คอมม์วอลท์เผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการข้อมูล จากผลงานวิจัยของไอดีซีพบว่าองค์กรจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ข้อมูลที่บริหารโดยส่วนกลางมากขึ้น

ข่าวเทคโนโลยี Friday September 4, 2015 15:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--TQPR Thailand รายงานแสดงให้เห็นว่าการที่องค์กรไม่สามารถที่จะได้รับประโยชน์อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพอย่างเต็มรูปแบบจากข้อมูลที่มีอยู่นั้น เนื่องจากมีวิธีการแผนการจัดการข้อมูลที่ดำเนินการแยกโดยแต่ละแผนก - ผลการวิจัยยืนยันมุมมองของคอมม์วอลท์ที่เล็งเห็นว่าองค์กรทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทวีปอื่นๆจะต้องพยายามอย่างหนักเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์สูงสุดของมูลค่าทางธุรกิจของสินทรัพย์ข้อมูลที่สำคัญถ้าปราศจากกลยุทธ์การจัดการข้อมูลแบบองค์รวม - ข้อมูลถูกกระจายไปทั่วทุกหน่วยงานและฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน ซึ่งถูกจัดเก็บอยู่บนดาต้าเซ็นเตอร์ของบุคคลที่สามในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความเป็นระบบเสมือนสูง ส่วนกระบวนการระบบการบริหารจัดการข้อมูลที่สำคัญมักจะไม่ได้มีการกำหนด จัดการ หรือมีตัวชี้วัดไว้อย่างชัดเจน อันนำไปสู่ความกังวลสำหรับผู้บริหาร "ระดับซี" (C-Level) - โซลูชั่นที่สามารถเข้ามาช่วยในการจัดการแบบ end-to-end การปกป้อง และการเข้าถึงของสินทรัพย์ข้อมูลได้รับการพิจารณาที่สำคัญอย่างสูงจากซีไอโอ (CIO) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนและการยอมรับในระดับโลก คอมม์วอลท์ (NASDAQ: CVLT) ผู้นำในการปกป้องข้อมูลขององค์กรและการจัดการบริหารข้อมูล ประกาศวานนี้ถึงผลการวิจัยจากการสำรวจและไวท์เปเปอร์ใหม่ของไอดีซีที่มุ่งความสนใจไปถึงวิธีที่ไซโลข้อมูลภายในองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นจำกัดความสามารถในการตัดสินใจโดยการใช้ข้อมูลเชิงลึก ส่งผลถึงค่าใช้จ่ายไอทีที่เพิ่มขึ้น คอมม์วอลท์ให้การสนับสนุนการวิจัยของไอดีซี เพื่อสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและอินเดียจำนวนถึง 600 คน เพื่อให้เข้าใจถึงความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในฐานะสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร ในขณะเดียวกันกับการลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องไปพร้อมๆ กัน แม้ว่าการวิจัยจะมุ่งเน้นไปภูมิภาคเฉพาะเจาะจง ผลการสำรวจก็แสดงให้เห็นถึงปัญหาการจัดการข้อมูลที่องค์กรทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ผลการวิจัยสะท้อนถึงความกังวลเหนือสิ่งอื่นใดของซีไอโอทั่วโลก โดยเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวกับวิธีที่แตกต่างกันในการจัดการข้อมูลซึ่งนำไปสู่ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ซีไอโอจึงอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญในการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยการนำโซลูชั่นที่จำเป็นมาใช้ในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยที่สำคัญของการสำรวจของไอดีซีรวมถึงใจความดังต่อไปนี้ • สองความท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในด้านการบริหารจัดการข้อมูล รวมไปถึงความต้องการในการดึงข้อมูลที่ง่ายและเร็วขึ้น และการมีจำนวนข้อมูลที่เติบโตขยายขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความซับซ้อนมากขึ้น อย่างไรก็ตามองค์กรในประเทศไทยได้พิจารณาให้แรงกดดันด้านงบประมาณขึ้นเป็นความท้าทายหลักที่สำคัญ (ร้อยละ 52) ซึ่งได้รับการจัดอันดับโดยรวมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอันดับที่ 4 - องค์กรในสิงคโปร์ให้ความสามารถการดึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น (ร้อยละ 86) เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด - องค์กรในมาเลเซียเห็นด้วยกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ระบุว่าความท้าทายสำคัญสูงสุดสำหรับการจัดการข้อมูลคือจำนวนและความซับซ้อนของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงความต้องการในการดึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น - องค์กรในอินโดนีเซียจัดให้ความต้องการในการดึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้นเป็นความท้าทายอันดับแรก (ร้อยละ 92) ตามด้วยแรงกดดันด้านงบประมาณ (ร้อยละ 88) • คนที่มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึงร้อยละ 40 รายงานว่า การสำรองข้อมูล การกู้ข้อมูล การป้องกันข้อมูล รวมถึงกลยุทธ์ด้านการวิเคราะห์ต่างๆ ยังคงได้รับการบริหารจัดการอยู่ในระดับแผนกอยู่ - กว่า 1 ใน 3 (หรือร้อยละ 34) ของธุรกิจในประเทศไทยมีทิศทางตามแนวโน้มในการรักษาการจัดการข้อมูลและกลยุทธ์การวิเคราะห์ในระดับแผนกในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดเป็นการเก็บข้อมูลใส่ไซโลเหล่านี้ • ผู้นำทางด้านไอทีในประเทศไทยเห็นพ้องกับของกลุ่มประเทศที่เหลือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าไซโลข้อมูลแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่สำคัญ แต่พวกเขายังพิจารณาว่าไซโลกีดขวางความสามารถในการบังคับใช้นโยบายการเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งยังเพิ่มภาระให้กับทีมไอทีอีกด้วย สมุจจ์ ถนัดสร้าง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท คอมม์วอลท์ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวว่ารายงานผลการวิจัยยืนยันให้เห็นถึงความจำเป็นทางด้านความเร็วและขนาดในการจัดการข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญ "ปัญหาที่ซีไอโอ (CIO) ทั่วโลกเจอบ่อยๆ คือการจัดการข้อมูลในไซโลทำให้เกิดปัญหาคอขวดซึ่งทำให้เกิดการพลาดโอกาสและการขัดขวางองค์กรจากการได้รับถึงประโยชน์ของข้อมูลของพวกเขาอย่างได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ในฐานะเป็นสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูง" สมุจจ์ ถนัดสร้าง กล่าว "พวกเขาสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่และการเปิดกว้างมากขึ้นอย่างเช่น ระบบคลาวด์ได้ง่ายขึ้น โดยการบูรณาการการจัดการข้อมูลทั้งระบบมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลมากยิ่งขึ้น" ปัญหาของไซโลข้อมูลถูกตอกย้ำด้วยการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ไอดีซีเรียกว่า "แพลทฟอร์มที่ 3" ที่ซึ่งธุรกิจต่างๆ ให้ความสนใจเรื่องของมุมมองแบบองค์รวมของข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยแพลตฟอร์มที่ 3 แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่สำคัญสำหรับธุรกิจในการผลักดันการเติบโตและนวัตกรรมในอนาคต รวมถึงการตอกย้ำความเสี่ยงในแนวทางในระดับแผนกของการจัดการข้อมูล มร.แดเนียล-โซอี้ ฮิเมเนซ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายโปรแกรม บิ๊กดาต้า การวิเคราะห์ การจัดการข้อมูลและแอพพลิเคชั่นในระดับองค์กรและโซเชียล กล่าวว่า "ในยุคของแพลตฟอร์มที่3 การเป็นองค์กรที่นำข้อมูลไอทีมาใช้ไม่ใช่เพียงทางเลือกแต่เป็นสิ่งจำเป็น การตัดสินใจต่างๆ ที่มีพื้นฐานมาจากแนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลไม่เพียงแต่เพิ่มความถูกต้องของผลลัพธ์เท่านั้น แต่ยังให้ความสอดคล้องเมื่อผลลัพธ์ถูกตีความและป้อนกลับเข้าสู่ธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงวิธีการในการจัดเก็บ การจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความจำเป็นในครั้งนี้ ทำให้องค์กรจ้องเปลี่ยนจากการใช้แนวทางในระดับแผนก (หรือจัดเก็บในไซโล) ในการจัดการสินทรัพย์ข้อมูลไปสู่วัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลแบบบูรณาการ" การสำรวจและไวท์เปเปอร์เรื่องเกี่ยวกับ "The Data-Driven Organisation: Unlocking Greater Value from Data and Minimising its Associated Costs and Risks," ครอบคลุมทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ฮ่องกง เกาหลี สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และ อินเดีย สามารถดาวน์โหลดการสำรวจและไวท์เปเปอร์ได้ที่ http://connectus.Commvault.com/LP=1613
แท็ก ข้อมูล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ