นักศึกษา มจพ. คิดค้นสูตรปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพคว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดผลงานสหกิจศึกษาดีเด่น

ข่าวทั่วไป Tuesday May 22, 2018 12:51 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 พ.ค.--มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผลงานวิจัย เรื่อง การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพริก(Biofertilizer Production to Accelerate Chili Growth) ผลงานของนางสาวเกสรา เรืองประชุม นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) การันตีรางวัลจากการประกวดผลงานสหกิจศึกษาดีเด่น มจพ. ประจำปี 2561 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทนวัตกรรม ซึ่งการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพริก (Biofertilizer Production to Accelerate Chili Growth) เป็นการพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพในกระบวนการทางอุตสหกรรม โดยกระบวนการที่ทำการศึกษาจะช่วยเร่งระยะเวลาการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้มากขึ้นในระยะเวลาเท่าเดิม ประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักเพิ่มขึ้น เน้นการใช้จุลินทรีย์และเอนไซม์เข้ามามีส่วนช่วยในกระบวนการหมัก เป็นสูตรของปุ๋ยหมักที่คิดค้นได้เป็นสูตรปุ๋ยน้ำหมัก ช่วยลดต้นทุนในการผลิตมีปลอดภัยเมื่อผลผลิตถึงมือผู้บริโภค รวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม สูตรปุ๋ยน้ำหมักนี้ยังมีความสามารถในการต้านโรคในพืช (โดยเฉพาะโรคแอนเทรคในพริก) โดยมี ผศ.ดร ศศิธร คงเรือง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อหาวิธีที่เร่งกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพ โดยที่ยังสามารคงประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักนั้นไว้ ในขณะที่ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ลักษณะเด่นของสูตรปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของ งานวิจัยทำการออกแบบการทดลองด้วยวิธีทากุจิ ดีไซน์ (Taguchi Design) ซึ่งออกแบบการทดลองที่น่าเชื่อถือ ประหยัด และมีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง และทำการวิเคราะห์ผลการทดลองด้วยการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ เพื่อดูแนวโน้มของประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักแต่ละสูตร รวมถึงหาสูตรของปุ๋ยหมักที่เหมาะสมและคุ้มทุนในการผลิตมากที่สุด เน้นการใช้จุลินทรีย์และเอนไซม์เข้ามามีส่วนช่วยในกระบวนผลิตปุ๋ยน้ำหมัก และยังพบว่า ปุ๋ยน้ำที่ได้คิดค้นขึ้นมาจะผลิตได้รวดเร็ว ช่วยประหยัดต้นทุนและเวลาในการผลิตทั้งนี้ปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นกระบวนการวิธีในการทำปุ๋ยหมักที่มีการพัฒนาเพื่อให้การย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีการดำเนินงานใน การผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพดังกล่าว ใช้วัตถุดิบหลักจากเศษปลาที่เหลือทิ้งจากโรงงานปลากระป๋องมาทำการหมัก ซึ่งทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำและเป็นการช่วยลดของเสียจากอุตสาหกรรม จากนั้นออกแบบการทดลองแบบทากุจิ ดีไซน์ซึ่งทำให้ได้สูตรนำหมักชีวภาพที่แตกต่างกันมากถึง 18 สูตรที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการใช้จุลินทรีย์และเอนไซม์เข้ามามีส่วนช่วยในกระบวนการหมักแล้วทำการดึงตัวอย่างน้ำหมักออกมาตรวจในช่วงเวลาต่างๆกัน พบว่าเพียงใช้ระยะเวลาการหมักแค่ 1 เดือนก็สามารถให้ปริมาณของกรดอะมิโนอิสระเทียบเท่ากับการหมักตามธรรมชาติเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นก็นำผลการทดลองทั้งหมดที่ได้ไปวิเคราะห์ผ่านโปรแกรม Design Expert เพื่อให้โปรแกรมวิเคราะห์หาสูตรน้ำหมักที่คุ้มทุนในการผลิตออกจำหน่ายมากที่สุดออกมา ภายหลัง 6 เดือนยังพบว่า สูตรน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพที่ให้ปริมาณของกรดอะมิโนอิสระสูงกว่าสูตรเดิมๆ ที่ใช้เวลามากกว่า (ยิ่งปริมาณกรดอะมิโนมากขึ้น ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพในกระบวนการหมักที่ดีขึ้น) และยังมีคุณสมบัติเร่งการเจริญเติบโตและช่วยต้านโรคเชื้อราในพืชด้วย ประโยชน์การใช้งานวิจัย สามารถเป็นต่อยอดพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมครัวเรือนให้แก่เกษตรกรได้อย่างคุ้มค่าประหยัดเวลา นับว่าประโยชน์อย่างมากหากจะผลิตเพื่อจำหน่ายสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ อีกทั้งขั้นตอนทั้งหมดในการผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อดินในระยะยาว สอบถามรายละเอียดได้ที่ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โทรศัพท์ 0-2555- 2000 ต่อ 4303

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ