นักวิจัย มธ. โชว์ 8 นวัตกรรมเพื่อชาวนาไทย เดินหน้าขับเคลื่อนงานวิจัย สร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาประเทศอย่างยั่งยืน

ข่าวทั่วไป Wednesday June 22, 2016 11:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 มิ.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ · มธ. เปิดตัว "นวัตกรรมพยากรณ์โรคในนาข้าว" ชุดเซนเซอร์เก็บข้อมูลสภาพอากาศในนาข้าวแบบ Real-time พร้อมแสดงผลแนวโน้มของโรคและคำแนะนำในการดูแลต้นข้าวทันทีที่สมาร์ทโฟนของเกษตรกร นักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โชว์เทิร์นคีย์ 8 นวัตกรรมเพื่อชาวนาไทย ได้แก่ นวัตกรรมดำนาน้ำน้อย นวัตกรรมเมล็ดข้าวให้เป็นรูเพื่อเร่งการดูดซึมน้ำ นวัตกรรมข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์ นวัตกรรมผงเร่งโตนวัตกรรมเครื่องพยากรณ์การเกิดโรคในนาข้าว นวัตกรรมผงย่อยสลายฟางข้าว นวัตกรรมบิสกิตจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ และนวัตกรรมเค้กโรลจากข้าวหอมมะลิ ทั้งนี้ มธ. ยังคงมุ่งพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างบัณฑิตยุคใหม่ให้มีคุณสมบัติผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21 อันสอดรับตามแนวคิด "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน" สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มธ. ศูนย์รังสิต หมายเลขโทรศัพท์02-564-4493 หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ www.tu.ac.th ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า มธ.ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ให้ครอบคลุมทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ตลอดจนบูรณาการทุกองค์ความรู้เพื่อต่อยอดงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่เอื้อประโยชน์แก่สังคม อย่างไรก็ตาม มธ. ตระหนักถึงความสำคัญของการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาด้านการเกษตรของไทย โดยเฉพาะการปลูกข้าวซึ่งเป็นพืชพื้นฐานของประเทศไทย โดยที่ผ่านมา มธ. มีผลงานการวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวจำนวนมาก โดยเริ่มตั้งแต่การบำรุงเตรียมดินให้เหมาะสมแก่การปลูกข้าว การคัดเลือกหรือดัดแปลงสายพันธุ์ข้าว การดูแลให้ปุ๋ยแก่ต้นข้าว การกำจัดวัชพืชในนาข้าว ตลอดจนการแปรรูปข้าว โดย ไฮไลท์ของนวัตกรรมเกี่ยวกับข้าว มีจำนวน 8 ผลงาน ได้แก่ นวัตกรรมดำนาน้ำน้อย นวัตกรรมเมล็ดข้าวให้เป็นรูเพื่อเร่งการดูดซึมน้ำ นวัตกรรมข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์ นวัตกรรมผงเร่งโต นวัตกรรมเครื่องพยากรณ์การเกิดโรคในนาข้าว นวัตกรรมผงย่อยสลายฟางข้าวนวัตกรรมบิสกิตจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ และนวัตกรรมเค้กโรลจากข้าวหอมมะลิ ซึ่งทั้ง 8 ผลงานดังกล่าว เป็นเพียงตัวอย่างของความสำเร็จของ มธ. ในการพัฒนาผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สามารถแก้ไขปัญหาของสังคมได้จริง ซึ่งสามารถสะท้อน อัตลักษณ์และปณิธานของมหาวิทยาลัยที่ว่า "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน" ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า ที่ผ่านมา ทีมวิจัย ได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของข้าว ที่มีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตคนไทยมาแต่อดีต อีกทั้งยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ แต่ในทางกลับกันเกษตรกรไทย กลับสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากไปกับการจัดการต่าง ๆ เพื่อบำรุงดินและต้นข้าวให้ออกรวงสวยและมีน้ำหนัก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดการสูญเสียที่เกิดขึ้น จึงนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์ดีในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ · นวัตกรรมผงเร่งโต"(หรือบีพี-ไบโอออร์ก้า) ชีวผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากแบคทีเรียบาซิลลัส (Bacillus) สายพันธุ์พิเศษTU-Orga1 ในรูปของผงละลายน้ำที่สามารถเก็บรักษาได้นานถึง 18 เดือนโดยมีคุณสมบัติช่วยบำรุงให้พืชสมบูรณ์แข็งแรง กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนพืชและการใช้ธาตุอาหารของพืชอย่างเหมาะสม สามารถควบคุม/ป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นในพืช อันได้แก่ โรคขอบใบแห้ง ใบจุดสีน้ำตาล ใบขีดสีน้ำตาล โรคกาบใบแห้ง ฯลฯ รวมถึงช่วยให้พืชได้ผลดีตรงตามพันธุกรรมโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังสามารถฆ่าเชื้อที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์เพิ่มผลผลิตพืช อาทิ ข้าว พืชผัก ข้าวโพดและถั่วเหลือง เป็นต้นทั้งนี้นวัตกรรมดังกล่าวได้รับรางวัล ผลงานวิจัยวิทยานิพนธ์ระดับดี จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2557 · นวัตกรรม "พยากรณ์การเกิดโรคของต้นข้าวในนาข้าว" ชุดเซนเซอร์เก็บข้อมูลสภาพอากาศในนาข้าว อันได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณน้ำฝนแบบ Real-time บริเวณแปลงนาในระยะ 1กิโลเมตรพร้อมกับส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไร้สายไปยังโปรแกรมเฉพาะและเตือนผู้ปลูกข้าวให้เฝ้าระวังการเกิด 5 โรคสำคัญกับต้นข้าวล่วงหน้า คือ โรคใบไหม้ โรคใบขีดโปร่งแสง โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง พร้อมแนะนำแนวทางป้องกันกำจัดโรค ที่มีราคาถูก ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วไปยังสมาร์ทโฟนของเกษตรในทันที ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าว ได้นำร่องใช้จริงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ณ ผืนนาของเกษตรกรในหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดอ่างทอง ซึ่งมีความแม่นยำสูงถึง 90% ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงของการพัฒนาโปรแกรมเฉพาะให้มีความแม่นยำสูงขึ้นและมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์โรคอื่น ๆ ของข้าวได้ ตลอดจนตั้งเป้าขยายพื้นที่ทดสอบไปยังภาคต่าง ๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศโดยล่าสุด นวัตกรรมดังกล่าว สามารถคว้ารางวัลเหรียญทองแดง จากเวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติครั้งที่ 44 ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา · นวัตกรรมย่อยสลายเศษพืชและฟางข้าว (หรือ "ไบโอออร์ก้า-พลัส") นวัตกรรมย่อยสลายเศษซากพืช ในรูปของสารละลายชนิดผงที่ต้องผสมน้ำในอัตราที่เหมาะ เพื่อฉีดพ่นต้นพืชหรือหมักฟางข้าวก่อนไถกลบมีคุณสมบัติช่วยบำรุงดินให้พร้อมต่อการเติบโตของต้นข้าว โดยไม่ทิ้งสารพิษตกค้าง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มธาตุอาหารที่จำเป็นกับพืชและป้องกันโรคในพืช อาทิ โรคขอบใบแห้ง ใบจุดสีน้ำตาล ใบขีดสีน้ำตาล โรคกาบใบแห้ง และโรคเน่าคอรวง ด้าน ดร.สุธีรา วัฒนกุล นักวิจัยจากภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยการแปรรูปข้าวสู่ผลิตภัณฑ์ขนมเค้กข้าว และบิสกิตจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ กล่าวว่า สำหรับการแปรรูปข้าวสู่ผลิตภัณฑ์ขนมเค้กและขนมกรุบกรอบ มีแนวคิดมาจากการคิดต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวสารหลังการเก็บเกี่ยว ประกอบกับไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบของคนในปัจจุบันที่ต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่สามารถทานง่ายและได้ประโยชน์โดยเป็นการนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีอาหาร ผนวกกับศิลปะในการปรุงแต่งสีสันและรสชาติโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ · ผลิตภัณฑ์บิสกิตจากแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมบิสกิตที่กรอบนอกนุ่มใน ทานง่าย พกพาสะดวก แต่ยังคงคุณประโยชน์จากข้าวไรซ์เบอร์รี่เสริมโปรตีนสกัดจากถั่วอย่างเต็มอัตรา โดยจะให้พลังงานสูง ชะลอความแก่ บำรุงสายตา ป้องกันผมร่วง รวมถึงป้องกันอาการเหน็บชา ฯลฯ อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อยู่ในระหว่างการยื่นอนุสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา · ผลิตภัณฑ์เค้กโรล(Roll cake) ขนมเค้กโรลผลิตจากแป้งข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นธัญพืชที่ปราศจากกลูเตน จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่แพ้กลูเตน ประกอบกับการใช้กัมจากเมล็ดแมงลักที่จะช่วยปรับปรุงเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ตัวผลิตภัณฑ์ยังมีส่วนประกอบเป็นครีมเสาวรส ที่มีเนื้อสัมผัสเนียนนุ่ม และมีกลิ่นหอมหวาน ซึ่งเสาวรสเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีประโยชน์ร่างกายทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อยู่ในระหว่างการยื่นอนุสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งมั่นสู่การเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อสังคมไทยปลูกฝังจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ต่อบุคลากรและนักศึกษา ด้วยการยึดมั่นในความเป็นธรรม การมีจิตสาธารณะ และการมีความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างบัณฑิตยุคใหม่ให้มีคุณสมบัติผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21 สอดรับตามแนวคิด "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง" สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หมายเลขโทรศัพท์02-564-4493หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ www.tu.ac.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ