การช่วยชีวิตและการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤต (กู้วิกฤต ชีวิตเด็ก)

ข่าวทั่วไป Friday June 24, 2016 17:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 มิ.ย.--masscotcommunication หน่วยดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤต ศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ข่าวการเกิดอุบัติเหตุในเด็กเล็กมีให้เห็นบ่อยครั้งบนหน้าหนังสือพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิตจากการจมน้ำ อุบัติเหตุบนท้องถนน ถูกล็อกติดอยู่ในรถ การสำลักเนื่องจากมีวัตถุแปลกปลอม มีภาวะติดเชื้ออย่างรุนแรง หรือเกิดภาวะช็อค หากได้รับการรักษาอย่างล่าช้า หรือไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและเป็นสาเหตุให้เด็กเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ การให้การรักษาพยาบาลเด็กกับผู้ใหญ่นั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน แม้กระทั่งเด็กเล็กกับเด็กโต หากมีสัญญาณที่ส่ออันตราย ผู้ปกครองควรต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ด้วยเหตุนี้ หน่วยหออภิบาลผู้ป่วยเด็กวิกฤต (ICU) ศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ และศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ จึงได้จัดงาน "การช่วยชีวิตและการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤต (กู้วิกฤต ชีวิตเด็ก)" เพื่อร่วมรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในเด็ก พร้อมแนะวิธีการช่วยเหลือปฐมพยาบาลและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเด็กวิกฤตอย่างถูกวิธี ตลอดจนขอบเขตในการรักษาของหออภิบาลผู้ป่วยเด็กวิกฤต โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งสามารถเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดความสูญเสียได้ พญ.สมจินตนา เอี่ยมสรรพางค์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า อุบัติเหตุและภาวะวิกฤต สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา โรงพยาบาลกรุงเทพ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กวิกฤตในแต่ละสถานการณ์ ในประเทศไทยพบว่า สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี คือ การจมน้ำ เมื่อเทียบกับทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ และเป็นอันดับ 3 ของโลก เด็กจมน้ำ มักเกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงภายในบ้าน เช่น จมถังน้ำ อ่างอาบน้ำ กะละมัง หรือไม่ก็อาจจะจมน้ำในแหล่งน้ำรอบ ๆ บ้าน เช่น คูน้ำหลังบ้าน บ่อน้ำ หรือสระว่ายน้ำ เด็กที่จมน้ำจะขาดอากาศหายใจ หากเกิน 4-5 นาที สมองจะเกิดภาวะสมองตายซึ่งไม่สามารถกลับฟื้นได้ ทำให้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพตลอดชีวิต เด็กจมน้ำส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล ดังนั้นทางที่ดีที่สุดพ่อแม่ควรป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์จมน้ำเกิดขึ้น และหากเกิดขึ้นเด็กจะต้องได้รับการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้นที่ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด คือ การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (BLS) คือการช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม ป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support) โดยการปั๊มหัวใจ ให้วางคนจมน้ำนอนราบ ตะแคงหน้าเอาน้ำออกจากปาก และใช้สันมือทั้ง 2 ข้างกดบริเวณกลางหน้าอก ลึกประมาณ 1.5-2 นิ้ว และช่วยในการเป่าปาก 2 ครั้ง ในกรณีมีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ในเหตุการณ์) จนครบ 2 นาที และรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน หรือโทร.แจ้ง 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน หรือโทร 1719 ของรพ. กรุงเทพ เพื่อตามเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือแล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาต่ออย่างรวดเร็ว" พญ. ดาริน บรรจงศิลป์ กุมารแพทย์โรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤต มีการเจ็บป่วยรุนแรง มีทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหาทางอายุรกรรมและศัลยกรรม รวมทั้งผู้ป่วยเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุต่างๆ เช่น จมน้ำ พลัดตกหกล้ม การได้รับสารพิษ หรืออุบัติเหตุทางการจราจรต่างๆ ภาวะวิกฤติทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยเด็กทั่วไป ผู้ป่วยเด็กเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและการดูแลรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที บางรายต้องอาศัยเครื่องช่วยหายใจ บางรายอาจจำเป็นต้องให้การปฏิบัติการกู้ชีวิต การรักษาจึงจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตลอดจนเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โรงพยาบาลมีหน่วยดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤต ศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ พร้อมให้การดูแลรักษาอย่างครบครัน เพื่อตอบสนองให้ทันต่อสถานการณ์และหยุดยั้งการสูญเสีย โดยกุมารแพทย์เวชบำบัดวิกฤตประจำตลอด 24 ชั่วโมง และแพทย์สหสาขาวิชาชีพ เช่น กุมารแพทย์โรคหัวใจ กุมารแพทย์ระบบประสาท กุมารแพทย์โรคไต กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ กุมารแพทย์ระบบทางเดินอาหาร กุมารแพทย์โรคระบบภูมิแพ้ และศัลยแพทย์เด็ก นักกายภาพ พยาบาลที่ผ่านการอบรมการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤต ติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด สามารถให้การดูแลผู้ป่วยเด็กได้อย่างตรงจุด และมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับตัวอย่างโรคที่ควรได้รับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตเด็ก (Pediatric Intensive Care unit : PICU) หรือ หอผู้ป่วยไอซียูเด็ก เช่น ภาวะหายใจล้มเหลว การติดเชื้อรุนแรง ภาวะช็อคจากสาเหตุต่างๆ ภาวะล้มเหลวทางระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต จมน้ำ ได้รับสารพิษเกินขนาด ผู้ป่วยอุบัติเหตุ ตลอดจนผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดที่ต้องการการดูแลหลังผ่าตัดอย่างใกล้ชิด พญ. เสาวนีย์ ชัยศุภรัศมีกุล กุมารแพทย์โรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางโรงพยาบาลมีทีมแพทย์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเด็กที่มีประสบการณ์และผ่านการอบรมหลักสูตร Pediatric Advanced Life Support (PALS) หลักสูตรสำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤต มีการเจ็บป่วยรุนแรง ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลกรุงเทพ จึงมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยเด็ก (Pediatric Transportation ) ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งทางอากาศและทางบก โดยเน้นคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการส่งต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการเจ็บป่วยรุนแรงและในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบาดเจ็บหลายระบบ เนื่องจากการส่งต่อผู้ป่วยเด็กแตกต่างจากการส่งต่อผู้ใหญ่ในบางเรื่องซึ่งมีความจำเพาะ ต้องอาศัยความละเอียด ประสบการณ์ รวมถึงอุปกรณ์ ยา เครื่องมือต่างๆ ที่เฉพาะกับผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลนำเทคโนโลยีมาช่วยในการส่งต่อผู้ป่วยเด็กให้มีความรวดเร็ว ฉับไว มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตไปสู่ระดับการดูแลที่สูงขึ้นโดยติดต่อประสานงานกับหออภิบาลผู้ป่วยเด็กวิกฤต(ICU) เพื่อให้การส่งต่อเสมือนการยกเอา Intensive Care unit หรือ Mobile ICU เข้าไปดูแลบริหารจัดการ มุ่งเน้นความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผู้ป่วยเด็กเป็นหลัก โดยสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเด็กวิกฤตได้ทั้งทางรถพยาบาลและทางอากาศ (SKY ICU) โดยมีทีมแพทย์และพยาบาลพร้อมดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอดการเดินทาง มีการติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลต้นทาง เพื่อส่งต่อข้อมูล จัดเตรียมบุคลากร และอุปกรณ์ในการให้การดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ คุณพ่อคุณแม่จึงมั่นใจได้ว่า ลูกรักจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด เพื่อกลับสู่อ้อมกอดที่อบอุ่นอีกครั้ง ศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ ศูนย์สุขภาพเด็กที่คุณไว้วางใจ สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชม. ที่โทร. 1719 อุ่นใจได้ ไม่ว่าใกล้หรือไกล เราพร้อมเสมอ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ