สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2555 (เมษายน — มิถุนายน 2555)(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 27, 2012 15:02 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมรถยนต์ในครึ่งปีแรกของปี 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีที่แล้ว เมื่อพิจารณาในไตรมาสสองของปี 2555 ขยายตัวเช่นเดียวกัน เนื่องจาก ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ได้ฟื้นตัวจากเหตุการณ์น้ำท่วม อีกทั้งมีการเร่งการผลิตเพื่อให้ สอดคล้องกับความต้องการในประเทศมากขึ้น ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุน เช่น นโยบายรถยนต์คันแรก การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น เป็นต้น

สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 42 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 14,531.20 ล้านบาทลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2554 ร้อยละ 3.12 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 4,688 คนในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการคือ 1) โครงการผลิตท่อไอเสียและชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ ของบริษัท วาย เอส ภัณฑ์จำกัด เงินลงทุน 4,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,339 คน และ 2) โครงการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ เช่น CVT HOUSING, CYLINDER BLOCK และ TRANSMISSION CASE เป็นต้น ของบริษัท เรียวบิ ได คาสติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 3,014 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 268 คน (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2555 จาก FOURIN)

  • อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในเดือนมกราคม ปี 2555 มีปริมาณการผลิตรถยนต์5,083,984 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 18.90 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 3,701,020 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,382,964 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 21.00 และ 12.80 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกา พบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม ปี 2555 จำนวน 1,299,404 คันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.56 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั่วโลก และสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม ปี 2555 จำนวน 806,043 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.85ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั่วโลก สำหรับการจำหน่ายรถยนต์โลกในเดือนมกราคม ปี 2555มีการจำหน่ายรถยนต์ 5,425,945 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 5.80 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 4,104,595 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,321,350 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 5.70 และ 6.00 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญพบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมกราคม ปี 2555 จำนวน 1,389,788 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.61 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลก และสหรัฐอเมริกามีการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมกราคม ปี 2555 จำนวน 934,740 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.01 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลก
  • อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วง 3 เดือนของปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 4,788,937 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 2.00แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 3,770,812 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.50 และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,018,125 ลดลงร้อยละ 10.30 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 3 เดือนแรกของปี2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 4,795,421 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.90แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 3,773,679 คัน ลดลงร้อยละ 1.80 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,021,742 คัน ลดลงร้อยละ 10.80
  • อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วง 3 เดือนของปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 2,634,866 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 20.10 โดยเป็นการผลิตรถบรรทุก 1,628,457 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.50 และมีการผลิตรถยนต์ นั่ง 1,006,409 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.40 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 2 เดือนแรกของปี2555 (ม.ค.-ก.พ.) มีจำนวน 2,107,804 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 14.30แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 1,057,679 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.50 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,050,125 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.00

-อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2555 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 1,057,638 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.47 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.91,36.12 และ 92.26 ตามลำดับ ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 456,869 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.20 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) เพื่อการส่งออกร้อยละ 78.53 และการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 21.47 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซี.ซี. รองลงมาคือ รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซี.ซี. ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2555 (เม.ย.-มิ.ย.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 558,277 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 341,629 คัน ร้อยละ 63.42 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 216,870 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 331,828 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 9,557 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.01 , 54.69 และ 145.24 สาเหตุสำคัญเนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนใหญ่และโรงงานประกอบรถยนต์ได้ฟื้นตัวจากภัยพิบัติสามารถดำเนินการผลิตได้ตามปกติ สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในไตรมาสที่สองของปี 2555 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 236,148 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 42.55 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยเป็นรถยนต์นั่ง 53,921 คัน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 22.83 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(รวมรถยนต์ PPV) 182,227 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.17 หากพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.80 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.44 แต่ปริมาณการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 4.67และ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 1.62

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2555(ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 605,475 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.15 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ PPV รวม SUV รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์นั่งและ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.72, 47.79, 32.63 และ 31.75 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของ ปี 2555 (เม.ย.-มิ.ย.) มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 327,099 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 193,393 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.14หากแยกตามประเภทรถยนต์ มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 101,652 คัน รถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 20,059 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 134,132 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 17,902 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.55, 68.18, 62.88 และ 51.57 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.50 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.49 และ 4.72ตามลำดับ แต่การจำหน่าย รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) กลับลดลงร้อยละ 3.84 และ 0.40 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2555 (ม.ค.-มิ.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 456,869 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.96 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 217,083.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 2554 ร้อยละ 23.08 เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สองของ ปี 2555(เม.ย.-มิ.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 236,148 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 166,498 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.83 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 114,319.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 74,157.93 ล้านบาท ร้อยละ 54.14 หากพิจารณาในไตรมาสที่สองของ ปี2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.99 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.24

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2555 มีมูลค่า 55,497.21ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 42.18 เนื่องจากการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 49.46 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 34.54, 14.22 และ 13.89 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.88 และ 12.94 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2555มีมูลค่า 9,471.20 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 87.18 เนื่องจากประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ เช่น ซาอุดีอาระเบีย มีมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 88.08 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2555 มีมูลค่า 148,782.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 856.52 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 23.66, 11.35 และ 6.06 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ ซาอุดิอาระเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1882.91, 319.32และ 242.73 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2555 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 23,643.91 และ 13,804.75ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2554 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.80 และ 30.09 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองปี 2555 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 12,425.52และ 6,286.41 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90.43 และ 43.08 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.76 แต่การนำเข้ารถโดยสารและรถบรรทุกลดลง ร้อยละ 16.39 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 ได้แก่ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 37.05, 28.71 และ 17.10 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเยอรมนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 259.33, 155.85 และ 1.58 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 62.06, 11.79 และ 6.37 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่นเกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.86, 19.04 และ 124.66 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในครึ่งแรกของปี 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์สามารถกลับมาดำเนินการผลิตได้ตามปกติ ประกอบกับความต้องการรถยนต์ภายในประเทศที่มีมากขึ้น

หากพิจารณาอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สองของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2555 ขยายตัว เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมรถยนต์สามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ โดยมีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการรถยนต์ ภายในประเทศ ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายรถยนต์คันแรก และการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น สำหรับการส่งออกขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่ 3/2555 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถยนต์ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่สามปี 2555 จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 6 แสนคันแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 45-50 เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์มีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าภายในประเทศเป็นหลัก รวมทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายระยะเวลาของนโยบายรถยนต์คันแรก อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบสภาวะเศรษฐกิจยุโรปและความผันผวนของราคาพลังงาน

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2555 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 1,344,799 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 1,167,592 คัน ร้อยละ 15.18 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 1,217,017 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 127,782 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.63 และ 46.83 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2555 มีจำนวน 659,777 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 593,934 คัน ร้อยละ 11.09 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 596,487 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 63,290 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.29และ 46.81 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 3.69 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 3.87 และ 1.83 ตามลำดับ

การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในครึ่งปีแรกของปี 2555 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 1,106,024 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 1,080,906 คัน ร้อยละ 2.32 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 516,383 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.44 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 550,111 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.08 และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 39,530 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.21 ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสที่สองของปี 2555 มีจำนวน 586,245 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 559,828 คัน ร้อยละ 4.75 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 274,173 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.28 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 290,468 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.82 และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 21,784 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.22 หากพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2555 เปรียบเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.86 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.20, 11.87 และ22.75 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2555 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 426,402 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 172,313 คัน และ CKD จำนวน 254,089 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2554 ลดลงร้อยละ 23.02 คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) มีมูลค่า 14,897.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 3.41 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2555จำนวน 198,022 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 82,421 คัน และ CKD จำนวน 115,601 ชุด)ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 294,494 คัน ร้อยละ 32.76 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์มีมูลค่า 7,135.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 6,024.71 ล้านบาท ร้อยละ 18.43 หากพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2555 เปรียบเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมามีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 13.29 และมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 8.07

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2555 มีมูลค่า 16,955.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 68.76 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 23.90, 15.93 และ 13.57 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 191.38, 46.97 และ 67.45 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2555 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 1,630.74 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 160.64 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2555 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 958.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 300.83 ล้านบาท ร้อยละ 218.73 หากพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.71 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 ได้แก่เวียดนาม และ แอฟริกาใต้ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 32.05 และ 20.84 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์เวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 365.73

สรุปและแนวโน้ม รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในครึ่งปีแรกของปี 2555 การผลิตขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ต้องการเร่งการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหลังจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ประกอบกับมีการเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่ 3/2555 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่าน โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ ประมาณการว่าในไตรมาสที่สามปี 2555 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 6.5 แสนคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 85-90 และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 10-15

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2555 ( ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 79,508.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2554 ร้อยละ 18.98 การส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า 14,595.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2554 ร้อยละ 17.19 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มีมูลค่า 9,625.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2554 ร้อยละ 23.18เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2555 มีมูลค่า 42,645.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 40.92 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 7,713.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 40.43 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 4,971.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 23.47 หากพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.69, 12.09 และ 6.81 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 มีมูลค่า 105,276.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 35.27 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซียคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.12, 13.83 และ 10.42 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.21, 45.68และ 40.61 ตามลำดับ

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2555 (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 5,827.93 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2554 ลดลงร้อยละ 5.90 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 366.00 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.55 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2555 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 2,709.06 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 17.84 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 194.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 15.07 หากพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2555 เปรียบเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ลดลง ร้อยละ 15.13แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.94

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555มีมูลค่า 11,662.08 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 14.35 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.78, 13.90 และ 12.20 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.00 แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปเวียดนาม และ อินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 34.87 และ 5.66 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 มีมูลค่า 124,209.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 34.54 หากพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2555 เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 59.96 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2555 พบว่ามูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.80แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่นจีน และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 61.17, 7.16 และ 4.32 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.40, 79.08และ 54.71 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 มีมูลค่า 8,123.40 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.63 หากพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2555 เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 38.96 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2555 พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 3.39 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 38.95, 17.38 และ 11.42 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากจีน และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.44 และ 71.49 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 10.91

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

  • เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการงดรับจดทะเบียนรถที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถที่ใช้แล้ว พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยมีสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง คือ กำหนดให้งดรับจดทะเบียนรถที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถที่ใช้แล้วในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่นทุกจังหวัด ดังนี้ 1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 12 คน 3. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 4. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaigov.go.th)
  • เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ตัวถังของรถยนต์นั่งที่ใช้แล้วและโครงรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้ว เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาโดยมีสาระสำ คัญของร่างประกาศ เป็นการกำ หนดให้ตัวถังรถยนต์นั่งที่ใช้แล้วและโครงรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร แต่มิให้ใช้บังคับในกรณีการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเข้ามาเพื่อเป็นต้นแบบในการผลิตหรือการศึกษาวิจัยในปริมาณเท่าที่จำเป็น (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaigov.go.th)
  • เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยมีสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา ดังนี้

1) ให้ใช้บังคับร่างพระราชกฤษฎีกานี้เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2) ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547 และกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 2540-2554

  • เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยมีสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา ดังนี้

1) ให้ใช้บังคับร่างพระราชกฤษฎีกานี้เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2) ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547 และกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก.2550-2554

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ