Learning Express ปี 2 การคิดเชิงออกแบบ เรียนรู้จากสถานที่จริง

ข่าวทั่วไป Thursday July 2, 2015 09:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 ก.ค.--มทร.ธัญบุรี "14 วัน กับ 3 ชุมชน การทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กับ นักศึกษาจาก Singapore Polytechnic จากประเทศสิงคโปร์ ภายใต้โครงการ Learning Express รุ่นที่ 2 โครงการดีๆ ที่มอบประสบการณ์ให้กับนักศึกษาทั้ง 2 สถาบัน" รศ.ดร.ณฐา คุปตัษเฐียร ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า จากการติดตามผลโครงการ Learning Express รุ่นที่ 1 ประสบผลสำเร็จและบรรลุตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการกล้าที่จะแสดงออก กล้าที่จะตัดสินใจ พัฒนากระบวนการคิด และรู้จักการทำงานเป็นทีม มีทักษะและทัศนคติที่ดี พร้อมออกไปเป็นทรัพยากรที่มีศักยภาพต่อไป และสิ่งสำคัญพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการสานต่อกิจกรรมและความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่างประเทศ ทางกองยุทธศาสตร์ต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ร่วมกับ Singapore Polytechnic จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Learning Express รุ่นที่ 2 ดำเนินกิจกรรมเป็นทีมสหวิชาการ (Multi-disciplinary) ในการสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Social Innovation) โดยใช้ทักษะการคิดผ่านกระบวนการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และให้นักศึกษาช่วยแก้ปัญหาในชุมชนต่างๆ ผ่านขั้นตอนการสัมภาษณ์ของผู้อยู่ในชุมชน การระดมสมอง การคิดร่วมกับชุมชน ภายใต้การดูแลและแนะนำของอาจารย์ทั้งสองสถาบัน ซึ่งอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการต้องผ่านการอบรม Certified Lex Facilitator สำหรับนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสองสถาบัน คัดเลือกโดยอาจารย์ของสถาบัน สำหรับ มทร.ธัญบุรี เปิดสมัครและคัดเลือกนักศึกษาจากทุกคณะจำนวน 24 คน และยังคัดเลือกนักศึกษา 10 คน ใน 24 คน เข้าร่วมโครงการและเรียนรู้กระบวนการของโครงการ Learning Express ที่ Singapore Polytechnic 3 สัปดาห์ และที่ไทยอีก 2 สัปดาห์ สำหรับรุ่น 2 มีนักศึกษาของทั้ง 2 สถาบันเข้าร่วมโครงการ 48 คน และอาจารย์ที่ช่วยดูแลโครงการ 10 คน ตลอดระยะเวลา 14 วัน นักศึกษาถูกออกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 16 คน นักศึกษาไทย 8 คน นักศึกษาสิงคโปร์ 8 คน กับ ชุมชน 3 แห่งในการเรียนรู้ ได้แก่ ชุมชนหมู่ 3 ตำบลบึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือ,ชุมชนบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และชุมชนโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ใช้ชีวิตกินอยู่ที่ชุมชน อาจารย์ มทร.ธัญบุรี ดร.ไฉน น้อยแสง รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานักศึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย อาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการ Learning Express รุ่นที่ 2 เล่าว่า ก่อนที่จะมาเป็นอาจารย์ประจำโครงการ ต้องผ่านการอบรม Certified Lex Facilitator ที่ Singapore Polytechnic เพื่อนำความรู้กระบวนการ Learning Express มาถ่ายทอดให้กับนักศึกษา ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการในการตั้งปัญหา วิธีการซักถามให้ได้ข้อมูล ตนเองรับหน้าที่ในการดูแลนักศึกษาอยู่ที่ "โรงเรียนสุนทโรเมตตาประชาสรรค์" สำหรับชุมชนบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี จากการลงสำรวจพื้นที่ภายในโรงเรียน และชุมชนใกล้เคียง จะปลูกสมุนไพร จึงคิดจะนำสมุนไพรในพื้นที่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ครีมกัดยุ่ง ยาหม่องน้ำนวด นักศึกษาทั้ง 16 คน ทั้งของ มทร.ธัญบุรี และ Singapore Polytechnic ได้ลงพื้นที่ จะได้รับรู้ข้อมูล ได้เห็น ปัญหาจริง นำปัญหาที่ได้มาวิเคราะห์ นำมาออกแบบ และได้เห็นถึงภูมิปัญญาสมุนไพรไทยที่มีพื้นที่ของประเทศไทย "ระหว่างที่นักศึกษามาขอคำปรึกษา มาบอกมาเล่า ตนเองคิดว่ากระบวนการคิดที่เกิดจากการได้รับข้อมูลจริง เป็นการเรียนรู้ที่ดีมาก" "ดาว" นางสาวดวกมล ผิวสอาด นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ เล่าว่า ต้องการพัฒนาตนเองในเรื่องภาษาอังกฤษ บวกกับเพื่อนเคยเข้าร่วมโครงการในปีที่ผ่านมา และเห็นผลสำเร็จที่เพื่อนได้รับ เพื่อนกล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษ และมีเครือข่ายเพื่อนชาวสิงคโปร์ สนใจและสมัครเข้าร่วมโครงการและโชคดีที่ตนเองถูกคัดเลือกจาก 24 คนเหลือ 10 คน ให้เข้าร่วมโครงการ Learning Express ที่ Singapore Polytechnic เป็นเวลา 3 สัปดาห์ กิจกรรมที่ทำในโครงการที่สิงคโปร์ การให้โจทย์แต่ละกลุ่ม กลุ่มของตนเองได้ในเรื่องของศาสนาของชาวสิงคโปร์ สานสัมพันธ์ของคนแต่ละศาสนา เนื่องจากในสิงคโปร์มีประชากรหลายศาสนา ผลงานที่ตนเองทำ คือ แอปฟิเคชั่นเกี่ยวกับศาสนาต่างๆ เป็นโครงการให้ประสบการณ์ ไม่ว่าจะในเรื่องของการใช้ชีวิต ซึ่งตนเองต้องใช้ชีวิตอยู่ที่สิงคโปร์ ในเรื่องของตัวกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการในการสัมภาษณ์เพื่อหาปัญหา หรือการสืบหาข้อมูลเบื้องต้นล้วนต้องใช้ทักษะการคิด สำหรับ Learning Express ที่ประเทศไทย ตนเองต้องคอยเป็นลามให้เพื่อนสิงคโปร์ ในการหาข้อมูล ซึ่งตนเองคิดว่า โครงการนี้พัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษของตนเอง ตั้งแต่ การพูด การฟัง การเขียน ทางด้าน Ivan liew wen yang จาก Finance Business Singapore Polytechnic เล่าว่า ต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศอื่นบ้าง อยากรู้จักเพื่อนใหม่ เมื่อมีโครงการดังกล่าวจึงสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ ตนเองรู้สึกแปลกใจการทักทายของคนไทย ที่ต้องยกมือไหว้ในการทักทายกัน ซึ่งที่ประเทศสิงคโปร์ไม่มี เป็นการแสดงออกทางท่าทางที่สวยงาม ในการลงพื้นที่ชุมชน ตนเองยังสังเกตได้ว่า ที่พักอาศัยของคนไทยจะเป็นชุมชน ช่วยเหลือกัน และมีน้ำใจต่อกัน มีพื้นที่ในการปลูกต้นไม้ ต่างกับที่ประเทศของตนเองที่เป็นตึก แทบจะไม่มีพื้นที่ในการปลูกต้นไม้ พื้นที่ "โรงเรียนสุนทโรเมตตาประชาสรรค์" สำหรับชุมชนบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี คือ ชุมชนเรียนรู้และร่วมกันสร้างนวัตกรรมใหม่ จากการลงพื้นที่ สัมภาษณ์บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สถานที่ดังกล่าวปลูกสมุนไพรไว้ภายในโรงเรียน จึงมีความคิดในการออกแบบศูนย์การเรียนรู้ในเรื่องสมุนไพรต้นแบบให้กับทางโรงเรียน นอกจากประสบการณ์ในการใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนคนไทย ตนเองยังมีความรู้ในส่วนของสมุนไพรของประเทศไทย เช่น รางจืด ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ช่วยล้างสารพิษในร่างกาย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้วิธีการทำครีมกันยุง ยาหม่องน้ำนวด ซึ่งยาเหล่านี้ตนเองไม่เคยรู้กรรมวิธีในการผลิตมาก่อน "วิถีชีวิตของคนไทย การปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ นำสมุนไพรไทยที่มีในท้องถิ่นมาทำเป็นยารักษาอาการต่างๆ" "โดยในปีถัดไป ทาง Singapore Polytechnic จะเชิญนักศึกษาของไทย ไปร่วม Learning Express ต่าง ประเทศ ตามที่ Singapore Polytechnic มี MOU จัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม มาเลเซีย หรือฟิลิปปินส์ และสำหรับโครงการ Learning Express ของมทร.ธัญบุรีปีต่อไปมหาวิทยาลัย คานาซาว่า ที่ญี่ปุ่นจะเข้าร่วมโครงการด้วย " รศ.ดร.ณฐากล่าวทิ้งท้าย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ