รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 9 - 12 ตุลาคม 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 17, 2017 15:47 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือนส.ค. 60 คิดเป็น 1.73 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ต่อกำลังแรงงานรวม
  • การส่งออกของสหราชอาณาจักร เดือน ส.ค. 60 ขยายตัว ร้อยละ 10.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าส่งออกของฟิลิปปินส์ เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ยอดค้าปลีกของอินโดนีเซีย เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.4 เทียบกับจากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของมาเลเซีย เดือน ส.ค. ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 6.8 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
  • ยอดค้าปลีกของสิงคโปร์ เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.5 เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
  • การส่งออกของไต้หวัน เดือน ก.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 28.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: This Week

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 60 คิดเป็น 1.73 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 3.6 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์ การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต(Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

การจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน ก.ย. 60 ลดลง 3.3 หมื่นตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า ด้านอัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ต่อกำลังแรงงานรวม ต่ำสุดในรอบ 16 ปีกว่า

UK: improving economic trend

การส่งออก เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 10.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 25.5 โดยการส่งออกสินค้าในหมวดน้ำมันเชื้อเพลิง และปาล์มน้ำมัน ขยายตัวสูงสุดในเดือน ส.ค. 60 ที่ร้อยละ 47.9 16.4 และ 14.7 ตามลำดับ ขณะที่การนำเข้า เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งหมวดสินค้าที่มีการนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ น้ำมันและแว็กซ์ เชื้อเพลิงและปาล์มน้ำมัน ที่ขยายตัวร้อยละ 42.9 28.6 และ 22.7 ตามลำดับ ส่วนหมวดสินค้าโภคภัณฑ์หดตัวร้อยละ 44.1 ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ส.ค. 60 ขาดดุล 1.6 หมื่นล้านปอนด์ ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.5 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า

Philippines: improving economic trend

มูลค่าส่งออก เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อน จากส่งออกไปญี่ปุ่นที่หดตัวชะลอลง ขณะที่มูลค่านำเข้ากลับมาขยายตัวร้อยละ 10.5 ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. ปี 60 ขยายตัววร้อยละ 2.4 โดยหมวดอาหารกลับมาขยายตัวร้อยละ 23.3

Indonesia: improving economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.4 เทียบกับจากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.2 เทียบกับจากช่วงเดียวกันปีก่อน

Malaysia: improving economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 6.8 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

China: improving economic trend

ดัชนีฯ โดย Caixin เดือนก.ย. 60 อยู่ทีระดับ 51.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีฯ ภาคบริการ Caixin เดือน ก.ย. ปี 60 อยู่ที่ระดับ 50.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า

Singapore: improving economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.5 เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า จากยอดขายสินค้าทางการแพทย์ อุปกรณ์อาบน้ำ และห้างร้านสรรพสินค้าที่เร่งตัว

Taiwan: improving economic trend

การส่งออก เดือน ก.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 28.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.7 ขณะที่การนำเข้า เดือน ก.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวมากสุดในช่วง 5 เดือน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ก.ย. 60 เกินดุล 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับดัชนี ดัชนี MSCI Asia Pacific Index ที่ปรับตัวสูงขึ้น ดัชนี SET ณ วันที่ 11 ต.ค. 60 ปิดที่ระดับ 1,714.14 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันที่ 9-11 ต.ค. 60 ที่ 69,150 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9-11 ต.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 4617.03 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลช่วงอายุ 1 ปี ขึ้นไป ปรับตัวลดลง 1-8 bps โดยที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวลดลงมากที่สุด ในสัปดาห์นี้ มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10.35 ปีที่มีนักลงทุนสนใจถึง 3.82 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 9-11 ต.ค. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 4,078.78 ล้านบาท

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.4 โดย ณ วันที่ 11 ต.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 33.21 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับเงินเยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวนที่แข็งค่าขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ โดยรวมแล้วเงินบาทแข็งค่ามากกว่าเงินสกุลหลักหลายสกุล ยกเว้นหยวนกับวอน ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.17

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ