ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.57 แนวโน้มอ่อนค่าหลังยังมีเงินไหลออก มองกรอบวันนี้ 34.50-34.70

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 28, 2017 09:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.57 บาท/ดอลลาร์ แข็ง ค่าเล็กน้อยจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.61 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทยังมีโอกาสอ่อนค่าต่อได้อีกเล็กน้อย หลังจากที่อ่อนค่าติดต่อกันมาตลอดตั้งแต่ต้นสัปดาห์ จากปัจจัยของ Seasonal Effect โดยเฉพาะกรณีที่บริษัทญี่ปุ่นเมื่อปิดรอบบัญชีในช่วงไตรมาสแรกไปแล้ว ก็มีการนำเงินกลับประเทศ จึงทำให้เกิด out flow แต่เชื่อว่าไม่ส่งผลกระทบให้เงินบาทอ่อนค่าไปรุนแรงมากนัก

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.50-34.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.12 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 111.27 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0864 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0898 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.5070 บาท/
ดอลลาร์
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจสถานภาพแรงงานไทยที่มีรายได้ต่ำกว่า
เดือนละ 15,000 บาท พบว่ากว่า 97% ของแรงงานไทยยังมีภาระหนี้ และก่อหนี้เฉลี่ยครัวเรือนละ 131,479 บาท เพิ่มขึ้น
10.43% จากปีก่อนหน้าที่ 119,061 บาท สูงสุดในรอบ 8 ปี
  • ที่ประชุมธนาคารกลางยุโรป มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับ
ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกัน ECB ได้ประกาศปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) สู่
ระดับ 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน ตั้งแต่เดือนเม.ย.-ธ.ค. จากระดับ 8 หมื่นล้านยูโร/เดือนในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นไปตามที่ ECB
ประกาศไว้ในการประชุมเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายของ ECB ไม่ได้มีการหารือกันเกี่ยวกับการยุติการใช้มาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจ และไม่มีการหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงออกจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน

  • นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนยังคงปรับตัวขึ้น ขณะที่เผชิญ
ความเสี่ยงน้อยลง
  • สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (27 เม.ย.) หลังธนาคาร
กลางยุโรป (ECB) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของตลาด
โดยยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0880 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0890 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง
เมื่อเทียบกับเยน ที่ระดับ 111.23 เยน จากระดับ 111.45 เยน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (27 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญา
ทองคำร่วงลงติดต่อกัน 3 วันทำการก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ นักลงทุนบางกลุ่มยังกลับเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจาก
มาตรการปฏิรูปภาษีที่คณะทำงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้เปิดเผยเมื่อวันพุธนั้น ไม่ได้ลงรายละเอียดที่ชัดเจนเพียงพอ
  • สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย
(pending home sales) ลดลง 0.8% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายเดือน
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 14,000 ราย ใน
สัปดาห์ที่แล้ว สู่ระดับ 257,000 ราย ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 245,000 ราย
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่
ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ขยับขึ้นเพียง 0.7% ในเดือนมี.ค. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.2%
  • นักลงทุนจับตาสภาคองเกรสสหรัฐซึ่งเตรียมจะลงมติในร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวที่จะช่วยให้รัฐบาลหลีกเลี่ยง
ภาวะการขาดแคลนงบประมาณในการบริหารประเทศ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวจะต้องผ่านการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
ในวันนี้ และหากได้รับความเห็นชอบจากทั้ง 2 สภา ก็จะต้องส่งต่อไปยังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อลงนามรับรองเป็นกฎหมาย
ในวันเดียวกัน
  • สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส
1/2560 และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ไตรมาส 1/2560
  • นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนซึ่งจะมีการเปิดเผยในช่วงเช้าวันอาทิตย์ตามเวลาประเทศไทย ซึ่ง
ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนเม.ย. รวมถึงตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและ
ภาคบริการเดือนเม.ย.โดยไฉซิน ที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์หน้า

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ