พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 01 เมษายน 2558 - 07 เมษายน 2558

ข่าวทั่วไป Wednesday April 1, 2015 14:56 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 01 เมษายน 2558 - 07 เมษายน 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-ในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย.ทางตอนบนของภาคจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกร ควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าว

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนและแสงแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าแขนยาวที่ระบายความร้อนได้ดี และสวมหมวกมีปีกบังแดด รวมทั้งดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียเหงื่อ ป้องกันโรคลมแดด
  • สภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดและเจ็บป่วย
  • สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล ตลอดจนพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตเสียหาย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดและเจ็บป่วย
  • ระยะนี้น้ำระเหยมีมากผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสม กับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงหากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สภาพอากาศที่ร้อน ฝนตกน้อย ประกอบกับมีน้ำระเหยมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชผักเพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนและแสงแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานหากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าแขนยาวที่ระบายความร้อนได้ดี และสวมหมวกมีปีกบังแดด รวมทั้งดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียเหงื่อ ป้องกันโรคลมแดด
  • สภาพอากาศที่ร้อน ฝนตกน้อย เอื้อต่อการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยและไรชนิดต่างๆในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง
  • เนื่องจากช่วงนี้น้ำระเหยมีมาก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรดูแลปริมาณน้ำ และจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสม หากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันหนาแน่น จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ช่วงนี้สภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งในเงาะ เพลี้ยไฟในมังคุด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม
  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยเกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชไร่และพืชผัก เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืช เหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้ต้นพืชตายได้
  • นอกจากนี้เกษตรกรควรวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออก มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทาตอนล่างของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
  • สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งประกอบกับน้ำระเหยมีมากทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรจึงควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืช เหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้ต้นพืชตายได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ช่วยรักษาความชื้นภายในดิน
  • สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งในระยะนี้ เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งในเงาะ เพลี้ยไฟในมังคุด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งประกอบกับน้ำระเหยมีมากทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรจึงควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืช เหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้ต้นพืชตายได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ช่วยรักษาความชื้นภายในดิน
  • สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งในระยะนี้ เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งในเงาะ เพลี้ยไฟในมังคุด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ