เคทีซีผนึกมูลนิธิสร้างรอยยิ้มเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุด The Painted Smile ชวนสมาชิกและคนไทยร่วมสร้างรอยยิ้มเปลี่ยนชีวิตให้ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ทั่วประเทศ

ข่าวทั่วไป Monday July 13, 2015 18:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 ก.ค.--บัตรกรุงไทย "เคทีซี" หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ "มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม" เปิดตัวภาพยนต์โฆษณาชุด "The Painted Smile" กระตุ้นสังคมมอบโอกาสในการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนวันโดดเดี่ยวให้ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มีรอยยิ้มที่สดใส และมีความหวังในอนาคต เนื้อหาในโฆษณาชุดนี้ต้องการนำเสนอให้เห็นว่ารอยยิ้มกับเด็กๆ เป็นของคู่กัน แต่สำหรับเด็กที่เกิดมาพร้อมภาวะปากแหว่งเพดานโหว่กว่า 2,000 คน ในแต่ละปี "ยิ้ม" เป็นเรื่องน่าอายสำหรับพวกเขา เวลาต้องอยู่ต่อหน้าผู้อื่น พวกเขามักจะหลบซ่อนความผิดปกติบนใบหน้า หรือปิดบังด้วยการนำตุ๊กตาน่ารัก มาปิดบังริมฝีปากที่เว้าแหว่งของตนเอง แต่พวกเราสามารถสร้างรอยยิ้มใหม่ เปลี่ยนชีวิตเด็กผู้ป่วยเหล่านี้ได้หากเราช่วยกัน สามารถติดตามชมภาพยนตร์โฆษณาชุด "The Painted Smile" ผ่านทางhttps://www.youtube.com/watch?t=30&v=TBcdYAhvN-s เว็บไซต์ www.operationsmile.or.th และhttps://www.facebook.com/OperationSmileThailand สมาชิกเคทีซีสามารถร่วมบริจาคเข้ามูลนิธิสร้างรอยยิ้มได้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ด้วยวงเงินบัตรเครดิต หรือใช้คะแนนสะสม KTC Forever Rewards ทุกๆ 1,000 คะแนน เปลี่ยนเป็นเงินบริจาค 100 บาท หรือบริจาคผ่านเว็บไซต์ www.ktc.co.th/ClickKTC โมบายแอพพลิเคชั่น "TapKTC" ศูนย์บริการสมาชิก "เคทีซี ทัช" ทุกสาขา หรือที่ KTC Phone โทรศัพท์ 02-665-5000 โดยทุกการบริจาคจะได้รับใบเสร็จในการหักลดหย่อนภาษี ปัจจุบันสาเหตุของโรคปากแหว่งเพดานโหว่ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการวิจัยและเก็บข้อมูลพบว่าโรคปากแหว่งหรือเพดานโหว่เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดในระยะแรกของการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์มารดา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า โรคนี้มีปัจจัยร่วมกันระหว่างพันธุกรรม และสภาพแวดล้อมระหว่างตั้งครรภ์ของมารดา เช่น ความเจ็บป่วยของมารดา ภาวะขาดสารอาหาร หรือการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ เด็กๆ เหล่านี้จะไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ปัญหาที่พบเสมอ คือ เด็กจะไม่สามารถดื่มนมแม่ หรือทานอาหารได้เหมือนเด็กทั่วไป ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ในที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นเด็กยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม และยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการด้านการพูด และได้ยินเสียง นอกเหนือจากปัญหาด้านทันตกรรมอีกด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ