซึ่งจะพร้อมส่งมอบได้ในเดือนตุลาคม 2557

1.5 เตรียมความพร้อมด้านศักยภาพของการรักษาพยาบาล ทั้งในด้านสถานที่และจัดการฝึกอบรมให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในด้านการรักษาพยาบาล การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรคในพื้นที่

1.6 เตรียมความพร้อมร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยในการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

1.7 จัดให้มีการซ้อมแผนสำหรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในทุกระดับ

1.8 จัดทำแผนเตรียมความพร้อมแบบบูรณาการทุกภาคส่วนสำหรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

1.9 สื่อสารความเสี่ยงสู่เจ้าหน้าที่ ประชาชนและผู้เดินทาง

1.10 กระทรวงการต่างประเทศ ได้มีคำเตือนประชาชนไทยให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่เกิดโรค มีการลงทะเบียนคนไทยในประเทศที่มีการระบาดและเพิ่มกระบวนการกลั่นกรองการตรวจลงตราสำหรับผู้เดินทางจากประเทศที่มีการระบาด

1.11 จัดการเฝ้าระวังในสัตว์และสัตว์ป่า โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

1.12 ประสานความร่วมมือองค์การระหว่างประเทศ กับนานาประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลก ประเทศสหรัฐอเมริกา

2. คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ โดย สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดทำแนวทางการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาทุกภาคส่วนใน 3 สถานการณ์ คือ

สถานการณ์ที่ 1 : ยังไม่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศไทย รวมถึงพบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อไวรัสอีโบลาเดินทางมาจากต่างประเทศ

สถานการณ์ที่ 2 : กรณีพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศไทยแต่ยังไม่พบการแพร่กระจายเชื้อในประเทศ

สถานการณ์ที่ 3 : กรณีพบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศไทย

3. การให้ความช่วยเหลือ

ประเทศไทยโดยรัฐบาล ควรแสดงบทบาทร่วมกับนานาชาติ ในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่กำลังประสบปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เพื่อเร่งควบคุมการระบาด ณ แหล่งต้นตอซึ่งนับเป็นยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมที่สุด ในการยุติโรคติดต่อรุนแรงซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย และยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในเวทีโลก ในโอกาสที่โลกกำลังประสบภาวะวิกฤติ จึงเห็นควรให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม ดังนี้

3.1 เงินช่วยเหลือเพื่อสมทบในกรอบที่องค์การสหประชาชาติประมาณการไว้ โดยขอรับการสนับสนุนจากงบกลางของรัฐบาลตามความเหมาะสมและจัดการระดมเงินบริจาคเพิ่มเติมภายในประเทศผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น รัฐบาล สภากาชาดไทย ภาคเอกชน

3.2 สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ผลิตได้ในประเทศ เช่น อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย น้ำยาฆ่าเชื้อโรค วัสดุวิทยาศาสตร์สำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

3.3 การสนับสนุนด้านนโยบายทางการเมือง เช่น นโยบายการต่อสู้กับการระบาดของโรค สนับสนุนการยกเลิกมาตรการห้ามการเดินทางและการค้าระหว่างประเทศ

3.4 ความช่วยเหลือด้านคมนาคมขนส่งทางอากาศ ทั้งการขนส่งสิ่งของและผู้โดยสาร

3.5 จัดส่งบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งบุคลากรสาขาอื่น ๆ ในขั้นต้น ตั้งเป้าที่จะจัดหาชุดละจำนวน 35 คน โดยส่งไปร่วมปฏิบัติงานในประเทศใกล้เคียงกับประเทศที่มีการระบาด เพื่อร่วมจัดการฝึกอบรมหรือประสานงานเตรียมความพร้อมแก่บุคลากรของประเทศเหล่านี้เพื่อรับมือการระบาด หรือร่วมปฏิบัติงานในศูนย์ประสานความช่วยเหลือของสหประชาชาติ หรือเห็นควรส่งไปปฏิบัติงานในประเทศที่มีการระบาดคือ สาธารณรัฐกินี สาธารณรัฐไลบีเรีย และสาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน โดยมีเวลาปฏิบัติงานชุดละ 1 เดือน จำนวน 3 ชุด

18. เรื่อง ขอให้ความเห็นชอบต่อเอกสารถ้อยแถลงของประธานและเอกสารสารัตถะประกอบการประชุมรัฐมนตรีวัฒนธรรมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 6

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงของประธานสำหรับการประชุมรัฐมนตรีวัฒนธรรมเอเชีย- ยุโรป ครั้งที่ 6 (The 6th Asia-Europe Culture Ministers’ Meeting - ASEM CMM 6) และเอกสารสารัตถะประกอบการประชุม ASEM CMM 6 คือ ร่างถ้อยแถลงสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อใช้กล่าวในการประชุมเต็มคณะของการประชุม ASEM CMM 6 และเอกสารเพื่อนำเสนอกรณีศึกษาของประเทศไทยระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เมืองสร้างสรรค์ (Creative Cities)” ของการประชุม ASEM CMM 6

2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยรับรองร่างถ้อยแถลงของประธาน

3. หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างถ้อยแถลงของประธานตลอดจนเอกสารสารัตถะประกอบการประชุม ASEM CMM 6 ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ก่อนจะมีการรับรองเอกสารดังกล่าวให้ วธ. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงของประธาน เป็นเอกสารแถลงสรุปผลการประชุม ASEM CMM 6 โดยประธานการประชุม ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแสดงวิสัยทัศน์และนโยบายเกี่ยวกับการกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมระหว่างสมาชิก ASEM ในภูมิภาคเอเชียกับยุโรป รวมทั้งสะท้อนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญระหว่างประเทศทางด้านวัฒนธรรม โดยมิได้ใช้ถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งให้เกิดพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่มีการลงนามในร่างเอกสารดังกล่าว จึงไม่ใช่สนธิสัญญาภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557

ร่างถ้อยแถลงของประธานเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองและนโยบายที่มีนัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการเข้าร่วมการประชุมและร่วมรับรองเอกสารผลการประชุม ASEM CMM 6 เป็นการสะท้อนท่าทีร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิก ASEM โดยประเทศสามาชิก ASEM จะต้องให้การรับรองร่างถ้อยแถลงของประธาน เฉพาะในช่วงการประชุม ASEM CMM 6 เท่านั้น โดยไม่มีกระบวนการหรือขั้นตอนอื่นที่เปิดให้มีการรับรองภายหลังการประชุมได้ รวมทั้งหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและผู้นำเสนอกรณีศึกษาจะต้องดำเนินการตามเอกสารสารัตถะประกอบการประชุม ASEM CMM 6

แต่งตั้ง

19. เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอแต่งตั้ง นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กลุ่มที่ปรึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (อำนวยการ ระดับสูง) สำนักวิเคราะห์เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

21. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมอบหมายให้พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้รักษาราชการแทน ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

22. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามนัยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามลำดับ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ โดยให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานด้วย ดังนี้

1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นายพรชัย รุจิประภา)

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช)

23. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ลาออก

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอแต่งตั้งนายสุพันธ์

มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ แทนนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ลาออก โดยให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป

24. เรื่อง มอบหมายผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมอบหมายให้รัฐมนตรี จำนวน 2 ราย เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามลำดับ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ดังนี้ 1. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 2. พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

25. เรื่อง การแต่งตั้งนางกานดา วัชราภัย ผู้แทนไทยด้านสิทธิสตรีในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ACWC) ให้ดำรงตำแหน่งต่ออีก 1 วาระ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้งให้นางกานดา วัชราภัย ดำรงตำแหน่งผู้แทนไทยด้านสิทธิสตรีในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children : ACWC) อีก 1 วาระ เป็นระยะเวลา 3 ปี (ระหว่างวันที่ 7 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2560)

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง พลตรี วิทูล บัณฑิตย์ ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป

27. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล) เสนอแต่งตั้งศาสตราจารย์ สิทธิชัย โภไคยอุดม ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นายนพดล กรรณิกา ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ ก.พ. (สำนักนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้ง หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ. ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีคำสั่งให้ข้าราชการรักษาราชการแทนในตำแหน่งดังกล่าว เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 5 ราย ดังนี้

1. นางสาวสุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

2. นางสาวอาระยา นันทโพธิเดช รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

3. นายชัยพร ศิริพรไพบูลย์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

4. นางรวีวรรณ ภูริเดช รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

5. นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา รองอธิบดีกรมป่าไม้ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ

สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 7 ราย ดังนี้

1. นายอาทิตย์ วุฒิคะโร รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

2. นายปณิธาน จินดาภู อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ดำรงตำแหน่ง

รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

3. นายอุฤทธิ์ ศรีหนองโคตร เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

4. นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง

รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

5. นายสุรพงษ์ เชียงทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

6. นายหทัย อู่ไทย ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

7. นายพิชัย ตั้งชนะชัยอนันต์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างและสับเปลี่ยนหมุนเวียน

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอการโอน นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 4 ราย ดังนี้

1. นายชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหารระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง

2. นายสุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหารระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง

3. นายสุริยะ วงศ์คงคาเทพ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง

4. นายสมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับต้น กรมควบคุมโรค ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ