ผลกระทบของการปรับราคาขายปลีก LPG ต่อระบบเศรษฐกิจ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 10, 2014 16:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 มิ.ย.--มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลงานวิจัยเรื่อง "การวิเคราะห์ผลกระทบของการปรับราคาขายปลีก LPG ต่อระบบเศรษฐกิจด้วยแบบจำลอง CGE” ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากนโยบายของรัฐบาลที่มีเป้าหมายในการปรับราคาขายปลีก LPG ภาคครัวเรือน และภาคขนส่ง ให้เป็น 24.83 บาท/กก. โดยใช้แบบจำลอง Computable general equilibrium (CGE model) หรือแบบจำลองคำนวณดุลยภาพทุกส่วน ในส่วนแรกจะเป็นการวิเคราะห์ว่าหลังจากที่มีการปรับราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 จนถึงปัจจุบันซึ่งทำให้ราคาขายปลีกเพิ่มขึ้นจาก 18.13 บาท/กก. เป็น 22.63 บาท/กก. นั้นจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในปี 2557 อย่างไรบ้าง สำหรับในส่วนที่ 2 จะเป็นการวิเคราะห์ว่าหลังจากนี้หากมีการปรับราคาขายปลีก LPG ในภาคครัวเรือนและภาคขนส่งเป็น 24.83 บาท/กก. เศรษฐกิจในปี 2558 จะได้รับผลกระทบต่อเนื่องอย่างไรบ้าง ในส่วนแรกผลของการปรับราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มขึ้นจาก 18.13 บาท/กก. เป็น 22.63 บาท/กก. ต่อเศรษฐกิจปี 2557 สรุปได้ดังนี้ GDP ณ ราคาคงที่ จะลดลง 0.03% จากแนวโน้มเดิม (เช่น ถ้าคาดว่า เศรษฐกิจปี 2557 จะโต 3.00% ด้วยผลของการปรับราคาก๊าซหุงต้ม เศรษฐกิจปี 2557 จะโต 2.97%) ขณะที่GDP ที่เป็นตัวเงิน เพิ่มขึ้น 0.04% (หรือเพิ่มขึ้น 4,760 ล้านบาท) ดัชนีราคาผู้บริโภคหรืออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.09% การบริโภคครัวเรือน ณ ราคาคงที่ ลดลง 0.13% การบริโภคครัวเรือนที่เป็นตัวเงินลดลง 0.04% (หรือลดลง 2,593 ล้านบาท) อรรถประโยชน์หรือความพอใจครัวเรือนลดลง 0.39% ชั่วโมงการจ้างงานลดลง 0.05% ปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มของครัวเรือนลดลง 18.45% ปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มของภาคบริการลดลง 22.03% การนำเข้า LPG ลดลง 5.92% (อัตราการนำเข้า LPG มีแนวโน้มจะลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ปี) การใช้ไฟฟ้าของภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 3.04% และการใช้ถ่านและฟืนของครัวเรือนเพิ่มขึ้น 1.90% สาขาเศรษฐกิจที่ได้ประโยชน์จากนโยบาย 5 อันดับแรก ได้แก่ ฟืนและถ่าน ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ป่าไม้และผลิตภัณฑ์จากป่า และโรงแยกก๊าซและโรงกลั่นน้ำมัน ขณะที่สาขาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบทางลบจากนโยบายมากที่สุด ได้แก่ ค้าปลีก (โดยเฉพาะค้าปลีกก๊าซหุงต้ม) และภาคบริการ (โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร) ผลของการปรับราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มขึ้นจาก 18.13 บาท/กก. เป็น 22.63 บาท/กก. ต่อเศรษฐกิจปี 2557 ตัวชี้วัดเศรษฐกิจ %การเปลี่ยนแปลงจากแนวโน้มเดิม GDPณ ราคาคงที่(Real GDP) -0.03 GDPที่เป็นตัวเงิน(Nominal GDP) +0.04 ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI) +0.09 การบริโภคครัวเรือนณ ราคาคงที่ -0.13 การบริโภคครัวเรือนที่เป็นตัวเงิน -0.04 อรรถประโยชน์ครัวเรือน(Utility) -0.39 ชั่วโมงการจ้างงานเฉลี่ย -0.05 ปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มของครัวเรือน -18.45 ปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มของภาคบริการ -22.03 การนำเข้าLPG -5.92 การใช้ไฟฟ้าของภาครัวเรือน +3.04% การใช้ถ่านและฟืนของครัวเรือน +1.90 สาขาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากสุดต่อผลตอบแทนจากการลงทุนจากแนวโน้มเดิม ในปี 2557 จากการปรับราคาก๊าซหุงต้ม อุตสาหกรรมที่ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมที่ได้ผลตอบแทนลดลง ฟืนและถ่าน ค้าปลีก(โดยเฉพาะค้าปลีกก๊าซหุงต้ม) ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ภาคบริการ(โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร) ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ป่าไม้และผลิตภัณฑ์จากป่า โรงแยกก๊าซและโรงกลั่นน้ำมัน ผลของการปรับราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มขึ้นจาก 22.63 บาท/กก. เป็น 28.43 บาท/กก. และ ราคาขายปลีก LPG ภาคขนส่ง ขึ้นจาก 21.38 บาท/กก. เป็น 28.43 บาท/กก. ต่อเศรษฐกิจปี 2558 ตัวชี้วัดเศรษฐกิจ %การเปลี่ยนแปลงจากแนวโน้มเดิม GDPณ ราคาคงที่(Real GDP) -0.009 GDPที่เป็นตัวเงิน(Nominal GDP) +0.007 ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI) +0.03 การบริโภคครัวเรือนณ ราคาคงที่ -0.08 การบริโภคครัวเรือนที่เป็นตัวเงิน -0.05 อรรถประโยชน์ครัวเรือน(Utility) -0.24 ชั่วโมงการจ้างงานเฉลี่ย -0.01 ปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มของครัวเรือน -8.65 ปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มของภาคบริการ -10.40 ปริมาณการใช้LPGของภาคขนส่งทางถนน -16.98 ปริมาณการใช้LPGของรถยนต์ส่วนตัว -18.71 การนำเข้าLPG -5.84 การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน +1.31 การใช้ถ่านและฟืนของครัวเรือน +0.87 การใช้เชื้อเพลิงของภาคขนส่งทางถนน -0.48 การใช้เชื้อเพลิงของรถยนต์ส่วนตัว -0.13 สาขาเศรษฐกิจที่จะได้รับผลกระทบมากสุดต่อผลตอบแทนจากการลงทุนจากแนวโน้มเดิม ในปี 2558 หากปรับราคา LPG ตามเป้าที่ 28.43 บาท/กก. อุตสาหกรรมที่ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมที่ได้ผลตอบแทนลดลง ฟืนและถ่าน ค้าปลีก(โดยเฉพาะค้าปลีกLPG) ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ขนส่งทางถนน ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ภาคบริการ(โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร) โรงแยกก๊าซและโรงกลั่นน้ำมัน ไบโอดีเซลและเอทานอล ในส่วนที่ 2 คาดการณ์ผลของนโยบายปรับราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มขึ้นจาก 22.63 บาท/กก. เป็น 28.43 บาท/กก. และ ราคาขายปลีก LPG ภาคขนส่ง ขึ้นจาก 21.38 บาท/กก. เป็น 28.43 บาท/กก. ต่อเศรษฐกิจปี 2558 สรุปได้ดังนี้ GDP ณ ราคาคงที่ จะลดลงเพียง 0.009% จากแนวโน้มเดิม GDP ที่เป็นตัวเงิน เพิ่มขึ้น 0.007% (หรือ 833 ล้านบาท) ดัชนีราคาผู้บริโภคหรืออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.03% การบริโภคครัวเรือน ณ ราคาคงที่ ลดลง 0.08% การบริโภคครัวเรือนที่เป็นตัวเงินลดลง 0.05% % (หรือ 3,238 ล้านบาท) อรรถประโยชน์หรือความพอใจครัวเรือนลดลง 0.24% ชั่วโมงการจ้างงานลดลง 0.01% ปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มของครัวเรือนลดลง 8.65% ปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มของภาคบริการลดลง 10.40% การนำเข้า LPG ลดลง 5.84% การใช้ไฟฟ้าของภาครัวเรือนเพิ่มขึ้น 1.31% การใช้ถ่านและฟืนของครัวเรือนเพิ่มขึ้น 0.87% การใช้เชื้อเพลิงของภาคขนส่งทางถนนลดลง 0.48% และการใช้เชื้อเพลิงของรถยนต์ส่วนตัวลดลง 0.13% สาขาเศรษฐกิจที่ได้ประโยชน์จากนโยบาย 5 อันดับแรก ได้แก่ ฟืนและถ่าน ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โรงแยกก๊าซและโรงกลั่นน้ำมัน และไบโอดีเซลและเอทานอล ขณะที่สาขาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบทางลบจากนโยบาย 3 อันดับแรก ได้แก่ ค้าปลีก (โดยเฉพาะค้าปลีก LPG) ขนส่งทางบก และภาคบริการ (โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร) สรุป: การปรับราคาขายปลีก LPG จะส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคเพียงเล็กน้อย โดยการเติบโตของเศรษฐกิจที่แท้จริงและการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนลดลง รวมถึงชั่วโมงการจ้างงานโดยเฉลี่ยลดลง เนื่องจากเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้อรรถประโยชน์หรือความสุขของครัวเรือนลดลง ดังนั้นการที่รัฐมีมาตรการช่วยเหลือครัวเรือนรายได้น้อยและกลุ่มร้านค้า หาบเร่ แผงลอยในการใช้ก๊าซหุงต้มราคาถูกจึงเป็นมาตรการที่บรรเทาผลกระทบที่ตรงจุดเนื่องจากเป็นกลุ่มที่อ่อนไหวต่ออัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ในส่วนของระดับจุลภาคพบว่า ปริมาณการใช้ LPG ของครัวเรือน ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจขนส่งทางถนน ลดลง ส่งผลต่อเนื่องให้การใช้พลังงานในภาคขนส่งลดลง การนำเข้า LPG มีแนวโน้มปรับตัวลดลง ขณะเดียวกันก็มีการหันไปใช้พลังงานอื่นๆ เช่น ถ่านและฟืน ไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูปอื่นๆ ข้อเสนอแนะ: กองทุนน้ำมันมีประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพราคาพลังงานในประเทศไม่ให้ผันผวนสูง แต่ไม่ควรใช้เพื่อการบิดเบือนกลไกราคาพลังงานมากเกินไปซึ่งในท้ายที่สุดจะเกิดปัญหาสะสมตามมาและแก้ไขได้ยากในภายหลัง ดังนั้นรัฐบาลควรมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สอดคล้องกับราคาตลาดโลกและโครงสร้างภาษีเชื้อเพลิงที่เหมาะสม รวมถึงสอดคล้องกับการส่งเสริมพลังงานทดแทนต่างๆ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ