พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 22 สิงหาคม 2557 - 28 สิงหาคม 2557

ข่าวทั่วไป Monday August 25, 2014 08:56 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 22 สิงหาคม 2557 - 28 สิงหาคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 22-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 25-28 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำพูน และลำปาง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-ในช่วงที่มีฝนตกหนักโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อนควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

-สำหรับในระยะที่มีฝนตกติดต่อกันชาวสวนกาแฟ ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราสนิม โรคผลเน่าในกาแฟ และโรคเน่าคอดินในกาแฟต้นอ่อนซึ่งจะทำให้ใบและกิ่งแห้งตาย ต้นกาแฟเสียหาย

  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตวเลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรค ได้ง่ายโดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 22-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 25-28 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร และนครพนม อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • บริเวณที่มีฝนตกหนักโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

-สำหรับข้าวนาปีที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต ชาวนาควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคไหม้ โรคลำต้นเน่า และโรคใบขีดโปร่งแสง เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวมักระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นสูง

-ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหลีกเลี่ยงการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่นโคและกระบือ เพราะอาจป่วยเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 22-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-บริเวณที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นน้ำ และอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน นอกจากนี้ ควรเตรียมพื้นที่สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยง และพันธุ์พืชไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรยกพื้นคอกสัตว์ให้สูง และดูแลโรงเรือนอย่าให้อับชื้น พื้นคอกไม่ชื้นแฉะ และหลังคาไม่รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 22-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม หากมีน้ำท่วมขังเกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เกิน 7 วัน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้

-สำหรับชาวสวนผลไม้ ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง รวมทั้งดูแลบริเวณโคนต้นพืชอย่าให้มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ฟางข้าวและหญ้าแห้งอยู่บริเวณโคนต้น เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ที่มักระบาดในช่วงที่ดินมีความชื้นสูงในฤดูฝน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 22-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่ที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเคยมีน้ำท่วมมาก่อน โดยขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำ ตลอดจนสันดอนปากแม่น้ำอย่าให้ตื้นเขิน น้ำไหลได้สะดวก
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว ชาวสวนควร เก็บกวาดผลที่ร่วงหล่น และเน่าเสียไปกำจัดให้ถูกวิธี โดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ส่วนบริเวณที่มีฝนตกชุก ผู้ที่ปลูกพืชสวน เช่น ยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง โรคราสีชมพู ในยางพารา และโรคราสนิม ในกาแฟ เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 22-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในวันที่ 25-28 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่ที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเคยมีน้ำท่วมมาก่อน โดยขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำ ตลอดจนสันดอนปากแม่น้ำอย่าให้ตื้นเขิน น้ำไหลได้สะดวก
  • ส่วนบริเวณที่มีฝนตกชุก ผู้ที่ปลูกพืชสวน เช่น ยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง โรคราสีชมพู ในยางพารา และโรคราสนิม ในกาแฟ เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ