ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.58 แกว่งแคบ รอผลประชุมเฟดคืนนี้ส่งสัญญาณทิศทางดอกเบี้ย มองกรอบพรุ่งนี้ 32.50-32.78

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 13, 2017 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.58 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็ก น้อยจากช่วงเช้าที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.59/60 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ และแข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อยในช่วงปิดตลาด เชื่อว่าเป็นเพราะตลาดยังรอ ติดตามผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าจะมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยตามที่คาดไว้หรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะทราบผลได้ในช่วง เช้าวันพรุ่งนี้ตามเวลาในไทย

"หากเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยจริง บาทก็คงจะอ่อนค่าลงไม่ได้มาก เพราะตลาดค่อนข้างจะรับรู้ข่าวนี้ไปมากแล้ว" นักบริหาร
เงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-32.78 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.38/41 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 113.44 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1752/1755 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1743 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,706.93 จุด เพิ่มขึ้น 4.76 จุด (+0.28%) มูลค่าการซื้อขาย 43,738 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,336.64 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ประจำประเทศไทย ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปี
60 เป็นขยายตัว 3.8% จากเดิมคาด 3.5% และจะยังคงเติบโตต่อเนื่องในระดับเดียวกันที่ 3.8% ในปี 61 จากเดิมที่คาดว่าจะ
ขยายตัวในระดับ 3.6% เนื่องจากการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มกระเตื้องขึ้นแล้ว
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) ในเดือนพ.ย. ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
46.1 จากเดิมที่ระดับ 45.9 ในเดือนต.ค. ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐที่ออกมาในช่วงก่อนหน้า สำหรับมุม
มองต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนธ.ค. 2560 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ มอบนโยบายให้กับผู้บริหารกระทรวงการท่องเที่ยวและ
กีฬาว่า ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวกว่า 34 ล้านคนแล้ว อยากให้มีการพัฒนาและขยายการท่องเที่ยวไปสู่เมืองรอง หรือระดับชุมชนให้มาก
ขึ้น เพื่อกระจายรายได้ให้กับชุมชนมากขึ้น โดยเตรียมนำมาตราการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมืองรองเข้าสู่ที่ประชุม ครม. โดยมอบ
หมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ไปหารือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เกี่ยวกับโครงการส่งเสริมการท่อง
เที่ยวในชุมชนภายใน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงมหาดไทยได้เตรียมงบประมาณของ อปท.ไว้สนับสนุนแล้วกว่าแสนล้านบาท
  • กรมบัญชีกลาง เปิดเผยผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.-30 พ.ย.60 ว่า มี
การเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมได้ 635,143 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2.9 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 21.90% สูงกว่าเป้า
หมาย 0.93% (เป้าหมาย 20.97%) โดยแบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 583,794 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ
2,240,219 ล้านบาท หรือคิดเป็น 26.06% สูงกว่าเป้าหมาย 3.21% (เป้าหมาย 22.85%) ขณะที่รายจ่ายลงทุน (กรณีไม่รวมงบ
กลาง) เบิกจ่ายได้ 51,349 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 577,298 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.89% ต่ำกว่าเป้าหมาย 5.72%
(เป้าหมาย 14.61%)
  • สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมในสหรัฐ พุ่งขึ้น 3.7
จุด สู่ระดับ 107.5 ในเดือนพ.ย. ซึ่งเกือบแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยได้ปัจจัยหนุนจากความหวังที่ว่า สภาคองเกรสภาย
ใต้การนำของพรรครีพับลิกัน จะอนุมัติร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่
  • ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(GDP) ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ขึ้นสู่ระดับ 6% ในปี 2560 โดยได้ปัจจัยหนุนจากยอดส่งออกและการอุปโภคบริโภคภาย
ในประเทศที่ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด
  • นักลงทุนจับตาการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ซึ่งจะเสร็จสิ้นในวันนี้
ตามเวลาสหรัฐ โดยมีการคาดการณ์กันว่า FOMC จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้เป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ หลังจากปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.และมิ.ย. ขณะเดียวกันนักลงทุนยังจับตาการแถลงนโยบายการเงินหลังเสร็จสิ้นการประชุมในวันนี้ โดย
นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดจะขึ้นกล่าวในฐานะประธานเฟดเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะหมดวาระการดำรงตำแหน่งในเดือนก.พ.
ปีหน้า
  • นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ย.,

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ราคานำเข้าและส่งออกเดือนพ.ย., ยอดค้าปลีกเดือนพ.ย., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ

(PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนธ.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนธ.ค.จากมาร์กิต และ

สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนต.ค. และดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนธ.ค.จากเฟด

นิวยอร์ก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ