เงินอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัว: คนไทยใช้เงินสดน้อยลงและสนใจทำธุรกรรมการเงินผ่านสมาร์ทโฟนมากขึ้น – วีซ่าเผย

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday December 2, 2015 11:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 ธ.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ ผลสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2558 ของวีซ่า เผยการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ยังไปได้ดี เพราะแรงขับเคลื่อนของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความสนใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ ไบโอเมตริกซ์ (Biometric)[1] ในปัจจุบันคนไทยพกเงินสดน้อยลงกว่าห้าปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการใช้จ่ายผ่านบัตรสูงขึ้น และการจับจ่ายผ่านอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างต่อเนื่องก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญด้วยที่ทำให้การยอมรับและเปิดใจในการใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปได้ด้วยดี นี่เป็นผลจากการสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2558[2] ของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study 2015) ผลสำรวจฉบับนี้ได้ศึกษาทัศนคติ และพฤติกรรมการชำระเงินระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเทรนด์สำคัญของผู้บริโภคจากหกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย[3] โดยรวมแล้ว การชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์กำลังอยู่ในช่วงเจริญเติบโตเพราะมากกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามนิยมใช้บัตรในการชำระเงินมากกว่าเงินสด (52 เปอร์เซ็นต์) และตั้งใจที่จะหันมาเลือกใช้การชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสดในอนาคต (55 เปอร์เซ็นต์) อาทิ บัตรเครดิตผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่ามากกว่าหนึ่งในสี่ (26 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามพกเงินสดน้อยลงจากห้าปีก่อน หนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคพกเงินสดน้อยลง มาจากเรื่องของความเสี่ยง ด้วยคนไทยจำนวนมากถึงหกในสิบ เชื่อว่าการพกเงินสดไม่ปลอดภัย (57 เปอร์เซ็นต์) โดยคนไทยถือเงินสดเฉลี่ย 2,094 บาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเงินที่พกติดตัวในปี พ.ศ. 2557[4] เฉลี่ย 2,426 บาท แสดงให้เห็นว่า มีจำนวนลดลงถึง 332 บาท ขณะที่จำนวนบัตร (ยกเว้นบัตรเอทีเอ็ม) ที่พกพาต่อคนยังคงเท่าเดิมที่ 2 ใบต่อคน นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า "เราได้เห็นโอกาสอันดีจากผลสำรวจนี้ในการลดการใช้เงินสดและการเพิ่มการรับบัตรในการใช้จ่ายออนไลน์ ซึ่งหนึ่งในเหตุผลที่คนพกเงินสดลดลงในแต่ละวันเป็นเพราะมีร้านค้าที่เปิดรับบัตรมากขึ้นโดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งในปีนี้เองวีซ่าได้ร่วมมือกับธนาคารพันธมิตรในการเพิ่มจุดรับบัตรมากกว่า 1,000 จุดแค่เฉพาะในภาคอีสาน นอกจากนี้ยังมีการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นผ่านทางคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ซึ่งมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด" ศักยภาพของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยอยู่ในระดับสูงและเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้เติบโตขึ้น ประเทศไทยนั้นมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 29 เปอร์เซ็นต์[5] แต่ยังมีการเข้าถึงอีคอมเมิร์ซในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่มีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ใกล้เคียงกัน แม้ว่าสัดส่วนของผู้ถือบัตรที่ใช้จ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ยอดการทำธุรกรรมการเงินผ่านมือถือและแท็บเล็ตกลับมีอัตราที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดยสมาร์ทโฟนกลายเป็นเครื่องมือสำหรับชำระเงินอันดับแรกของหลายคน "ถึงแม้ว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ก็มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าแฟชั่นและเครื่องประดับ บัตรชมภาพยนตร์ และการชำระค่าสินค้า บริการ และสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี่เป็นตัวแปรสำคัญในการเติบโตของตลาดออนไลน์เพราะมีส่วนแบ่งการชำระเงินต่ำ แต่มียอดการใช้จ่ายถี่ โดยสัดส่วนที่สูงขึ้นของการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตทำให้เราเห็นโอกาสเติบโตอันดีในอนาคต" นายสุริพงษ์ กล่าวเสริม อัตราของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยที่ระบุว่าตนซื้อสินค้าออนไลน์อย่างน้อยเดือนละครั้งเพิ่มขึ้นจาก 64 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมาเป็น 66 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ โดยมีระยะเวลาในการช้อปปิ้งออนไลน์ต่อครั้งนานประมาณ 46 นาที ซึ่งเหตุผลหลักๆที่พวกเขาเลือกซื้อสินค้าออนไลน์เป็นเพราะว่า มีการจัดส่งสินค้าถึงลูกค้าโดยตรง (40 เปอร์เซ็นต์) ความสะดวกสบาย (37 เปอร์เซ็นต์) มีราคาที่ดีกว่า (15 เปอร์เซ็นต์) และมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย (8 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่การชำระเงินที่ร้านค้าและช่องทางดิจิตอลอยู่ในช่วงที่กำลังบรรจบกัน คนไทยที่ตอบแบบสอบถามได้แสดงให้เห็นถึงความสนใจในเทคโนโลยีการชำระเงินรูปแบบใหม่ๆ โดยหนึ่งในแปดของผู้ตอบแบบสอบถามสนใจการชำระเงินแบบไร้สัมผัส[6] (contactless payment) จำพวกอุปกรณ์สวมใส่ไฮเทค หรือ wearable (83 เปอร์เซ็นต์) และชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนเมื่อซื้อสินค้าที่ร้านค้า (81 เปอร์เซ็นต์) "เมื่อประติดประต่อปัจจัยต่างๆเข้าด้วยกัน เทคโนโลยีเหล่านี้ที่จริงแล้วมีการใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้บริโภคชาวไทยในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถชำระเงินในร้านค้าภัตตาคารต่างๆได้ด้วยแอพพลิเคชันส์ eWallet หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในสมาร์ทโฟน คุณสามารถชำระเงินแบบไร้สัมผัสด้วยผลิตภัณฑ์อย่าง วีซ่า เพย์เวฟ ที่สามารถใช้ได้ในร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ รวมไปถึงระบบรับรองตัวตนไบโอเมตริกซ์ก็ใช้กันอยู่แล้วเช่นการล็อกอินด้วยรอยนิ้วมือก็สามารถทำได้แล้วในสมาร์ทโฟนหลายๆรุ่น ขณะนี้เรามีทุกอย่างพร้อมแล้วเพื่อรองรับการเจริญเติบโตก้าวต่อไปของการชำระเงินระบบอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีพร้อม ผู้บริโภคพร้อม อยู่ที่ว่าเมื่อไหร่แค่นั้นเอง" นายสุริพงษ์ กล่าวปิดท้าย [1] ไบโอเมตริกซ์ (Biometric) ในการชำระเงินคือการพิสูจน์ตัวตนโดยใช้ลักษณะทางกายภาพ เช่น ลายนิ้วมือ นอกเหนือหรือพร้อมลายเซ็นต์ [2] การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของวีซ่า จัดทำโดยบริษัท Acorn ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฏาคม 2558 ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 3,000 คน จากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ประเทศไทย และเวียดนาม โดยผู้ที่ร่วมทำแบบสอบถามเป็นชายและหญิงอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไปที่มีบัตรชำระเงินอย่างน้อยหนึ่งใบและมีการใช้จ่ายผ่านบัตรอย่างสม่ำเสมอ [3] ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ประเทศไทย และเวียดนาม [4] ผลสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2557[4] ของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study 2014) จัดทำโดยบริษํท BlackBox Research ในเดือนกรกฏาคม 2557 ในนามของวีซ่า โดยมีจำนวนผู้ทำแบบสอบถามในหกประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เท่ากับการสำรวจในปีนี้ [5] Internet Live Stats (www.InternetLiveStats.com) ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2014 โดยประมาณการ [6] ผู้บริโภคสามารถชำระเงินในรูปแบบไร้สัมผัสได้ด้วยการวางอุปกรณ์ที่ใช้บนเครื่องรับการชำระเงิน ในปัจจุบันมีให้บริการอยู่สองรูปแบบในประเทศไทยได้แก่บัตรวีซ่า เพย์เวฟ และสติกเกอร์ แต่ยังมีรูปแบบการชำระเงินในรูปแบบแอพพลิเคชันส์ อย่าง แอปเปิล เพย์ (Apple Pay) และแอนดรอยด์เพย์ (Android Pay) ที่สามารถใช้ชำระค่าใช้จ่ายได้ที่เครื่องชำระเงิน ณ จุดขายที่มีเครื่องหมายวีซ่า เพย์เวฟ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ