สถานการณ์ราคาน้ำมันประจำสัปดาห์ และแนวโน้มในสัปดาห์นี้ ที่ 20 มิ.ย. — 24 มิ.ย. 54

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 20, 2011 15:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 มิ.ย.--ปตท. ฝ่ายบริหารความเสี่ยงราคาและวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันว่า ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ 13-17 มิ.ย. 54 ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 1.59 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 115.90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ น้ำมันดิบเวสเท็กซัส (WTI) ลดลง 4.12 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลอยู่ที่ 95.89 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.04 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ระดับ 110.03 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลง 1.30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 121.69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 0.06 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 129.31 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคา ได้แก่ ผลกระทบต่อราคาน้ำมันในเชิงลบ - Reuters รายงานซาอุดีอาระเบียปรับเพิ่มปริมาณการผลิตในเดือน มิ.ย. 54 อยู่ที่ 9.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากที่ประกาศก่อนหน้านี้ว่าจะผลิต 9.5-9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน - Standard & Poor's ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของกรีซมาอยู่ที่ระดับ CCC ซึ่งต่ำที่สุดในโลก (ต่ำกว่าปากีสถานและเอกวาดอร์) วันที่ 16 มิ.ย. 54 ราคาพันธบัตรกรีซร่วงลงสู่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ต้นทุนการรับประกันหนี้ของกรีซระยะ 5 ปีพุ่งขึ้นสู่ระดับ 19% ซึ่งสูงที่สุดในโลก - University of Michigan รายงานดัชนีความรู้สึกของผู้บริโภคสหรัฐฯ (Consumer Sentiment - Overall) เดือน มิ.ย. 54 ลดลง 2.5 จุด จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 71.8 จุด ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 74.0 จุดดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ (Core CPI: Consumer Price Index - ไม่รวมอาหารและพลังงาน) ในเดือน พ.ค. 54 เพิ่มขึ้น 0.3% เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี (เดือน เม.ย. 54 เพิ่มขึ้น 0.2%) - ธนาคารกลางจีน ปรับเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ 0.5% มาอยู่ที่ 21.5% มีผลบังคับใช้วันที่ 20 มิ.ย. 54 เป็นการปรับเพิ่มครั้งที่ 9 ตั้งแต่ ต.ค. 53 - 16 มิ.ย. ธนาคารกลางอินเดีย ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในประเทศ (Repo Rate) 0.5% มาอยู่ที่ 7.5% ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มครั้งที่ 10 ในรอบ 1 ปี เพื่อลดอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่สูงขึ้นถึงระดับ 9.4% ผลกระทบต่อราคาน้ำมันในเชิงบวก - ปริมาณผลิตน้ำมันดิบจากทะเลเหนือในเดือน ก.ค. 54 ลดลง 9% จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 1.67 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากปัญหาทางเทคนิคบริเวณแหล่ง Buzzard - 12 มิ.ย. Shell ไนจีเรียประกาศ Force Majeure การส่งออกน้ำมันดิบ Bonny Light ในเดือน มิ.ย. และ ก.ค. 54 ปริมาณ 2.4 แสนบาร์เรลต่อวัน และ 2 แสนบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ หลังจากท่อขนส่ง Trans-Niger เกิดเพลิงไหม้จากการรั่วไหล - International Energy Agency (IEA) ในเดือน มิ.ย. 54 คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันของโลกในปี 54 เพิ่มขึ้น 1 หมื่นบาร์เรลต่อวัน จากคาดการณ์ในเดือน พ.ค. 54 อยู่ที่ 89.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน - Energy Information Administration (EIA) ของสหรัฐฯ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 มิ.ย. 54 ลดลง 3.41 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 365.6 ล้านบาร์เรล และ Distillates ลดลง 0.1 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 140.8 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ปริมาณสำรอง Gasoline เพิ่มขึ้น 0.6 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 215.1 ล้านบาร์เรล - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 มิ.ย. 54 ลดลง 16,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 414,000 ราย ในระยะสั้นราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI มีแนวรับแนวต้านอยู่ที่ 108-118 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลและ 88-98 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลตามลำดับ วันที่ 18 มิ.ย. สายการบิน SAA ระงับเทียวบินระหว่าง Johannesburg ประเทศอัฟริกาใต้ - London ประเทศอังกฤษ ทั้งหมด เนื่องจากเถ้าภูเขาไฟ Puyehue ในชิลี และ แรงกดดันทางเศรษฐกิจจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป และภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม Emerging Market อาทิ อินเดียและจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้บริโภคน้ำมันที่สำคัญ ใช้นโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้น ซึ่งส่งผลลบต่อราคาน้ำมัน นอกจากนี้วิกฤติหนี้สาธารณะของกรีซทำให้ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงลดลง และ Moody's Investors Service เตือนอาจปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 3 ของ Euro Zone อีกทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง จากปัญหาทางเศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ โดย IMF คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกและสหรัฐฯ ปี 2554 อยู่ที่ 4.3% และ 2.5%ตามลำดับ ประกอบกับสถานการณ์ภูเขาไฟระเบิดในชิลี ทำให้สายการบิน SAA ที่จะเดินทางเข้าออกจากสนามบิน Cape Town, Port Elizabeth, และ East London ต้องหยุดดำเนินการ อย่างไรก็ตาม IEA ประมาณการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในระยะ 5 ปีข้างหน้า (2553-2558) จะเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือ 1.3% และการบริโภคน้ำมันจะเพิ่มสู่ระดับ 95.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2559 โดยความต้องการกว่า 40% มาจากจีน ทั้งนี้ให้ติดตามทิศทางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และของโลก ได้แก่ การประชุมนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ระหว่างวันที่ 21-22 มิ.ย. และการประชุมสุดยอดที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ระหว่างวันที่ 23-24 มิ.ย. นี้ ว่าจะมีวาระความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซหรือไม่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โทร. 0 2537-1630 โทรสาร 0 2537-2171

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ