เหล่าองค์กรชั้นนำแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดตัวกิจกรรมการเคลื่อนไหวของผู้บริโภคต้านโรคมาลาเรียเนื่องในวันมาลาเรียโลก

ข่าวทั่วไป Wednesday April 25, 2018 16:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 เม.ย.--เฟลชแมน ฮิลลาร์ด บริษัทชั้นนำและมูลนิธิต่างๆ ในเอเชียได้เปิดตัวโครงการ M2030 รวมพลังผู้บริโภคนับล้านรายเพื่อต่อสู้กับโรคที่ร้ายแรงที่สุดในโลก เนื่องในวันโรคมาลาเรียโลก บรรดาองค์กรชั้นร่วมเปิดตัวโครงการความร่วมมือใหม่ เพื่อสร้างความตระหนักและให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อช่วยยุติปัญหาโรคมาลาเรียให้หมดสิ้นไปภายในปี 2573 โดยโครงการ M2030 ได้รวบรวมองค์กรระดับโลกต่างๆ รวมทั้งองค์กรด้านสุขภาพ และผู้บริโภค เพื่อให้การซื้อหรือการกระทำอันเล็กน้อยต่างๆ ในชีวิตประจำวันสามารถเป็นส่วนร่วมในการจัดการกับโรคได้อย่างแท้จริง บริษัทที่เข้าร่วมโครงการจะได้สิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายการค้า M2030 โดยองค์กรเหล่านี้จะต้องจัดทำกิจกรรมขององค์กรณณ์เพื่อรณรงค์ในการสร้างความตระหนักและหาเงินทุน หรือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างผลกำไรให้กับผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ที่มีตรา M2030 ของโครงการโรคมาลาเรียต่างๆ รายการสนับสนุนทั้งหมดที่รวบรวมได้จากโดยกลุ่มพันธมิตร M2030 จะถูกส่งให้กับกองทุนโลก (The Global Fund) เพื่อต่อสู้กับโรคเอดส์ วัณโรคและโรคมาลาเรีย โดยจะนำมาใช้เพื่อสนับสนุนโครงการโรคมาลาเรียในประเทศต่างๆ ที่พวกเขาเรี่ยไรกองทุนมาได้ การเปิดตัวโครงการพันธมิตร M2030 ของเหล่าบริษัทชั้นนำในเอเชีย กองทุนโลก และผู้นำของเครือข่าย Asia Pacific Leaders' Malaria Alliance (APLMA) ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากกลุ่มผู้นำรัฐบาล ผู้นำธุรกิจและนักวิจัยจากลอนดอนเมื่อในวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมานี้ "เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการบุกเบิกของโครงการ M2030 เพื่อสนับสนุนภารกิจของพวกเขาในการกำจัดโรคมาลาเรียในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้หมดสิ้นไปภายในปี พ.ศ. 2573" กล่าวโดย นายคริส เฟิง ซีอีโอของ Shopee ซึ่งเป็นแหล่งช้อปปิ้งออนไลน์ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "ในฐานะบริษัทที่มุ่งมั่นในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ เรามุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันให้เกิดการรับรู้ การตระหนักและระดมทุนเพื่อสนับสนุนการกำจัดโรคมาลาเรีย โดยพวกเราหวังว่าผู้ใช้ Shopee ทุกคนจะสามารถเข้าร่วมสนับสนุนเรื่องนี้ได้ " เหล่าผู้นำและผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่ได้มารวมตัวกันในการประชุมโรคมาลาเรีย ณ กรุงลอนดอน ได้กล่าวว่าการดำเนินการต่างๆ นั้นควรจะเร่งให้เกิดเร็วมากขึ้น เนื่องจากว่าโรคมาลาเรียยังคงเป็นหนึ่งในโรคที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้คนทั่วโลก เป็นโรคที่สามารถคร่าชีวิตเด็กในทุกๆ สองนาที อย่างไรก็ตาม พวกเขายังคงมีความหวังเพราะพวกเขาสามารถเห็นผลได้ชัดเจนกว่าที่เคยว่าสามารถกำจัดโรคมาลาเรียให้หมดสิ้นได้ "สิ่งที่สำคัญกว่าความสามารถในด้านการเงินของภาคเอกชนนั้น ก็คือการมุ่งเน้นความตั้งใจไปที่การดำเนินการสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา รวมถึงการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นวิธีการสนับสนุนโครงการที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก" กล่าวโดย ปีเตอร์ แซนส์ ผู้อำนวยการบริหารของ กองทุนโลก "โครงการใหม่นี้จัดขึ้นเพื่อระดมทุน กระตุ้นให้บริษัทเอกชนต่างๆ มาร่วมมือกันยุติโรคมาลาเรีย ถือว่าเป็นความคิดริเริ่มที่น่าตื่นเต้นอย่างไม่น่าเชื่อ" แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคมาลาเรียมีลดลงไปถึงครึ่งหนึ่งในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ทว่าความคืบหน้าของโครงการกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง บิล เกตส์และ จูลี่ บิชอป รัฐมนตรีต่างประเทศประเทศออสเตรเลีย – รวมถึงนายกรัฐมนตรีทั้ง 15 คน เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และเจ้าชายแอนดรูว์แห่งสหราชอาณาจักร – ได้เตือนว่ารูปแบบของโรคมาลาเรียที่ต่อต้านยารักษากำลังคุกคามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งภัยคุกคามร้ายแรงนี้ไม่ได้อยู่ในเพียงภูมิภาคนี้ แต่ได้แพร่กระจายไปยังแอฟริกาจนมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นล้านคนโดยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่ามีเพียงวิธีเดียวที่จะสามารถหยุดความต้านทานต่อยารักษาภายในโรคนี้ คือการกำจัดโรคมาลาเรียให้หมดสิ้นจากภูมิภาคทั้งหมดไปพร้อมๆ กัน กลุ่มบริษัทที่มีความเป็นเอกลักษณ์และอยู่เบื้องหลังการดำเนินการโครงการ M2030 ได้แก่ Tahir Foundation จากอินโดนีเซีย; DT Families Foundation จากประเทศไทย; Shopee; Dentsu Aegis Network; และ Yoma Strategic Holdings จากประเทศพม่า ด้วยการรวมกันของพวกเขา จะสามารถเพิ่มจำนวนคนได้ถึง 46 ล้านคนภายในช่วงระยะเวลาสามปีข้างหน้า ทั้งนี้เพื่อช่วยระดมเงินมากกว่าล้านดอลลาร์สำหรับโครงการในการช่วยยุติการเกิดโรคมาลาเรีย "มูลนิธิ Tahir เป็นพันธมิตรอันยาวนานของ Bill and Melinda Gates Foundation และ กองทุนโลก" นาย Jonathan Tahir ประธานร่วมของ Tahir Foundation กล่าว "เราตื่นเต้นมากกับการใช้ทรัพยากรของเราเพื่อสนับสนุนภารกิจของโครงการ M2030 ในการยุติโรคมาลาเรียในประเทศอินโดนีเซียและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก" M2030 ได้วางแผนว่าภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ทางโครงการจะเพิ่มบริษัทอื่นๆ เข้ามาเป็นส่วนร่วมในการเพิ่มและเสริมสร้างกำลังจากผู้คนและบริษัทต่างๆ เข้ามาทำงานร่วมกันอย่างมีความหมายเพื่อกำจัดโรคมาลาเรียให้หมดสิ้นไป เกี่ยวกับ APLMA APLMA เป็นหน่วยงานภาคีของรัฐบาลเอเชียและแปซิฟิคที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเร่งความก้าวหน้าในการป้องกันโรคมาลาเรียและกำจัดโรคในภูมิภาคให้หมดสิ้นไปภายในปี 2573 APLMA ถูกสร้างขึ้นโดยเหล่าผู้นำของ the East Asian Summit (EAS) ในปี 2556 เพื่อเสริมสร้างความพยายามในการต่อต้านโรคมาลาเรีย ทั้งสองกลุ่มนี้จะช่วยปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติและปราบโรคมาลาเรียในภูมิภาคนี้ทั้งหมด ในแนวทางการปฏิบัติงานนี้ ทางแผนงาน The Asia Pacific Leaders' Elimination Roadmap ได้กำหนดลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์สำหรับการบรรลุเป้าหมาย 2030 เกี่ยวกับ M2030 M2030 เป็นโครงการริเริ่มของ APLMA ซึ่งรวมถึงกลุ่มพันธมิตรในปัจจุบันดังต่อไปนี้: - Shopee เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน - DT Families Foundation เป็นมูลนิธิการกุศลเอกชนที่มีวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมและพัฒนนาสังคมและโลกอย่างยั่งยืน ซึ่งทุกคนสามารถมีส่วนร่วมด้วยศักยภาพและความเมตตาต่อผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ - Yoma Strategic Holdings Ltd ได้จดทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการหลักของ Singapore Securities Exchange Trading Limited (SGX-ST) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจการเกษตร ธุรกิจยานยนต์และธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในประเทศพม่า - Dentsu Aegis Network เป็นกลุ่มสื่อระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านสื่อ ด้านการสื่อสารดิจิทัลและการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ที่ริเริ่มวิธีการใหม่ๆ ในการสร้างแบรนด์ต่างๆ ขึ้นมา - Tahir Foundation เป็นองค์กรเอกชนที่ก่อตั้งโดย Dato 'Sri Prof. Dr. Tahir ประธานบริหารกลุ่ม Mayapada - The Global Fund เป็นกองทุนโลกที่ต่อสู้กับโรคเอดส์ วัณโรคและโรคมาลาเรีย และเป็นกลุ่มพันธมิตรที่ได้ช่วยลงทุนเกือบถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในการสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่ดำเนินการโดยเหล่าผู้เชี่ยวชาญในประเทศ และชุมชนทั้งหลายที่กำลังต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ