กสอ. ดันนโยบายดิจิทัล 5 ด้าน รุกเคลื่อนทัพ SMEs ไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่

ข่าวทั่วไป Monday March 2, 2015 14:26 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 มี.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ กสอ. เปิดเวทีระดมสมองขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลจับมือกูรู SMEs กูรูดิจิทัล เฟ้นหากลยุทธ์เพื่อผู้ประกอบการไทยใช้ไอที ส่งเสริมธุรกิจ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม รุกหนักแน่นขับเคลื่อน ทัพอุตสาหกรรมสู่ยุทธศาสตร์ดิจิทัลเอสเอ็มอีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถแข่งขันในโลกการค้าเสรีได้ ระดับนานาประเทศ พร้อมเผยนโยบายดิจิทัล 5 ด้านได้แก่ 1. ผู้ประกอบการใหม่ด้านดิจิทัล (New Digital Entrepreneurs) 2. เอสเอ็มอีอัจฉริยะ (Intelligence SMEs) 3. การเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการโอทอป (Digital OTOP) 4. การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยดิจิทัล (Digital Knowledge Society) และ 5. การพัฒนาที่ปรึกษาธุรกิจโลกไซเบอร์ (Digital Service Provider) ให้สอดรับนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ระบบดิจิทัลสามารถช่วยลดต้นทุน สามารถทำธุรกิจต่างแดนแบบไร้พรมแดน รับข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก อีกทั้งจะเป็นปัจจัยเอื้อที่ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายและแพร่หลายขึ้น อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมด้วย ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้จัดงานสัมมนาครั้งยิ่งใหญ่ โดยการผนึกกำลังนักปราชญ์ด้านเศรษฐกิจหลายท่านเพื่อผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะ อาทิ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และกูรูจากภาคเอกชนอีกหลายท่าน โดยจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมฟังการสัมมนาจำนวนมาก สำหรับผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าร่วมโครงการของ กรมฯ หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-202-4414 – 18 หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th หรือรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมในอาเซียนได้ที่ www.facebook.com/dip.pr ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัล เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลได้นั้น ประการแรกที่ต้องให้ความสำคัญ คือ “เงินทุน” เพราะต้นทุนในการเข้าถึงเว็บไซต์ หรือการจัดทำระบบออนไลน์ค่อนข้างสูงสำหรับ SMEs หากสามารถลดต้นทุนในการใช้ระบบดิจิทัลได้ ประชาชนหรือผู้ประกอบการก็จะสามารถเข้าถึงระบบดิจิทัลได้มากขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่ตอบโจทย์ตรงนี้ได้ คือ 1. เนชั่นแนล บรอดแบนด์ (National Broadband) โดยการพัฒนาระบบ 4G ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าใน 1 ปี ทุกหมู่บ้านต้องสามารถเข้าถึงระบบออนไลน์ได้ และอีก 1 ปีถัดไป ทุกบ้านต้องสามารถใช้ระบบออนไลน์ได้อย่างทั่วถึง 2. จัดตั้งศูนย์ “ดาต้า เซ็นเตอร์” (Data Center) ผ่านการก่อตั้งหน่วยงานวิเคราะห์ตลาดในทุกกระทรวง เช่น ตลาดสำหรับเด็ก ตลาดสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ในทุกกระทรวงและสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตรงกับความต้องการแต่ละตลาดมากที่สุด และ 3. อินเตอร์เนชั่นนัล เกตเวย์ (Internationalal gateway) เป็นช่องทางเพื่อให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการสามารถหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คือ การให้คำแนะนำวิธีการใช้ การเข้าถึงเว็บไซต์ รวมทั้งการจัดตั้งเป็นอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งมีกว่า 2.7 ล้านราย สามารถดำเนินธุรกิจได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ ได้วางแผนในการกำหนดกฎหมาย เพื่อให้การดำเนินธุรกรรมข้ามแดนเป็นไปได้สะดวกและง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลทุกอย่างที่ส่งผ่านระหว่างกันเป็นไปได้ถูกต้องและเชื่อถือได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล นอกจากจะให้ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษา สาธารณสุข และการเกษตร ซึ่งช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นอีกด้วย นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลวัตของสังคมโลก อาทิ สถานการณ์การเงิน เศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 2 มิติ ได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงของระบบสังคมและปฏิสัมพันธ์ (Chang in Social System and Interactive) และการเปลี่ยนแปลงฐานของการแข่งขันและแบบจำลองธุรกิจ (Change in Competition Platform and Business Model) เกิดเป็นรูปแบบใหม่ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นฐาน และเปลี่ยนกระบวนการทางเศรษฐกิจจากเศรษฐกิจทางกายภาพ (Physicial Economy) ไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) จึงเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตมวลรวมของประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กไปสู่ขนาดใหญ่และเชื่อมโยงกับภาครัฐเพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เกิดการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระดับองค์กร ระดับประเทศ และระดับโลกในอนาคต ใน 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหา และการวางโครงสร้างการพัฒนาอุตสหากรรมในอนาคต โดยปัญหาหลัก ๆ คือการจัดการขยะ โดยได้วางยุทธศาสตร์กำจัดขยะอุตสาหกรรมเป็นแผน 5 ปี อาทิ การควบคุมดูแล การสร้างเครือข่ายสนับสนุน และการแก้ไขกฏหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น นอกจากนี้ ได้เตรียมจัดตั้งนิคมอุตสหากรรมกำจัดกากขยะแบบครบวงจร ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว และประการที่สอง การขจัดอุปสรรคในการอนุมัติ อนุญาตต่าง ๆ เช่น การลดขั้นตอนการขอ รง.4 การลดระยะเวลาในการออกใบอนุญาตรับรองมาตรฐาน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ประชาชน และภาคเอกชนได้รับความสะดวกสบายและคล่องตัวในการทำธุรกิจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรม จะไม่สามารถนำพาธุรกิจไทยก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ได้ หากขาดความเข้มแข็งของภาคเอกชน กระทรวงฯ เป็นหนึ่งในหลายๆ หน่วยงานรัฐที่พร้อมจะช่วยเหลือ ให้บริการ และข้อมูลต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ตามนโยบายรัฐบาล เพื่อให้ผู้ประกอบสามารถดำเนินธุรกิจสามารถก่าวผ่านเทคโนโลยีได้อย่างมั่นใจ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงของเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมต่อไป ด้าน นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า บทบาทของกรมฯ คือทำอย่างไรที่จะเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันเชิงธุรกิจของผู้ประกอบการได้ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ โดยกรมฯได้มีการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเพื่อเอสเอ็มอี ภายใต้แนวคิดดิจิทัลเอสเอ็มอี (Digital SMEs) ผ่านกิจกรรม 5 ด้านหลัก ซึ่งประกอบด้วย 1. ผู้ประกอบการใหม่ด้านดิจิทัล (New Digital Entrepreneurs) อาทิ กลุ่มผู้เขียนแอพพลิเคชั่น และเกมส์ต่างๆ บนสมาร์ทโฟน หรือ กลุ่มผู้ทำแอนิเมชั่นหรือกราฟฟิกดีไซน์ (Animation/ Graphic Design) ต่างๆ 2. เอสเอ็มอีอัจฉริยะ (Intelligence SMEs) อาทิ ระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม (Enterprise Resource Planning : ERP) ที่ใช้ในการบริหารด้าน ต่าง ๆ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือการสต็อกสินค้า และการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (ECIT) 3. การเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการโอทอป (Digital OTOP) ส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการโอทอป ที่มีศักยภาพสามารถทำการการตลาดด้วยสื่อดิจิทัลและสื่อออนไลน์ 4. การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยดิจิทัล (Digital Knowledge Society) อาทิ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน การอบรมสัมมนาในหลักสูตรการตลาดแห่งอนาคต (Digital Marketing) และหลักสูตรเปิดร้านค้าออนไลน์แบบเข้าใจมีชัยแน่นอน และ 5. การพัฒนาที่ปรึกษาธุรกิจโลกไซเบอร์ (Digital Service Provider) เป็นการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรองรับการขยายตัวของการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล โดยตั้งเป้าพัฒนาผู้ประกอบกว่า 2,500 ราย อย่างไรก็ดีพบว่าผู้ประกอบการยังใช้ประโยชน์จากระบบอินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการธุรกิจได้น้อย อาจเป็นเพราะขาดความรู้ถึงประโยชน์ที่จะได้รับและในวิธีการใช้งาน และขาดเงินในการลงทุนซื้อระบบซอฟท์แวร์ กรมฯจึงพยายามหาทางออกให้ตอบโจทย์ทุกฝ่าย จึงได้จัดฝึกอบรม สัมมนา เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของระบบไอทีในปัจจุบัน และเน้นย้ำให้ผู้ประกอบการทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากระบบดิจิทัล สำหรับปี 2558 กรมฯ ได้วางแนวทางในการเน้นองค์ความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ การฝึกอบรมการใช้เฟซบุ๊ก เพื่อเพิ่มศักยภาพการตลาดเชิงลึก ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านซัพพลายเชนด้านไอทีแบบเจาะลึกตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งซื้อวัตถุดิบ การวางแผนการผลิต กระบวนการผลิตสินค้า การบรรจุหีบห่อ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยตื่นตัวมากขึ้น ทั้งนี้ การส่งเสริมให้นำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ คาดว่าจะช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนในการทำการตลาด ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน และช่วยจัดระบบให้กับงานเอกสาร เพื่อประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ ได้ทั่วโลก อีกทั้งจะเป็นปัจจัยเอื้อที่ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายและแพร่หลายขึ้นอันจะนำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมที่ดีขึ้นด้วย นายอาทิตย์ กล่าว ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้จัดงานสัมมนาครั้งยิ่งใหญ่ โดยการผนึกกำลังนักปราชญ์ด้านเศรษฐกิจหลายท่านเพื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะ อาทิ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และกูรูจากภาคเอกชนอีกหลายท่าน โดยจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมฟังการสัมมนาจำนวนมาก สำหรับผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าร่วมโครงการของ กรมฯ หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-202-4414 – 18 หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th หรือรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมในอาเซียนได้ที่ www.facebook.com/dip.pr

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ