บ.บุ๊คโดส จำกัด พัฒนาระบบ “อี-ไลบรารี่” ให้กับ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) พร้อมคอนเทนท์เต็มรูปแบบเจ้าแรกเจ้าเดียวในประเทศไทย

ข่าวเทคโนโลยี Thursday October 2, 2014 19:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 ต.ค.--Notable Bangkok บ.บุ๊คโดส จำกัด พัฒนาระบบ “อี-ไลบรารี่” ให้กับ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) พร้อมคอนเทนท์เต็มรูปแบบ ได้แก่ เครืออัมรินทร์ เอเชียบุ๊ค และนานมีบุ๊ค ซึ่งเป็นแหล่งหนังสือรายใหญ่ครั้งแรกในประเทศไทย เจ้าแรกและเจ้าเดียวในประเทศไทย ที่สามารถตอบ โจทย์การเป็นองค์แห่งการเรียนรู้ การนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ลดการใช้กระดาษ สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นิรัตน์ คมขำ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แอพพลิเคชั่น (Application Creative Director) เผยว่า ปัจจุบันเรามีอุปกรณ์และเครื่องมือในการเรียนการสอนและการค้นคว้าหาความรู้มากมาย ประกอบกับเทรนด์ใหม่ของระบบไอทีและคอนเทนท์ หรือเนื้อหาที่นำเสนอผู้อ่านขณะนี้กำลังจะเข้าสู่ยุค “Reading Device” การอ่านที่ต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น iPad Kindle Tablet ที่จะพัฒนาให้เป็นมิตรกับการอ่านมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีมาเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ให้มาอยู่ในมือของเราด้วยระบบ “อี-ไลบรารี่” หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่จะรวบรวมทุกอย่างมาเก็บไว้ และไม่ว่าเราจะอยู่สถานที่ใดก็สามารถดาวน์โหลดหนังสือมาอ่านได้แค่คลิกเดียว กิตติพจน์ ประวาลปัทม์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ (Project Management Director) กล่าวเสริมว่า บ.บุ๊คโดส จำกัด ได้พัฒนาระบบ “อี-ไลบรารี่” เพื่อทำให้การอ่านสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกที่โดยยึดคอนเซ็ปต์ว่า “Smart Reading Everywhere” โดยระบบ “อี-ไลบรารี่” องค์กรจะเป็นผู้ซื้อซอฟแวร์และแอพพลิเคชั่นที่เป็นชื่อขององค์กรเอง พร้อมด้วยคอนเทนท์มากมาย เช่น อีบุ๊คและอีแมกกาซีน ที่ได้รับสิทธิ์ในการเผยแพร่จากสำนักพิมพ์ ระบบ “อี-ไลบรารี่” หรือระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ แค่ใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ด้วยการจับทุกสิ่งทุกอย่างลงไปในเว็บเบส แล้วสร้างแอพพลิเคชั่นขึ้นมาสำหรับองค์กรนั้นๆ เป็นต้น ต่อไปนี้องค์กรไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ในการสร้างห้องสมุดหนังสือจริงเหมือนเมื่อก่อนแล้ว เกียรติขจร วรปรัชญา ผู้อำนวยการจัดการข้อมูล (Content Solution Director) กล่าวว่า ล่าสุด บ.บุ๊คโดส จำกัด พัฒนาระบบ “อี-ไลบรารี่” ให้กับ บริษัท ป ต ท.สำรวจ และ ผลิต ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) พร้อมคอนเทนท์เต็มรูปแบบ ปตท.สผ เป็นบริษัทผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่มีพนักงานอยู่ตามแท่นขุดเจาะทั่วโลก ที่ต้องการอ่านหนังสือแต่ละวัน แม้จะมีห้องสมุดส่วนกลางแล้วก็ไม่สามารถสร้างสังคมการอ่านได้จริง เพราะมีข้อจำกัดด้านการขนส่งไปยังแท่นขุดเจาะที่มีค่าใช้จ่ายสูง แต่พอวางระบบ“อี-ไลบรารี่” แล้วพนักงานสามารถโหลด อี-บุ๊ค หรือ อี-แมกกาซีน เล่มนั้นบนแอพ “อี-ไลบรารี่” ของบริษัท มาอ่านได้ทันทีที่ต้นฉบับวางแผงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ประหยัดค่าขนส่ง และรวดเร็วทันทีที่ดาวน์โหลดมาอ่าน บ.บุ๊คโดส จำกัด เป็น ผู้ผลิตระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์เจ้าแรกและเจ้าเดียวในประเทศไทยที่ได้รับสิทธิ์เผยแพร่คอนเทนท์จากสำนักพิมพ์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ เครืออัมรินทร์ เอเชียบุ๊ค และนานมีบุ๊ค ซึ่งเป็นแหล่งหนังสือรายใหญ่ โดยเฉพาะ อี-บุ๊ค ที่มีจำนวนมาก ทำให้คอนเทนท์เพียงพอต่อความต้องการของคนในองค์กรไม่ว่าจะเป็นหมวดแม่และเด็ก เทคโนโลยี นิตยสารและหนังสือพิมพ์ ตอบโจทก์การเป็นองค์แห่งการเรียนรู้ การนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ลดการใช้กระดาษ สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง สำหรับองค์กรสมัยใหม่เรียนรู้เรื่องการพัฒนาคอนเทนท์ให้อยู่ในรูปแบบของ อี-บุ๊ค ที่ทันสมัย เพื่อประชาสัมพันธ์องค์กรด้วย โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ที่มีพนักงานมาก แทนที่จะพิมพ์เป็นหนังสือแจกแต่ละองค์กรหรือสมาชิกหรือชุมชนซึ่งใช้ต้นทุน เดือนหนึ่ง หลายล้านบาท แต่พอทำเป็นดิจิตอลแล้วสามารถเข้าถึงคนอ่านได้ในระดับหนึ่ง ในรูปแบบยืม-คืนอีบุ๊ค จึงลดต้นทุนไปได้มากในขณะที่คนหนึ่งคนสามารถเข้าถึงหนังสือได้จำนวนมากกว่าการซื้อเล่มต่อเล่มแบบ E-book store ถือเป็นเรื่องใหม่ที่ตื่นตัวมาก เกียรติขจร กล่าวเสริม เรามองว่าสังคมจะเป็นสังคมของการอ่านไม่ได้ ถ้าไม่มีรูปแบบของห้องสมุดที่ ทันสมัยและสะดวกในการใช้งาน มีหนังสือที่น่าสนใจคัดสรรจากผู้มีความรู้ ปกติชุมชนมีห้องสมุดอยู่แล้วถ้าเปลี่ยนเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ประชาชนไม่ต้องเดินทางมา หรือจัดเป็นร้านกาแฟเล็กๆ ในสวนสาธารณะให้คนที่มาพักผ่อนหรือออกกำลังกายได้ดาวน์โหลดหนังสือมาอ่านใน บรรยากาศดีๆ แทนที่จะอ่านในบ้านหรือห้องสมุด กิตติพจน์ กล่าวสรุป ในอนาคตคาดหวังว่าในโรงพยาบาล โรงแรม หมู่บ้าน คอนโด อพาร์ทเมนต์ ร้านกาแฟ จะต้องมีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ไว้บริการประชาชนเพื่อเป็นการ ปลูกฝังการอ่านในสังคมอย่างจริงจัง ทั้งหมดไม่ใช่แนวคิดแต่เป็นเรื่องที่สามารถทำได้จริงและเชื่อว่าในอนาคตอีก ไม่กี่ปีข้างหน้าทุกคนจะมีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในมือหรือในกระเป๋า สามารถพกพาไปได้ทุกที่

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ