พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง ระหว่าง 27 กรกฎาคม 2559 - 02 สิงหาคม 2559

ข่าวทั่วไป Wednesday July 27, 2016 15:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 27 กรกฎาคม 2559 - 02 สิงหาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 27-30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 31 ก.ค. – 2 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศมีความชื้น : ระวังโรคไหม้ ส่วนเกษตรกรที่เริ่มทำนาไม่ควรหว่านกล้าแน่นเกินไป และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
  • ลำไย (ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว) ดินมีความชื้นสูง : ระวังป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า และห่อผลป้องกันผีเสื้อมวนหวาน
  • พืชไร่ ดินและอากาศมีความชื้นควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราน้ำค้างในข้าวโพด โรคเน่าคอดินในพืชตะกูลถั่ว เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 27-30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 31 ก.ค. -2 ส.ค.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศมีความชื้น : ระวังโรคไหม้ ส่วนเกษตรกรที่เริ่มทำนาไม่ควรหว่านกล้าแน่นเกินไป และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ ทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน
  • สัตว์เลี้ยง บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 27-30 ก.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าว อากาศมีความชื้น : ระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน และโรคไหม้
  • ไม้ดอก อากาศมีความชื้น : ระวังโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคจุดสนิมและโรคยอดเน่า ในกล้วยไม้ รวมทั้งโรคราสนิมและโรคดอกเน่า ในดาวเรือง
  • สัตว์ปีก ดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเท เพื่อลดความชื้นป้องกันสัตว์ป่วย

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 27-30 ก.ค. ในช่วงวันที่ 27-30 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 31 ก.ค.–2 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (แตกใบอ่อน) ดินและอากาศมีความชื้นสูง ควรระวัง โรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่ารวมทั้งศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนชอนใบในเงาะ มังคุด และลองกองเป็นต้น
  • พริกไทย ดินมีความชื้นสูง ระวังป้องกันโรครากเน่า
  • พืชไร่ และพืชผัก ดินและอากาศมีความชื้น ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และศัตรูพืชจำพวกหนอน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ค.- 2 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว) ดินและอากาศมีความชื้นสูง ควรระวัง โรคที่กิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่ารวมทั้งศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะผลในทุเรียน หนอนเจาะขั้วผลในเงาะ และหนอนแทะผลในมังคุด เป็นต้น
  • ยางพารา สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูง ระวังป้องกันโรครากขาว โรคราสีชมพู โรคเส้นดำ
  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) มีฝนตกหนัก ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนไหลลงบ่อ และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อ เพิ่มออกซิเจนในน้ำ
  • สัตว์น้ำ (ประมงชายฝั่ง) คลื่นลมมีกำลังแรง :ในช่วงวันที่ 31 ก.ค.–2 ส.ค. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนควรระวังความเสียหายจากสภาวะคลื่นลมที่มีกำลังแรงขึ้น ส่วนชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 ก.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ค.- 2 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว) ดินและอากาศมีความชื้นสูง ควรระวัง โรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่ารวมทั้งศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะผลในทุเรียน หนอนเจาะขั้วผลในเงาะ และหนอนแทะผลในมังคุด เป็นต้น
  • ยางพารา สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูง ระวังป้องกันโรครากขาว โรคราสีชมพู โรคเส้นดำ
  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) มีฝนตกหนัก ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนไหลลงบ่อ และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อ เพิ่มออกซิเจนในน้ำ
  • สัตว์น้ำ (ประมงชายฝั่ง) คลื่นลมมีกำลังแรง :ในช่วงวันที่ 31 ก.ค.–2 ส.ค. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนควรระวังความเสียหายจากสภาวะคลื่นลมที่มีกำลังแรงขึ้น ส่วนชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ

หมายเหตุhttp://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/MonthRain.php

ปริมาณฝนสะสมเดือนกรกฎาคม (1 – 26) บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง โดยพื้นที่ส่วนมากมีปริมาณฝนที่ตกสะสมส่วนใหญ่ตั้งแต่ 100-300 มม. ยกเว้นบริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด พังงา กระบี่ และตรัง ซึ่งมีปริมาณฝนสะสม > 300 มม. นอกจากนี้บางพื้นที่ของภาคใต้ฝั่งตะวันออกโดยเฉพาะตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมในเดือนนี้ < 100 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ 20-100 มม. เว้นแต่บริเวณที่มีฝนตกหนักมากซึ่งได้แก่บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ชัยนาท นครศรีธรรมราช และตรัง มีปริมาณฝนสะสม > 100 มม. ส่วนบางพื้นที่ได้แก่บริเวณจังหวัดพะเยา เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ สุรินทร์ และระนอง มีฝนสะสมต่ำกว่า 10 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ โดยมีค่าประมาณ 30 - 35 มม. ส่วนบริเวณอื่นๆ มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมอยู่ตั้งแต่ 20-30 มม.

สมดุลน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนกับฝนตกหนักหลายพื้นที่ ทำให้ในหลายพื้นที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก แต่บางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกน้อยในระยะที่ผ่านมาค่าสมดุลน้ำยังคงเป็นลบ เช่น บริเวณจังหวัดพะเยา เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ปราจีนบุรี ระนอง สุราษฎร์ธานี และบริเวณใกล้เคียง

คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาแม้มีฝนกับฝนตกหนักหลายพื้นที่ ทำให้ในหลายพื้นที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก แต่บางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกน้อยทำให้ค่าสมดุลน้ำยังคงเป็นลบ และในช่วงวันที่ 27 ก.ค. – 2 ส.ค. จะมีฝนตกจะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชที่ขาดน้ำฝนในช่วงที่ผ่านมา ส่วนบริเวณพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ