วิทยาศาสตร์ฯ มธ. เผยสถิติเด็กวิทย์ ปี 58 ได้งานทำ 80% พร้อมชี้ 'วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี’ ดีมานด์สูง

ข่าวทั่วไป Thursday February 9, 2017 14:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ก.พ.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เผยสถิติบัณฑิตวิทยาศาสตร์ รุ่นปีการศึกษา 2558 ได้งานทำสูงถึง 80% โดยสูงกว่าปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมาถึง 16.39% จากดีมานด์ของกลุ่มอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่ต้องการบุคลากรทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเป็นจำนวนมาก อันเป็นผลจากนโยบาย 'ไทยแลนด์ 4.0' ของรัฐบาล ที่มุ่งยกระดับและพัฒนาเศรษฐกิจประเทศในภาพรวมด้วยนวัตกรรม อันมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นกลไลสำคัญในการขับเคลื่อน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด SCI+BUSINESS ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ที่มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ควบคู่ไปกับทักษะการบริหารจัดการ และคิดประกอบการ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. สามารถผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพ ได้เป็นจำนวนกว่า 9,000 คน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-4440-59 ต่อ 2010 หรือเว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th รองศาสตราจารย์ ปกรณ์ เสริมสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า จากผลรายงานการสำรวจสภาวะการมีงานทำของบัณฑิตปริญญาตรี รุ่นปีการศึกษา 2558 ในรอบ 4 เดือนแรก พบว่าบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถมีงานทำได้เป็นจำนวนสูงถึง 80.16% หรือประมาณ 740 คน โดยสูงกว่าปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมาถึง 16.39% ซึ่งถือเป็นสัดส่วนการมีงานทำของบัณฑิตที่ก้าวกระโดด โดยติดอันดับ 5 คณะแรกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่บัณฑิตจบใหม่ ได้งานทำสูง นับเป็นความภาคภูมิใจของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้รอบทั้งในด้านวิชาการและปฏิบัติการ โดยสามารถบูรณาการเทคนิคและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ รวมกับศาสตร์อื่นได้อย่างเหมาะสม รวมถึงมีความก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกและวิทยาการที่ทันสมัย รองศาสตราจารย์ ปกรณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับความสำเร็จดังกล่าว ถือเป็นการสะท้อนถึงดีมานด์ของกลุ่มอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่ต้องการบุคลากรทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มอาชีพนักวิจัย และนักพัฒนานวัตกรรม เป็นต้น อันเป็นผลจากนโยบาย "ไทยแลนด์ 4.0" ของรัฐบาล ที่มุ่งยกระดับและพัฒนาเศรษฐกิจประเทศในภาพรวมด้วยนวัตกรรม อันมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นกลไลสำคัญในการขับเคลื่อน ซึ่งนับเป็นโอกาสอันสำคัญของประเทศไทยที่มีผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการสะท้อนถึงมาตรฐานการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ที่มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับทักษะการบริหารจัดการ และคิดประกอบการอย่างมีศักยภาพ ภายใต้แนวคิด SCI + BUSINESS ผ่านการผสมผสานหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง ร่วมกับองค์ความรู้ด้านพาณิชยศาสตร์และการบริหาร ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. สามารถผลิตบัณฑิตได้เป็นจำนวน 9,000 คน โดยส่วนใหญ่เลือกศึกษาต่อในสาขาวิทยาศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ ขณะที่อีกจำนวนหนึ่ง เลือกทำงานในสายอาชีพที่ต่างออกไป อาทิ เจ้าของกิจการหรือธุรกิสตาร์ทอัพ พนักงานขาย และนักบิน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สำหรับรายงานผลสำรวจสภาวะการมีงานทำของบัณฑิตปริญญาตรี ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2558 ในภาพรวม พบว่า บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา และสามารถมีงานทำทันที ภายใน 4 เดือน มีจำนวนสูงถึง 73.82% หรือประมาณ 3,279 คน โดยสูงกว่าปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมาประมาณ 1.07% นับเป็นการสะท้อนถึงศักยภาพและมาตรฐานการเรียนรู้ที่บ่มเพาะให้บัณฑิตมีคุณลักษณะที่ตรงใจนายจ้าง และตอบโจทย์เทรนด์อาชีพของโลกในทุกมิติ รองศาสตราจารย์ ปกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-4440-59 ต่อ 2010 หรือเว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ