ผลวิจัยจากออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ และเอสเอพี ตอกย้ำถึงอิทธิผลของทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อผลงานขององค์กร

ข่าวทั่วไป Thursday June 23, 2016 10:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 มิ.ย.--FleishmanHillard Thailand เอสเอพีและออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ เผยข้อมูลจากการสำรวจ Workforce2020 เพื่อเจาะลึกถึงเคล็ดลับเบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรที่มีผลงานโดดเด่น รายงานวิจัยอิสระ Workforce2020 ซึ่งจัดทำขึ้นจากข้อมูลทั่วโลกโดย ออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ และเอสเอพี เอสอี (NYSE: SAP) เผยว่าองค์กรที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างจริงจังมักจะมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง โดยรายงานวิจัยดังกล่าวครอบคลุมองค์กรธุรกิจทั่วโลก ทั้งในกลุ่มที่มีผลงานดีและไม่ดี เพื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความสำคัญกับพนักงาน และความสำเร็จทางการเงินของตัวองค์กรเองผลการวิจัยเผยว่าองค์กรที่ทำผลงานได้ดี มักมีแนวโน้มด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ ดังนี้ องค์กรที่ประสบความสำเร็จ มีความเข้าใจในแนวโน้มเชิงคุณลักษณะของบุคลากร และพร้อมวางแผนรองรับ ผู้บริหารขององค์กรที่มีอัตราการเติบโตสูงมักมีวิสัยทัศน์กว้างไกล เล็งเห็นถึงอนาคต และมีความพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากรในภาพรวม โดยพวกเขาจะใส่ใจกับแนวโน้มเชิงคุณลักษณะของบุคลากรในองค์กร ธุรกิจในกลุ่มนี้มักมีมุมมองตรงกันว่า กลยุทธ์การทำงานของตนมีรากฐานมาจากความเปลี่ยนแปลงหลักสองประการ ได้แก่ปริมาณคนรุ่นใหม่ที่เพิ่มขึ้น และอายุที่เพิ่มมากขึ้นของบุคลากรในภาพรวม "ทุกองค์กรมีกลยุทธ์ทางธุรกิจของตนเอง" ไมค์ เอ็ตลิง ประธานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของซักเซสแฟกเตอร์ส บริษัทในเครือเอสเอพี กล่าว "แต่การจะเปลี่ยนกลยุทธ์ให้กลายเป็นผลสำเร็จนั้น จำเป็นจะต้องอาศัยบุคลากรที่มีความมุ่งมั่น ตื่นตัว และทำงานได้มีประสิทธิผลดี ด้วยเหตุนี้เอง การบริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์จึงมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อความสำเร็จขององค์กร ผู้บริหารที่รับผิดชอบงานในด้านนี้มีโอกาสที่จะค้นหา สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรผู้มีความสามารถให้นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จทางการเงิน ดังที่รายงานวิจัย Workforce2020 ได้สรุปไว้" องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะจ้างงานและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถเอาไว้ได้ องค์กรที่มีอัตราการเติบโตสูงจะสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถได้ดีกว่า โดยราวร้อยละ 55 ขององค์กรกลุ่มนี้เผยว่าพวกเขาพอใจในคุณภาพของผู้สมัครงานในแทบทุกตำแหน่ง ขณะที่ในกลุ่มองค์กรที่มีผลกำไรต่ำกว่าค่ามาตรฐานของตลาดนั้น มีระดับความพอใจอยู่เพียงร้อยละ 46 นอกจากนี้ ปัญหาด้านคุณภาพบุคลากรขององค์กรที่มีผลงานไม่ดีจะส่งผลกับการทำงานในด้านอื่น ๆ ด้วย เนื่องจากกว่าครึ่งหนึ่งขององค์กรในกลุ่มนี้ระบุว่าปัญหาด้านการจ้างงานมีผลกับกลยุทธ์การบริหารธุรกิจในภาพรวมด้วย องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะให้รางวัลตอบแทนพนักงานโดยยึดผลงานเป็นเกณฑ์ แทนที่จะยึดอายุงานเป็นหลัก ราวร้อยละ 60 ขององค์กรที่มีอัตราการเติบโตสูง ระบุว่าองค์กรมีนโยบายที่มุ่งเน้นผลงานเป็นปัจจัยสำคัญเหนือกว่าอายุงาน ขณะที่กลุ่มองค์กรที่มีผลงานต่ำกว่ามาตรฐานมีแนวคิดในทิศทางเดียวกันอยู่ไม่ถึงครึ่ง "ตลอดช่วงห้าปีที่ผ่านมา องค์กรของเราได้เติบโตผ่านทางการควบรวมกิจการหลายครั้งด้วยกัน" เมแกน เมซันเนอร์ รองประธานอาวุโสฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของ เอ็นทีที ดาต้า กล่าว "เราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรจะต้องมีทรัพยากรมนุษย์เป็นพลังขับเคลื่อน และการบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพก็ถือเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญไม่น้อยในธุรกิจนี้ เอสเอพีและซักเซสแฟกเตอร์สได้ช่วยให้เราปรับเปลี่ยนการทำงานด้านนี้จนมีทิศทางเชิงกลยุทธ์ชัดเจนยิ่งขึ้น และลดความซับซ้อนลง ด้วยการนำแพลตฟอร์มหนึ่งเดียวมาใช้บริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์ทั่วโลก ทั้งหมดนี้ทำให้ธุรกิจของเราสามารถทำผลงานได้ดีและประสบความสำเร็จในภาพรวม" องค์กรที่ประสบความสำเร็จมีผู้บริหารระดับสูงที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านทรัพยากรมนุษย์ องค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยมจะให้ความสำคัญกับปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ในระดับที่สูงกว่าองค์กรกลุ่มอื่นมาก โดยปัญหาด้านดังกล่าวถือเป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้บริหารสูงสุดขององค์กรในกลุ่มนี้ ผู้บริหารในองค์กรที่มีอัตราการเติบโตสูงมีแนวโน้มสูงที่จะมองประเด็นด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นแรงขับเคลื่อนเบื้องหลังกลยุทธ์ขององค์กรในระดับสูงสุด (ร้อยละ 64 ขณะที่องค์กรกลุ่มอื่นมีอัตราส่วนเพียงร้อยละ 49) ขณะที่ราวหนึ่งในสี่ขององค์กรที่มีผลงานต่ำกว่ามาตรฐานมองว่าประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญนักในการวางแผนธุรกิจ และจะยังคงยึดมุมมองนี้ต่อไปในช่วงสามปีข้างหน้า "เป้าหมายของเราในการจัดทำงานวิจัยนี้คือการพิสูจน์ความเชื่อที่ว่า การให้ความสำคัญกับปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์จะทำให้องค์กรมีผลงานดียิ่งขึ้น" เอ็ดเวิร์ด โคน บรรณาธิการบริหารแผนก Thought Leadership ของออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ กล่าว "ผลวิจัยที่ออกมาแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างองค์กรที่เตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต และองค์กรที่ไม่ใส่ใจในด้านดังกล่าวได้อย่างชัดเจน เราหวังว่าข้อมูลผลวิจัยนี้จะช่วยเน้นย้ำให้ทุกฝ่ายตระหนักว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับองค์กร โดยบริษัทที่ล้าหลังในด้านนี้จะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้สามารถก้าวทันคู่แข่งและอยู่รอดได้ต่อไป" องค์กรที่ประสบความสำเร็จมักใส่ใจในการฝึกสอนและดูแลพนักงาน กว่าครึ่งหนึ่งขององค์กรที่มีผลงานดีระบุว่ามักมีการจัดกิจกรรมหรือหลักสูตรฝึกสอนต่าง ๆ ให้เป็นสวัสดิการแก่พนักงาน ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดขององค์กรที่มีผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน นอกจากนี้ องค์กรที่มีอัตราการเติบโตสูงยังมีระบบการดูแลฝึกสอนพนักงานอย่างเป็นทางการมากกว่าองค์กรที่มีผลงานต่ำกว่ามาตรฐานราวร้อยละ 16 องค์กรที่ประสบความสำเร็จมักตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูล ถึงแม้ว่าองค์กรในทุกกลุ่มจะเผชิญกับปัญหาจากการขาดข้อมูลด้วยกันทั้งสิ้น แต่องค์กรที่มีผลงานไม่ดีนักจะพบกับปัญหาดังกล่าวนี้มากกว่าองค์กรที่มีผลงานดี จนทำให้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลการทำงานในอนาคต ข้อมูลที่องค์กรเหล่านี้ยังขาดแคลน มีทั้งในด้านสภาพตลาดแรงงาน สถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรม ลูกค้า ข้อมูลทางการเงิน และการแปรสภาพข้อมูลที่ซับซ้อนให้แสดงผลเป็นแผนภาพที่เข้าใจง่าย ทั้งนี้ เอสเอพีได้ทำการเผยแพร่บทความ แผนภาพ และเอกสารสรุปข้อมูล ทั้งในระดับภูมิภาคและประเทศ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์เล็งเห็นถึงบทบาทของงานด้านดังกล่าวในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จและผลกำไรที่สูงยิ่งขึ้น ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลจากงานวิจัยและศึกษาตัวอย่างเรื่องราวความสำเร็จขององค์กรต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์ของแคมเปญ "Growth" ท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ข่าวของเอสเอพี หรือพบกับความเคลื่อนไหวล่าสุดของบริษัทได้ทางทวิตเตอร์ที่ @sapnews
แท็ก ข้อมูล   ฟอร์ด  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ