สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2558 (เมษายน - มิถุนายน 2558)(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 23, 2015 15:10 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่2ปี 2558 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวประกอบกับราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ หนี้ในภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการบางรายอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนรุ่นของรถยนต์

สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี2558 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 47 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวมกว่า 25,806.20ล้านบาท

ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3,663 คนในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 5โครงการ คือ 1) โครงการของบริษัท แมกน่า ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัดได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนโลหะขึ้นรูปและชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ เช่น CROSSS MEMBER และ FLOOR PANEL REMFRECEMENT ASSY เป็นต้น มีเงินลงทุน 1,655.30ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 195 คน 2) โครงการของบริษัท โยโรซึ (ไทยแลนด์) จำกัดได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ เช่น ปีกนก เพลาหลังและโครงจับยึด เครื่องยนต์ เป็นต้นมีเงินลงทุน 1,520.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน

ไทย 158 คน 3) โครงการของบริษัท ฮิตาชิ ออโตโมทีฟ ซิสเท็มส์ เอเชีย จำกัดได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เช่น โครงสำหรับแม่ปั๊ม น้ำมันเบรกและโครงสำหรับเบรกก้ามปู เป็นต้นมีเงินลงทุน 1,000.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 125 คน 4)โครงการของบริษัท นาชิ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัดได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เช่น BALL BEARING เป็นต้น มีเงินลงทุน 1,246.40ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 81 คน และ 5) โครงการของบริษัท เอ็นจีเค เซรามิกส์ ไทยแลนด์ จำกัดได้รับการส่งเสริมให้ผลิต SUBSTRATE สำหรับ CATALYTIC CONVERTER มีเงินลงทุน 10,700.00ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 610คน(รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2558(เม.ย.-มิ.ย.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์410,711คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์434,613คัน ลดลงร้อยละ 5.50โดยเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์218,040 คัน ลดลง ร้อยละ 17.66 แต่มีการผลิตรถยนต์นั่ง 185,660คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 7,011 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.48 และ 114.34 ตามลำดับ สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 247,594คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.28ของปริมาณการผลิตทั้งหมดโดยแบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 116,039คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.87และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์131,555คันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.13หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 21.59 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ1 ตันและอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ11.35,28.88 และ 9.54 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 (เม.ย.-มิ.ย.)มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 171,322 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 216,740 คัน ลดลงร้อยละ 20.96โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 79,035 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 78,805 คันและรถยนต์PPV (รวมรถยนต์ SUV) 22,188 คัน ลดลงร้อยละ 15.41, 11.33 และ 2.26 ตามลำดับแต่มีการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 12,096 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.09หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 13.38โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันลดลงร้อยละ 7.10แต่การจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV(รวมรถยนต์ SUV) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.08, 1.31และ 0.64 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 (เม.ย.-มิ.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 247,841 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 268,538คัน ลดลงร้อยละ 7.71 โดยมีมูลค่าการส่งออก 117,801.55 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์128,284.30 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.17หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 24.49 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ19.80

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 มีมูลค่า3,182.44 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.90ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.15, 15.38 และ 8.26 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลียและฟิลิปปินส์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.01 และ 14.60 ตามลำดับแต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปอินโดนีเซียมีมูลค่าลดลงร้อยละ28.60

มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 มีมูลค่า 215.65ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ3.99 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซียและออสเตรเลียคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ58.16, 14.71 และ 8.88 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.51แต่การส่งออกรถแวนและรถปิกอัพไปอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย ลดลงร้อยละ 35.55 และ 25.31 ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 มีมูลค่า 4,804.37ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ6.29 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และนิวซีแลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 28.22, 11.93 และ 5.25 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ18.25 และ 22.20 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปซาอุดิอาระเบียมีมูลค่าลดลงร้อยละ 4.48

การนำเข้าจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่าการนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 (เม.ย.-มิ.ย.)มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 267.18และ83.19ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 19.40 และ 16.04 ตามลำดับหากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.85 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 45.91

มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 มีมูลค่า484.66และ 236.98 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 32.99แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.90แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 ได้แก่ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 25.68, 22.06 และ 17.87 ตามลำดับโดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่น มาเลเซีย และเยอรมนีลดลงร้อยละ 9.54, 26.73 และ 18.68ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซียและจีน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 23.39, 18.89 และ 15.64 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 10.36 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากอินโดนีเซียและจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.36 และ 42.61ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 มีปริมาณการผลิตชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว ประกอบกับราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ หนี้ในภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการบางรายอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนรุ่นของรถยนต์

สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่3 ของปี 2558 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาโดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถยนต์ ประมาณว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2558จะมีการผลิตรถยนต์กว่า444,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 55สำหรับประมาณการของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2558 จากข้อมูลของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 2,050,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.04 โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 850,000 คัน ลดลงร้อยละ 3.58 และเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 1,200,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.37

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิตปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 (เม.ย.-มิ.ย.) มีจำนวน 432,597คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 469,604 คัน ลดลงร้อยละ 7.88โดยแบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 343,422 คัน ลดลงร้อยละ 9.81 แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 89,175 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ0.37 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมามีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 19.43 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ18.93 และ 21.28ตามลำดับ

การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 (เม.ย.-มิ.ย.) มีจำนวน 423,777คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์445,953 คัน ลดลงร้อยละ 4.97แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 212,759 คัน ลดลงร้อยละ 5.30 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 152,357คัน ลดลงร้อยละ 11.87 แต่การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 58,661คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.14หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 11.52โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ12.04, 11.19และ 10.46 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 (เม.ย.-มิ.ย.) จำนวน 234,005คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 93,320 คัน และ CKD จำนวน 140,685 ชุด)เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 216,561 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.06หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 11,254.00ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนซึ่งมีมูลค่า11,607.96ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.05 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 11.45หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 19.92

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 มีมูลค่า มูลค่า 672.05 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.81 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 15.93, 13.30 และ 9.03 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.26, 7.03 และ 41.84 ตามลำดับ

การนำเข้าจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 53.36 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.81 หากพิจารณาจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.07

มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 มีมูลค่า101.39 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 65.68 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.37 เมื่อพิจารณาแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 ได้แก่เวียดนามอินโดนีเซียและญี่ปุ่นคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 42.19, 29.39และ 11.84 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเวียดนาม อินโดนีเซียและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.99, 984.86 และ 6.45ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 2ของปี 2558การผลิตรถจักรยานยนต์ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเนื่องจากการลดลงจากความต้องการของตลาดในประเทศอย่างไรก็ดีตลาดส่งออกมีการขยายตัว

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่3 ของปี 2558 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาโดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่3 ปี 2558จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 436,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 (เม.ย.-มิ.ย.) มีมูลค่า 47,426.60 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.27 ส่วนการส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 6,932.00 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.24 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 5,555.03 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.62 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และเครื่องยนต์ ลดลงร้อยละ 1.75 และ 3.72ตามลำดับส่วนชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ4.93

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 มีมูลค่า 4,027.56ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ4.71ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่นมาเลเซีย และอินโดนีเซียคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 12.72,11.75และ 10.47 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่นและมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.93 และ 1.11ตามลำดับแต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซียลดลงร้อยละ15.56

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 (เม.ย.-มิ.ย.)มีมูลค่า735.68 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 42.44 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 321.62 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ42.88หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ลดลงร้อยละ 29.71 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.62

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 มีมูลค่า 321.35ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ9.53ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่กัมพูชาบราซิล และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ19.65, 18.96 และ 9.27 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ24.29แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ไปบราซิลและอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 2.96และ 22.60 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 (เม.ย.-มิ.ย.) มีมูลค่า 2,176.34 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ0.44 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 4.99

มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 มีมูลค่า 4,466.95ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 1.34แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 39.12, 16.42 และ 6.11 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 9.60 แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากจีนและสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.32และ 7.80 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 (เม.ย.-มิ.ย.)มีมูลค่า 125.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.62หากพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ18.83

มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 มีมูลค่า 280.16ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ10.24แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ24.26, 18.54 และ 10.61 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯจากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 8.67แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯจากจีน และเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.25และ 5.14 ตามลำดับ

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการโครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสนอ โดยมีวงเงินงบประมาณ 4,500 ล้านบาท กำหนดระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2558-พ.ศ. 2562) ศูนย์ทดสอบฯ ใช้พื้นที่ประมาณ 1,200 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยสามารถทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วน และยางล้อได้เองในประเทศ รวมทั้งเป็นผู้นำด้านการทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ฯ และเพื่อส่งเสริมการลงทุนให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทย สำหรับศูนย์ทดสอบฯ สามารถทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ ดังนี้ (1) ยางล้อตามมาตรฐาน UN R117(2) ยางล้อทุกประเภท ตามมาตรฐานสากลและมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และ (3) ยานยนต์และชิ้นส่วนตามมาตรฐานสากลและมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง(ที่มา : www.thaigov.go.th)

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ