ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.67 แกว่งในกรอบ นลท.รอติดตามสุนทรพจน์ประธานเฟด-การลงมติร่างกฎหมายอเมริกันเฮลธ์แคร์คืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 23, 2017 17:45 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 34.67 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้า ที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.59 บาท/ดอลลาร์

"ระหว่างวันเงินบาทวิ่งในกรอบระหว่าง 34.59-34.69 ลักษณะการเคลื่อนไหววันนี้คาดว่าน่าจะมี Flow จากทั้ง 2 ด้าน แต่ก็แช่อยู่บริเวณ 34.66/67 ค่อนข้างนาน" นักบริหารเงิน กล่าว

ส่วนทิศทางวันพรุ่งนี้ยังคาดเดาได้ยาก ต้องรอดูว่าประธานเฟดกล่าวสุนทรพจน์คืนนี้ ต่อจากนั้นก็จะเป็นที่ประชุมสภาผู้แทน ราษฎรสหรัฐพิจารณาร่างกฎหมายอเมริกันเฮลธ์แคร์

นักบริหารเงิน มองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ในกรอบ 34.60-34.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.05 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 111.46 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0773 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.0783 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,568.72 จุด เพิ่มขึ้น 2.06 จุด, +0.13% มูลค่าการซื้อขาย 38,378.33 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 384.28 ลบ.(SET+MAI)
  • นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบี
โอไอในวันพรุ่งนี้ (24 มี.ค.) จะพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนอีกราว 10 โครงการ มูลค่า 3-4 หมื่นล้านบาท
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "CLMVT พลังขับเคลื่อน
เศรษฐกิจใหม่ของเอเชีย"ว่า CLMVT มีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ถือเป็นศูนย์กลางในอาเซียนและทางด้านเศรษฐกิจ และตลาด
CLMVT จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และในอนาคตอาจเห็นการใช้เงินสกุลเดียวกันในกลุ่ม CLMVT และเกิดการเชื่อมโยงในตลาด
หลักทรัพย์
  • นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวในการเปิดงาน "มหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี ครั้งที่ 12 SET in
the City กรุงเทพมหานคร 2017" ว่า การจัดงานในครั้งนี้จะช่วยสื่อให้ประชาชนได้สามารถเห็นภาพของทางเลือกใหม่ๆ ในการ
ลงทุนได้มากขึ้น ท่ามกลางสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในระดับสูง
  • รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำลังเร่งดำเนินการปฏิรูปใน 5 ด้านที่สำคัญ เพื่อสร้างประเทศไทยยุค
ใหม่ และทำให้สามารถเติบโตได้ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในปี 60 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวสูงกว่าที่ประมาณการไว้เบื้องต้นที่
0.8% YoY แม้มูลค่าส่งออกสินค้าไทยเดือนก.พ.60 ติดลบ 2.8% YoY แต่หากไม่รวมสินค้าที่มูลค่าส่งออกมีความผันผวนสูงในปีก่อน
(มีผลของฐาน) เช่น ทองคำและสินค้าหมวดอากาศยาน (อาวุธและยุทธปัจจัย) มูลค่าส่งออกสินค้าของไทยขยายตัว 8.5% YoY นอก
จากนี้ การขยายตัวดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยทางด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น
  • ธนาคารกสิกรไทย เปิดตัวแคมเปญ “พร้อมเพย์ K สุด มั่นใจ ใคร ๆ ก็เพย์" ในไตรมาส 2 นี้ เพื่อเพิ่มยอดผู้สมัคร
ใช้เคแบงก์พร้อมเพย์ จากปัจจุบัน 3 ล้านรหัส เพิ่มเป็น 5 ล้านรหัสภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าหันมาทำธุรกรรมการเงิน
ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอีก 45-50%
  • ธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารของธนาคารได้มี
มติอนุมัติคำร้องขอรับสมัครเป็นสมาชิกของ AIIB จำนวน 13 ประเทศแล้ว ส่งผลให้จำนวนสมาชิกที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นสมาชิกของ
ธนาคารอยู่ที่ 70 ประเทศ
  • สถาบันวิจัย GfK ของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนีประจำเดือนเม.ย.ปรับตัวลงสู่
ระดับ 9.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะทรงตัวที่ระดับ 10.0
  • นักลงทุนยังรอดูการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐที่เตรียมลงมติต่อร่างกฎหมาย "อเมริกันเฮลธ์แคร์" แทน
กฎหมายประกันสุขภาพ "Affordable Care Act (ACA)" หรือ "โอบามาแคร์" ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ

ขณะที่ สื่อต่างชาติมองว่า การลงมติเรื่องกฎหมาย American Healthcare Act ของสภาคองเกรสในวันนี้ ถือเป็น บทพิสูจน์อำนาจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เนื่องจากการผ่านกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้รับคะแนนเสียงถึง 215 เสียง

  • นักลงทุนในตลาดการเงินจับตาการกล่าวสุนทรพจน์ของนางเยลเลน ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ ในการประชุมซึ่งจัดขึ้น

โดยเฟดสาขาชิคาโก ภายใต้หัวข้อ "Strong Foundations: The Economic Futures of Kids and Communities" เพื่อ

หาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในปีนี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ