ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.98 แข็งค่าจากเงินทุนไหลเข้า มองกรอบพรุ่งนี้ 34.85-35.10 จับตาผลประชุม ECB

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 20, 2016 17:27 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.98 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็ก น้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.00/04 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเย็นวันนี้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเช้า เนื่องจากผลของเงินทุนไหลเข้าที่เป็นตัวกดดันทำให้เงินบาทแข็ง ค่า และพรุ่งนี้ยังมีโอกาสที่บาทจะแข็งค่าได้ต่อ

"วันนี้บาทแข็งค่าจากตอนเช้า เพราะมี flow ไหลเข้า จึงกดดันให้บาทแข็ง ส่วนพรุ่งนี้ทิศทางยังมีโอกาสแข็งค่าต่อ"
นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.85 - 35.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.49/70 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 105.80 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโร เย็นนี้อยู่ที่ระดับ 1.0997/1018 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1007 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,510.03 จุด เพิ่มขึ้น 18.03 จุด (+1.21%) มีมูลค่าการซื้อขาย 64,103 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 5,084.44 ลบ.(SET+MAI)
  • นักลงทุนติดตามผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพรุ่งนี้ว่าจะมีมติเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวม
ทั้งนโยบายการเงินในรอบนี้ออกมาอย่างไร หลังจากเกิดกรณีที่อังกฤษลงประชามติถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
(Brexit)
  • โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีน เปิดเผยว่า ภาคธุรกิจของจีนยังคงเพิ่มการลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปี
แรก โดยพบว่าเม็ดเงินลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (ODI) ของธุรกิจนอกภาคการเงินของจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 58.7% เมื่อเทียบ
เป็นรายปี แตะที่ระดับ 5.8028 แสนล้านหยวน (8.661 หมื่นล้านดอลลาร์) ในช่วงเดือนม.ค.-มิ.ย. ส่วนในเดือนมิ.ย.เพียงเดือน
เดียวนั้น เม็ดเงิน ODI ของจีนขยายตัว 44.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะที่ 1.0017 แสนล้านหยวน
  • สมาคมห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ห้างสรรพสินค้าในญี่ปุ่นมียอดจำหน่ายลดลง 3.5% เมื่อเทียบรายปี โดยเป็น
การลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 อันเนื่องมาจากยอดจำหน่ายสินค้าแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้ ยอดจำหน่ายสินค้า
แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติปรับลดลง 20.4% สู่ระดับ 1.3 หมื่นล้านเยน โดยลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง
ความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการใช้จ่ายและตัวสินค้า แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเกือบแตะ 230,000 รายก็
ตาม
  • นักวิเคราะห์จากมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ เตือนว่าอาจจะมีการ
ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตุรกีลงสู่สถานะ "ขยะ" โดยปัจจุบันตุรกีอยู่ที่อันดับ Baa3 ซึ่งสูงกว่าระดับ "ขยะ" เพียง 1 ขั้น โดย
ระบุว่า ความพยายามในการก่อรัฐประหารแต่ไม่สำเร็จนั้น อาจส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจตุรกี จนทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง
ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ภาวะทางการเงินและภูมิศาสตร์การเมืองของตุรกียังไม่มีทิศทางแน่นอน ซึ่งอาจทำให้เกิดเงินทุนไหลออก ทุน
สำรองหดหาย หรือที่เลวร้ายที่สุดคือเกิดวิกฤตดุลการชำระเงิน
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% เทียบราย
เดือน ซึ่งมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัว 0.2% แต่หากเทียบรายปีแล้วพบว่าดัชนี PPI ปรับตัวลดลง 2.2%
เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดไว้ว่าจะหดตัวลง 2.4% และหากไม่นับรวมราคาพลังงานที่ผันผวนแล้ว ดัชนี
PPI ขยายตัว 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน และหดตัวลง 0.7% เมื่อเทียบรายปี
  • นักลงทุนติดตามการประกาศข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญในวันพรุ่งนี้ของสหรัฐฯ เช่น จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่าง

งานรายสัปดาห์, ยอดขายบ้านมือสองเดือน มิ.ย.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ