ปัญหาสุนัขจรจัด

ข่าวทั่วไป Monday April 25, 2016 15:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 เม.ย.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" ร่วมกับ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผย ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ปัญหาสุนัขจรจัด" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 – 20 เมษายน 2559 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัญหาสุนัขจรจัด การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่า ความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงการเป็นเจ้าของสุนัขของประชาชนหรือคนในครัวเรือน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.56 ระบุว่า ไม่เคยเป็นเจ้าของสุนัขเลย รองลงมา ร้อยละ 43.12 ระบุว่า ปัจจุบันยังคงเป็นเจ้าของสุนัขอยู่ และร้อยละ 10.32 ระบุว่า เคยเป็นเจ้าของสุนัขมาก่อนแต่ปัจจุบันเลิกแล้ว ด้านความรู้สึกของประชาชนต่อเมื่อเห็นสุนัขตามท้องถนน ตรอกซอย อาคารสำนักงาน หรือใต้ถุนตึกที่ไม่มีใครดูแลอย่างแท้จริง เช่น สุนัขจรจัด สุนัขที่มีคนคอยให้อาหารแต่ไม่นำไปดูแลเองอย่างจริงจัง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.88 ระบุว่า อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐนำสุนัขเหล่านี้ไปดูแลในสถานที่ที่เหมาะสม รองลงมา ร้อยละ 28.16 ระบุว่า สงสารและอยากให้อาหาร ร้อยละ 24.56 ระบุว่า สงสารแต่ไม่อยากนำกลับไปเลี้ยงที่บ้าน ร้อยละ 12.72 ระบุว่า กลัวว่าสุนัขจะกัดตนเอง ลูกหลานหรือคนในครอบครัว ร้อยละ 8.72 ระบุว่า สงสารและอยากนำกลับไปเลี้ยงที่บ้าน ร้อยละ 7.68 ระบุว่า รู้สึกรำคาญ ไปไหนไม่สะดวก สภาพแวดล้อม ไม่เป็นระเบียบ ไม่สะอาด ร้อยละ 3.92 ระบุว่า อยากให้สมาคม ชมรม องค์กร หรือคนที่รณรงค์เรื่องสิทธิสัตว์นำสุนัขเหล่านี้ไปดูแล ในองค์กรหรือบ้านของตนเอง ร้อยละ 3.60 ระบุว่า อยากรู้ว่าใครเคยเป็นเจ้าของสุนัขเหล่านี้มาก่อน ร้อยละ 1.76 ระบุว่า อยากขับไล่ ไปไกล ๆ ร้อยละ 0.48 ระบุว่า อยากทำร้ายสุนัขเพราะตนเอง ลูกหลานหรือคนในครอบครัวเคยโดนกัดมาก่อน ร้อยละ 0.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่ได้รังเกียจเล่นด้วยบางครั้ง และอยากให้ทางรัฐมีการจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง เช่น ทำหมัน นำไปฉีดวัคซีนให้เรียบร้อย และจัดโซนให้สุนัขจรจัด อีกทั้งทำให้ตระหนักถึงสภาพสังคมที่ไม่เป็นระเบียบ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ในทางปฏิบัติการจัดการได้ยากหรือไม่ได้เลย และร้อยละ 11.76 ไม่รู้สึกอะไรเลย เฉย ๆ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณสมบัติหรือสิ่งที่เจ้าของสุนัขต้องมี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.76 ระบุว่า ต้องมีความรับผิดชอบต่อสุนัขที่เลี้ยงอยู่ตลอดชั่วชีวิต ไม่ทิ้งขว้าง ปล่อยปละละเลย ไม่ว่าสภาพสุนัขที่เลี้ยงจะเปลี่ยนไปเช่นไร เช่นไม่สวย แก่ ดุ อันตราย เป็นต้น รองลงมา ร้อยละ 30.80 ระบุว่า ต้องมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ เช่น ไม่ปล่อยให้ไปกัดผู้อื่นหรืออุจจาระตามหน้าบ้านผู้อื่นหรือในพื้นที่สาธารณะ ร้อยละ 24.00 ระบุว่า ต้องเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ในการเลี้ยงดูสุนัขอย่างเหมาะสม ร้อยละ 13.68 ระบุว่า ต้องมีความพร้อมในฐานะทางการเงินที่จะเป็นเจ้าของสุนัข ร้อยละ 2.80 ระบุว่า เจ้าของสุนัขต้องรับผิดทางอาญาด้วยในกรณีที่สุนัขของตนเองไปกัดผู้อื่นหรือละเมิดสิทธิผู้อื่นหรือทำความเสียหายในที่สาธารณะ ร้อยละ 1.60 ระบุว่า ต้องขอใบอนุญาต และจดทะเบียนการเป็นเจ้าของสุนัข ร้อยละ 0.24 ระบุว่า ต้องเสียภาษีการเป็นเจ้าของสุนัข ร้อยละ 4.08 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ต้องมีประสบการณ์ในการเลี้ยงสุนัขมาก่อน อีกทั้งมีจิตใจที่รักสัตว์และมีเวลาเลี้ยงดูอย่างเต็มที่ และร้อยละ 4.56 ไม่ระบุ/ไม่สนใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.72 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.36 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.24 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.60 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 51.76 เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.16 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 11.44 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 20.00 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.48 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 27.20 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 13.20 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 3.68 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 92.88 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.64 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.80 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 3.68 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 23.52 สถานภาพโสด ร้อยละ 71.20 สมรสแล้ว ร้อยละ 1.36 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 3.92 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 29.92 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.88 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.72 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.20 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.28 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.00 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 11.84 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.08 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 18.72 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.56 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 19.52 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 13.76 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 4.96 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 4.48 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 17.92 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 30.40 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.16 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 4.48 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.80 ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ