สร้างประชาธิปไตยทางการศึกษา เริ่มที่ระบบโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

ข่าวทั่วไป Wednesday October 19, 2016 15:16 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--อเกต คอมมิวนิเคชั่น หลายคนเลือกโรงเรียนเพียงเพราะชื่อเสียง ค่าเทอมแพง หลายคนเลือกโรงเรียนเพียงเพราะใกล้บ้าน เดินทางสะดวก หลายคนเลือกโรงเรียนเพียงเพราะราคาถูก ฯลฯ นานาเหตุผลข้างต้นไม่ใช่ปัจจัย การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ได้ดีอีกต่อไป ในการกล่าวปาฐกถาของ ศ.ดร.มานาบุ ซาโต ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในงานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีครูครั้งที่ 9 ในหัวข้อ "โรงเรียนเป็นชุมชนแห่ง การเรียนรู้" เป็นอีกคำยืนยันว่า สถานะของโรงเรียน สถานะทางการเงิน สถานะของผู้เรียน ไม่มีสิ่งใดสำคัญเท่าสภาพแวดล้อมของห้องเรียน โรงเรียน และการเชื่อมโยงกันระหว่าง อนุบาล ประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย ดังนั้นการเรียนรู้ (Learning)จึงเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกระดับ หากบุคลากรมีการจัดการความรู้และกระจายมันออกไปอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยยกระดับการศึกษา (Education)ให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น ดร.ซาโต ระบุว่า ก่อนจะกลายมาเป็นนักการศึกษาที่ได้รับการยอมรับ เขาเองทำพลาดในเรื่องปฏิรูปการศึกษามากกว่า1,000 ครั้ง แต่นั่นไม่ใช่ความล้มเหลวของการปฏิรูปการศึกษา เขายังใช้ความพยายามอีกหลายครั้งจนทำให้ญี่ปุ่นมีระบบการศึกษาที่เรียกว่า "โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้" อย่างเป็นทางการประมาณ 300 แห่งทั่วประเทศ และมีเครือข่ายสถานศึกษาที่เข้าร่วมระบบ "โรงเรียนเป็นชุมชนแห่ง การเรียนรู้" อีกกว่า 3,000 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น "ประสบการณ์ทำงานใน 40 ปีของผม ถือว่าคุ้มค่าเมื่อผมเห็นผลสำเร็จเหล่านี้ ผมอยากจะอธิบายว่า ญี่ปุ่น ที่ ได้ชื่อว่าเด็กเรียนเก่งติดอันดับโลกนั้น ไม่ใช่สาระอะไรหรอก แต่ผมอยากให้ทุกคนชื่นชมญี่ปุ่น ที่ ความผูกพันระหว่างการศึกษา และความสัมพันธ์ที่ทำให้ค่าเฉลี่ยของเด็กมีความรู้อย่างเท่าเทียมกันและพึ่งพาอาศัยกันมากกว่า ผมเคยไปลงพื้นที่แห่งหนึ่งในโรงเรียนที่ยากจนที่สุดของ โอซากา ญี่ปุ่น พบว่า มีเด็กคนหนึ่งชื่อ โซระ เธอไม่ตั้งใจเรียนและมีพฤติกรรมที่ชอบมองขึ้นเพดาน ตลอดเวลา มีช่วงหนึ่งเธอเบื่อแล้วมองไปที่ คาโอริ เพื่อนร่วมชั้น แล้วถามเพื่อนว่า เธอทำอะไรอยู่ คาโอริ ก็ตอบว่าเรียนอยู่ สนุกมาก จากนั้นคาโอริก็ชวน โซระ เข้ามาเรียนด้วยและลองทำแบบฝึกหัดดู ซึ่ง โซระ ทำผิดหลายครั้ง แต่คาโอริ ไม่คิดโทษเพื่อน หรือ ต่อว่าใดๆ เธอยังทำในสิ่งตรงกันข้าม คือ ให้โซระอธิบายว่าตอบแบบฝึกหัดถูกหรือผิด ซึ่งโซระรู้ตัวดีว่าผิดและยังพยายามทำแบบฝึกหัดต่อไป ส่วนคาโอริก็กล่าวชื่นชมให้กำลังใจเพื่อนเสมอ กระทั่งซาโอระเริ่มหันมาตั้งใจเรียนในที่สุด บรรยากาศแบบนี้ ผมทำวิจัยออกมาพบว่า ความสัมพันธ์ในระหว่างเรียนช่วยฉุกเด็กด้อยพัฒนาการให้ดีขึ้นได้ ซึ่งผลวิจัยนี้สอดคล้องกับแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และเมื่อทำไปเรื่อยๆก็พบว่า ส่วนนี้สำคัญมาก การสร้างความสัมพันธ์ด้านพัฒนาการของเด็กต้องมาพร้อมกับความเมตตา และความจริงใจของพวกเขา ซึ่งกิจกรรมเช่นนี้ ครูและผู้ปกครองต้องร่วมมือกัน เช่นเปิดโอกาสให้พี่สอนน้อง น้องสอนพี่ในช่วงที่เลิกเรียน" ดร.ซาโต กล่าวถึงประเด็นวิจัยที่เกิดขึ้นใน โอซากา ประสบการณ์นานถึง 4 ทศวรรษ นี้เองทำให้ ดร.ซาโต เป็นนักวิชาการด้านการศึกษาที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนากาศึกษาและการเรียนรู้มากกว่า20 เล่ม และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆมากมาย เพื่อเผยแพร่ สู่สาธารณะ เช่น ภาษากัมพูชา รัสเซีย อังกฤษ จีนฯลฯ ซึ่งนอกจากจะตีพิมพ์หนังสือที่มีคุณค่าเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาแล้ว ดร.ซาโต ยังทำวิจัยในสถานศึกษาอีกมากกว่า 500แห่ง ทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน แล้วนำมาเป็นข้อเสนอให้แก่นักจัดการการศึกษา ซึ่งผลการวิจัยได้รับการยอมรับจากระเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ฯลฯ และสื่อใหญ่ในญี่ปุ่นอย่าง NHK กับAsahi รายงานผลสัมฤทธิ์ไว้ว่า การศึกษาในญี่ปุ่นมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจาก 17% เป็น 72% ภายในเวลาไม่กี่ปี ส่งผลให้ระบบการศึกษาญี่ปุ่นกลายมาเป็นการศึกษาแบบ "โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) อย่างสมบูรณ์และได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ซึ่งประเทศไทยเองก็กำลังริเริ่มแนวคิดเช่นนี้ ดร.ซาโต กล่าวเพิ่มว่า เมื่อราว 2ปีที่แล้วได้รับเชิญมาเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณในประเทศไทยเพื่อพบปะนักศึกษาและสังเกตการณ์ การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ พบว่า ประเทศไทยมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงญี่ปุ่นมาก คือ มีระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบเพื่อนปรึกษาเพื่อน และ มีความสนิทสนมกันในห้องเรียน ซึ่งเป็นข้อดีของไทย แต่ประเทศไทยยังอ้างอิงข้อสอบแห่งชาติเพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอยู่ ตรงนี้คิดว่า อาจจะต้องปรับปรุงแก้ไข เพราะบางส่วนของคนไทยยังเชื่อว่า มหาวิทยาลัยที่ดีต้องมี 2-3 ภาษาและมีค่าเล่าเรียนแพง และเด็กฉลาดก็จะมาจากโรงเรียนเหล่านี้ ซึ่งหากปฏิรูปได้จริง จะพบว่า นั่นไม่ใช่ปัจจัยหลัก เพราะหากประเทศสำเร็จด้านการพัฒนาการศึกษาจริง ประเทศนั้นต้องเอาการศึกษามาเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยและเป็นการศึกษาที่มีความเป็นธรรมด้านสิทธิมนุษยชน หมายความว่า แม้แต่ในโรงเรียนเล็กๆที่เด็กยากจน เด็กก็ต้องมีโอกาสเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ "ผมไม่ค่อยชอบประเภทหนึ่งห้องมีผู้นำคนเดียว พอถึงเวลาแลกเปลี่ยน นำเสนอก็จะมีแต่คนหน้าเดิมๆ ตรงนี้ผมฝากไว้ว่า นี่คือตัวฉุดการศึกษาให้แย่ลง แต่ผมอยากแนะนำสั้นๆว่า ให้ครู วิทยากร ผู้ปกครองคุยกันแล้วถอดบทเรียน โดยทำยังไงก็ได้ให้โรงเรียนอนุบาล ประถม มัธยม มหาวิทยาลัยและสถาบันครอบครัวใกล้ชิดกันมากที่สุด คุณอาจจะทำแบบเมกซิโกก็ได้ที่เขามีการฝากกิจกรรมการเรียนกลับไปทำที่บ้าน โดยให้ผู้ปกครองเป็นคนสอน หรือมีระบบโฮมสคูลแบบประเทศตะวันตกก็ได้ หมายถึง มีชั่วโมงให้เด็กเรียนรู้จากแม่ จากพ่อ จากญาติ ไม่ใช่รอมารับแค่ในโรงเรียน แล้วทำยังไงก็ได้ให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้เข้าไปรู้ระบบการเรียนของอนุบาล ให้อนุบาลมารู้ระบบการเรียนของมหาวิทยาลัย" นักวิชาการการศึกษาอธิบายในตอนท้าย ดร.ซาโต กล่าวว่า อยากให้สังคมระลึกเสมอว่า การศึกษาไม่ใช่การเมือง แต่การศึกษา คือ ความยุติธรรม คือประชาธิปไตย คือสิทธิของคน และทุกคนต้องมีโอกาสเรียนรู้ในสิ่งที่ดีที่สุด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ