ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.59 แข็งค่าต่อเนื่องจากวานนี้ ตลาดรอดูทิศทางนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯของ"ทรัมป์"

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 11, 2017 09:18 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.59 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า จากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.61 บาท/ดอลลาร์ หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมา

"เงินบาทแข็งค่าจากช่วงท้ายตลาดเย็นวานนี้เล็กน้อย หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร ขณะที่ค่าเงินภูมิภาคเคลื่อนไหว แบบผสม" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.55-35.65 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้บาทน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ โดยตลาดรอฟังนโยบายของทรัมป์" นักบริหารเงิน กล่าว
  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 116.08 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 115.97/98 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0551 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.0597/0599 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.6060 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับในเดือน พ.ย. 2559 ว่า ทั้งระบบมี
จำนวนบัญชีสินเชื่อทั้งสิ้น 13.64 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 8.5 แสนบัญชี หรือ 6.65% มียอดสินเชื่อคงค้างรวม
3.38 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.3 หมื่นล้านบาท หรือ 4% ในจำนวนนี้เป็นการปล่อยกู้ของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (นัน
แบงก์) เป็นหลัก
  • ธปท.ชี้กำลังซื้อครัวเรือนหด ทำธุรกิจบัตรเครดิตแผ่ว เผยยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตโดยรวมเพิ่มขึ้นแค่ 2.55 พันล้าน
บาท พบการเพิ่มขึ้นของยอดใช้จ่ายในประเทศน้อยกว่าใช้จ่ายในต่างประเทศและใกล้เคียงเบิกเงินสดล่วงหน้า แต่ยอดขอสินเชื่อและ
จำนวนบัตรยังทะยานต่อ ด้านธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและนาโนไฟแนนซ์สินเชื่อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • ธนาคารธนชาต เปิดเผยว่า ทิศทางดอกเบี้ยอยู่ในภาวะขาขึ้นอย่างชัดเจน โดยธนาคารคาดว่าปีนี้คณะกรรมการ
นโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จึงจำเป็นต้องวางแผนบริหารจัดการต้นทุนการเงินอย่างรอบคอบ เพื่อ
รักษาความสามารถในการทำกำไร เพราะสินเชื่อส่วนใหญ่ของธนชาตเป็นสินเชื่อรถยนต์ที่มีดอกเบี้ยคงที่
  • สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ได้วาง 4 ยุทธศาสตร์
ในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. 3 ปี (60-62) เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างในตลาดทุน, การเพิ่มคุณภาพและช่องทางของ
ผู้ระดมทุน, เพิ่มโอกาสแก่ธุรกิจรูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการเงิน (ฟินเทค) และพฤติกรรมผู้บริโภคยุค
ใหม่ และสนับสนุนให้ประชาชนส่งเสริมการออมหรือการลงทุนในช่องทางที่เหมาะสม รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพราะปัจจุบัน
หลักประกันทางรายได้คนกลุ่มนี้ยังไม่เพียงพอ
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งประจำเดือนพ.ย.พุ่งขึ้น 1.0% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุด
นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2014 และบ่งชี้ว่าการลงทุนในสินค้าคงคลังได้ช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว
  • สกุลเงินดอลลารสหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆเกือบทั้งหมด ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (10
ม.ค.) ก่อนที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ จะเปิดการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเป็นครั้งแรกในวันพุธที่ 11 ม.ค. ตาม
เวลาสหรัฐ โดยยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0559 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0570 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์อ่อน
ค่าลงเมื่อเทียบกับเยน ที่ระดับ 115.75 จากระดับ 116.13 เยน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (10 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเดินหน้าเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็น
สินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงติดต่อกัน 2 วันทำการ
  • นายเดวิด โฟลเกิร์ต-แลนดอ หัวหน้านักวิเคราะห์ของดอยซ์แบงก์ ระบุในรายงานว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ
ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ จะช่วยหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐเป็นอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลบวกต่อ
เศรษฐกิจโลก
  • ธนาคารโลกได้เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (Global Economic Prospects) ฉบับล่าสุด โดยคาด
การณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 2.7% ในปี 2560 และขยายตัว 2.9% ในปี 2561

การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2560 นั้น มีอัตราที่รวดเร็วกว่าปี 2559 ที่ขยายตัวเพียง 2.3% แต่ก็น้อยกว่าที่ ธนาคารโลกได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2560 จะขยายตัว 2.8%

  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์,
ราคานำเข้าและส่งออกเดือนธ.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนธ.ค., ยอดค้าปลีกเดือนธ.ค., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ
เดือนพ.ย. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนม.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ