ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: กาแฟ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 1, 2014 14:59 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1. การผลิต

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้พยากรณ์เนื้อที่ให้ผล ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่

ปี 2558 ดังนี้ เนื้อที่ให้ผลผลิตกาแฟจะมีประมาณ 269,596 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2557 จำนวน 5,817 ไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.21 ผลผลิต 37,366 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 1,097 ตัน หรือลดลงร้อยละ 2.85 และผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่ให้ผล เฉลี่ยไร่ละ 139 กิโลกรัม ลดลงจากปีที่ผ่านมา 7 กิโลกรัมต่อไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.79 ทั้งนี้เนื้อที่ให้ผลรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของแหล่งปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกาในภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากภาครัฐและเอกชนมีการส่งเสริมให้ปลูกเพิ่มในสวนไม้ผลไม้ยืนต้นและพื้นที่ป่าชุมชนตั้งแต่ ปี 2554 เริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ ส่วนผลผลิตต่อไร่ ในภาพรวมลดลงเนื่องจากแหล่งผลิตกาแฟทางภาคใต้ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง อากาศร้อน และแห้งแล้ง กาแฟติดดอกออกผลไม่ดี

ภาคเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกาเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น จากต้นกาแฟที่ปลูกแซมในสวนยางพารา แมคคาเดเมีย และลิ้นจี่ ในจังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่ และในพื้นที่ป่าชุมชนที่ทางภาครัฐและกลุ่มสหกรณ์ผู้ผลิตกาแฟในท้องถิ่นสนับสนุนให้เกษตรกรปลูก เช่น ในจังหวัดตาก และแพร่ ตั้งแต่ปี 2554 ให้ผลผลิตเป็นปีแรก ส่วนผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคากาแฟพันธุ์อาราบิกาดีอย่างต่อเนื่อง จึงจูงใจให้เกษตรกรจึงทาการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยบารุงต้นเป็นอย่างดี

ภาคกลาง พื้นที่ปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสตาเนื้อให้ผลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในพื้นที่ อ.ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี เกษตรกรปลูกเพิ่มในพื้นที่รกร้าง ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศเอื้ออานวยต่อการติดดอกออกผล และอยู่ในช่วงอายุให้ผลผลิตสูง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มมีการปลูกกาแฟตั้งแต่ปี 2552 แหล่งผลิตอยู่ใน จ.นครราชสีมา โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.สูงเนิน เกษตรกรมีการปลูกกาแฟแซมในสวนแมคคาเดเมีย มะม่วง และขนุน ส่วนใหญ่ปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกา เริ่มให้ผลผลิตออกสู่ตลาดในปี 2556 และมีการเพิ่มของเนื้อที่ให้ผลอย่างต่อเนื่อง สาหรับผลผลิตต่อไร่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากอายุของต้นกาแฟเพิ่มขึ้นทรงพุ่มใหญ่ขึ้น

ภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสตาเนื้อที่ให้ผลลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากต้นยางพารา ปาล์มน้ามัน และทุเรียน ที่เกษตรกรปลูกแซมในสวนกาแฟโตและเริ่มให้ผลผลิตเกษตรกรจึงโค่นต้นกาแฟออก ผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากต้นกาแฟทางภาคใต้มีอายุมากและไม่ได้รับการบารุงดูแลเพราะราคาสารกาแฟตกต่าหลายปี จึงไม่จูงใจให้เกษตรกรลงทุนเพิ่ม นอกจากนี้เกษตรกรให้ความสนใจในการบารุงดูแลพืชที่นามาปลูกทดแทนมากกว่า ประกอบกับในช่วงต้นกาแฟออกดอกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 มีสภาพอากาศร้อนแห้งแล้งและฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้การออกดอกและติดผลไม่ดีเท่าที่ควร

ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟของไทยในปี 2556

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ รายงานความต้องการใช้เมล็ดกาแฟในปี 2556 ของโรงงานแปรรูปในประเทศ มีปริมาณสูงขึ้น จาก 67,628 ตัน ในปี 2555 เป็น 70,000 ตัน

ในปี 2556 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.52 เนื่องจากการบริโภคในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และคาดคะเนความต้องการใช้กาแฟของปี 2557 ว่าจะมีประมาณ 70,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.14

ปี                                 ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟของโรงงาน (ตัน)
2551                                        57,500
2552                                        53,803
2553                                        58,000
2554                                        61,480
2555                                        67,620
2556                                        70,000
อัตราเพิ่ม/ลด (ร้อยละ)                            5.06
2557*                                       70,000

หมายเหตุ * : ประมาณการ
ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

การค้า

การส่งออกกาแฟขอไทยในปี 2557 ในช่วง 7 เดือนแรก (มค. – ก.ค.) ของปี มีปริมาณ 334.95 ตัน มูลค่า 63.94 ล้านบาท สูงขึ้นจาก 248.60 ตัน มูลค่า 50.24 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 34.73 และ 27.26 ตามลำดับ สำหรับกาแฟสำเร็จรูปมีการส่งออก 1,936.81 ตัน มูลค่า 294.60 ล้านบาท สูงขึ้นจาก 845.10 ตัน มูลค่า 169.58 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 129.18 และ 73.72 ตามลำดับ และไทยนำเข้าเมล็ดกาแฟ ปริมาณ 15,617.51 ตัน มูลค่า 1,170.27 ล้านบาท ลดลงจากปริมาณ 16,504.09 ตัน และสูงขึ้นจากมูลค่า 1,167.87 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็น ร้อยละ 5.37 และ 0.20 ตามลำดับ สำหรับกาแฟสำเร็จรูปมีการนำเข้าปริมาณ 3,875.46 ตัน มูลค่า 1,155.34 ล้านบาท สูงขึ้นจาก 3,826.55 ตัน และลดลงจากมูลค่า 1,207.38 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นลดลงร้อยละ 1.27 และ 4.31 ตามลำดับ

สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ

-

กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) รายงานผลผลิตกาแฟโลกปี 2555/56 มีปริมาณ 9.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 8.64 ล้านตัน ของปี 2554/55 ร้อยละ 6.48 เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และ คาดคะเนว่าจะมีผลผลิต ในปี 2556/57 ประมาณ 9.03 ล้านตัน ลดลง 0.17 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 1.85

บราซิล ผู้ผลิตกาแฟอันดับ 1 ของโลก ในปี 2555/56 มีผลผลิต ปริมาณ 3.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.42 ล้านตัน ในปี 2554/55 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.24 และคาดคะเนว่าจะมีผลผลิต ในปี 2556/57 ประมาณ 3.19 ล้านตัน ลดลง 0.18 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 5.34 เวียดนาม ผู้ผลิตกาแฟอันดับ 2 ของโลก และเป็นผู้ผลิตกาแฟพันธุ์โรบัสตาอันดับ 1 ของโลก มีผลผลิตกาแฟปี 2555/56 ปริมาณ 1.59 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.56 ล้านตัน ในปี 2554/55 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.92 และคาดคะเนว่าจะมีผลผลิต ในปี 2556/57 ประมาณ 1.71 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.12 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.55

ความต้องการใช้กาแฟ

กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา รายงานความต้องการใช้กาแฟของโลกปี 2555/56 มี 8.53 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 8.50 ล้านตันของปี 2554/55 ร้อยละ 0.35 และคาดคะเนความต้องการใช้กาแฟของปี 2556/57 ว่าจะมีประมาณ 8.67 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.64

การส่งออก

กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา คาดคะเนการส่งออกกาแฟโลกปี 2555/56 มี 6.97 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 6.87 ล้านตัน ในปี 2554/55 ร้อยละ 1.46 ประเทศที่ส่งออกมากที่สุดได้แก่ บราซิล โดยคาดว่าจะส่งออกในปี 2555/56 ปริมาณ 1.84 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.79 ล้านตัน ของปี 2554/55 ร้อยละ 2.79 เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น รองลงมาได้แก่ ประเทศเวียดนาม คาดว่าจะส่งออก ปริมาณ 1.45 ล้านตัน ลดลงจากปี 2554/55 ร้อยละ 1.36 เนื่องจากผลผลิตลดลง

ผลผลิตกาแฟโลกปี 2551/52 -2556/57

หน่วย : ล้านตัน

ประเทศ          ปี 2551/52     ปี 2552/53     ปี 2553/54     ปี 2554/55     ปี 2555/56     อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)   ปี 2556/57*
1 บราซิล            3.198         2.688          3.27         2.952         3.366            1.98         3.186
2. เวียดนาม         1.018          1.11         1.164          1.56          1.59          13.112          1.71
3. อินโดนีเซีย          0.6          0.63         0.559         0.498          0.63          -1.366          0.57
4. โคลัมเบีย         0.519         0.486         0.511         0.459         0.595           2.185           0.6
5. เอธิโอเปีย        0.331          0.36         0.368         0.379          0.38            3.33         0.381
6. อินเดีย           0.263          0.29         0.302         0.313         0.318           4.667         0.307
7. ฮอนดูรัส          0.194         0.213         0.239         0.336         0.279          12.553           0.3
8. เม็กซิโก           0.24         0.249          0.24         0.258          0.27           2.748         0.228
9. เปรู              0.24         0.198         0.246         0.312         0.258           6.177         0.231
10. กัวเตมาลา       0.273          0.24         0.237         0.264         0.252          -0.646         0.233
19. ไทย            0.048         0.054         0.051         0.051         0.051           0.643         0.051
อื่นๆ                 1.25         1.194          1.24          1.26         1.207          -0.162         1.231
รวม                8.174         7.712          8.427        8.642         9.196           3.557         9.028

ที่มา: กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (ธันวาคม 56)

ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟของโลก

หน่วย : ล้านตัน

ปี                            ปริมาณ
2551/52                       7.48
2552/53                      8.234
2553/54                      8.027
2554/55                      8.495
2555/56                      8.532
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)              2.988
2556/57*                     8.665

ทีมา : กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (ธันวาคม 56)

ราคาตลาดในประเทศ

-ไม่มีรายงาน เนื่องจากหมดฤดูการเก็บเกี่ยว-

ราคาในตลาดต่างประเทศ มีดังนี้

ราคาเมล็ดกาแฟดิบอาราบิก้า ตลาดนิวยอร์กซื้อขายทันทีเฉลี่ย 205.87 เซนต์/ปอนด์ (145.23 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจาก 207.02 เซนต์/ปอนด์ (146.96 บาท/กิโลกรัม) ร้อยละ 0.55

ราคาเมล็ดกาแฟดิบโรบัสตา ตลาดนิวยอร์กซื้อขายทันที่เฉลี่ย 103.19 เซนต์/ปอนด์ (72.79 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจาก 104.83 เซนต์/ปอนด์ (74.42 บาท/กิโลกรัม) ร้อยละ 1.56

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 22 - 28 ก.ย. 2557--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ