ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดตลาด 34.44 กลับมาแข็งค่า หลังกนง.คงดอกเบี้ย คาดกรอบพรุ่งนี้ 34.40-34.50

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 29, 2017 17:24 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.44 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เปิดตลาดเช้าที่ระดับ 34.47 บาท/ดอลลาร์ หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ย นโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.43-34.54 บาท/ดอลลาร์

"ช่วงสายๆ บาทอ่อนค่าไปแตะ 34.54 บาท/ดอลลาร์ น่าจะมาจากแรงซื้อดอลลาร์ของผู้นำเข้า แต่หลังจาก กนง.มีมติ ให้คงอัตราดอกเบี้ย บาทก็กลับมาแข็งค่า" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.40-34.50 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 111.00 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.14 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0790 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0819 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,574.97 จุด ลดลง 1.75 จุด, -0.11% มูลค่าการซื้อขาย ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 154.41 ล้านบาท (SET+MAI)
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปีตามตลาด
คาดการณ์ พร้อมกันนี้ได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยปี 60 เพิ่มขึ้นเป็น 3.4% จากเดิมที่เคย
ประมาณการไว้ในเดือน ธ.ค.59 ที่ 3.2% เนื่องจากมองว่าการส่งออกเริ่มฟื้นตัวชัดเจนขึ้น และได้ประมาณการ GDP ในปี 61 ว่า
จะเติบโตได้ 3.6% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องและมีแรงขับเคลื่อนที่สมดุลมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 60 จากทั้งการใช้จ่ายในประเทศ
และภาคการส่งออกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่วนประมาณการอัตราเงินเฟ้อ คาดว่าในปี 60 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1.2% ส่วนในปี 61
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1.9% โดยเงินเฟ้อมีแนวโน้มทยอยปรับสูงขึ้น และค่อยๆ กลับเข้าสู่ค่ากลางของเป้าหมายแม้จะต่ำกว่าที่เคย
ประเมินไว้จากข้อมูลจริง
  • กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เผยยอดค้าปลีกเดือน ก.พ.ขยับขึ้น 0.1% เมื่อเทียบเป็นราย
ปี ทำสถิติเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยได้แรงหนุนจากยอดขายรถยนต์และน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ขณะยอดการใช้จ่ายเพื่อซื้ออาหารและ
ครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลง ถึงแม้การใช้จ่ายของผู้บริโภคของญี่ปุ่นเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าคาดการณ์ นอกจากนี้
การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังอยู่ในภาวะซบเซาเนื่องจากผู้จ้างงานยังไม่มีการปรับขึ้นเงินเดือน
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เผยความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเกาหลีใต้ที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ ได้
ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองของเกาหลีใต้เริ่มผ่อนคลายลง ขณะที่การส่งออกส่ง
สัญญาณฟื้นตัวขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) ในกลุ่มผู้ผลิตปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 79 ในเดือน มี.ค.จากระดับ 76 ในเดือน
ก.พ. โดยการส่งออกที่ฟื้นตัวช่วยเพิ่มมุมมองที่เป็นบวกของผู้ประกอบการที่มีต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้ โดยยอดการส่งออกของประเทศ
ปรับตัวสูงขึ้น 20.2% ในเดือน ก.พ. ซึ่งอยู่ในทิศทางที่เป็นบวกตั้งแต่เดือน พ.ย.ปีที่แล้ว นอกจากนี้ความไม่แน่นอนทางการเมืองใน
เกาหลีใต้ยังเริ่มคลี่คลายลงหลังจากศาลเกาหลีใต้ได้พิพากษาถอดถอนปาร์ค กึน เฮ ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 10 มี.
ค.ที่ผ่านมา
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม เผยเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัว 5.10% ซึ่งชะลอตัวลงจากที่โต
6.68% ในช่วงสามเดือนก่อนหน้านี้ และเป็นอัตราขยายตัวที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่ช่วงเดียวกันของปี 2558 เนื่องจากสภาพอากาศที่แปร
ปรวนได้สร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลให้เศรษฐกิจของเวียดนามอาจขยายตัวไม่ได้ตามเป้าที่ 6.7% ในปี
2560 หากแนวโน้มยังเป็นเช่นในปัจจุบัน
  • ธนาคารกลางจีนได้ระงับการดำเนินงานทางตลาดเงิน (Open Market Operations) หรือ OMO ผ่านทางข้อ
ตกลงซื้อคืนพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse) ในวันนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะระบายสภาพคล่องออกจากตลาด ซึ่งนับเป็นวันที่ 4
ติดต่อกันแล้วที่ได้ระงับการทำธุรกรรม OMO ผ่านทางข้อตกลง reverse repo ซึ่งเป็นกระบวนการที่ธนาคารกลางเข้าซื้อหลักทรัพย์
จากธนาคารพาณิชย์ด้วยข้อตกลงที่จะขายคืนในอนาคต ขณะที่สัญญา reverse repo บางส่วนได้ครบกำหนดการไถ่ถอนในวันนี้ และส่ง
ผลให้สภาพคล่องถูกระบายออกจากตลาด 7.0 หมื่นล้านหยวน หรือ 1.016 หมื่นล้านดอลลาร์
  • นายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานคณะมนตรียุโรป ประกาศว่าเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำสหภาพยุโรป (EU) จะยื่นหนังสือ
แจ้งความจำนงในการใช้มาตรา 50 เพื่อเริ่มกระบวนการแยกตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit) ในเวลาประมาณ 13.20 น.ของวันนี้
ตามเวลาบรัสเซลส์ (19.20 น. ตามเวลาไทย)
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นปิดปรับตัวลงวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนได้กลับเข้าซื้อพันธบัตร จากที่เทขายในภาคเช้า
ภายหลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ลดปริมาณการซื้อพันธบัตร โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหมายเลข 346 ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตรา
ดอกเบี้ยระยะยาว ปิดที่ 0.050% ลดลง 0.005% จากระดับปิดเมื่อวานนี้ ขณะที่ราคาสัญญาล่วงหน้าพันธบัตรอายุ 10 ปี ส่งมอบ
เดือน มิ.ย.คงตัวอยู่ที่ 150.46 ที่ตลาดหุ้นโอซาก้า
  • ผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่น (ทังกัน) มีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องกันเป็นไตร
มาสที่ 2 เนื่องจากสกุลเงินเยนที่อ่อนค่าลงได้ช่วยหนุนธุรกิจส่งออกให้ปรับตัวดีขึ้น โดยความเชื่อมั่นของธุรกิจในกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ ผู้
ผลิตเครื่องจักรไฟฟ้า และผู้ผลิตขนาดใหญ่อื่นๆ คาดว่า จะอยู่ที่ระดับ +15 ซึ่งเพิ่มขึ้น 5 จุดจากผลสำรวจเดือน ธ.ค.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ