พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 14 ตุลาคม 2559 - 20 ตุลาคม 2559

ข่าวทั่วไป Monday October 17, 2016 14:55 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 17 ตุลาคม 2559 - 23 ตุลาคม 2559

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร พื้นที่ซึ่งได้รับความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมขังในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม ถ้าต้นไม้มีบาดแผลควรตัดแต่งแผลและทำความสะอาด แล้วทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา
  • ข้าวนาปีเนื่องจากระยะนี้ปริมาณฝนลดลง สำหรับข้าวที่อยู่ในระยะออกรวง ชาวนาควรระบายน้ำออกจากแปลงนาหลังข้าวออกดอกประมาณ 15 วัน ในกรณีที่ดินเป็นดินเหนียว หรือประมาณ 20 วันในกรณีที่ดินเป็นดินทราย ส่วนในบางพื้นที่ เช่น บริเวณตอนล่างของภาคซึ่งอุณหภูมิสูงสุด มากกว่า 30 องศาเซลเซียส อาจทำให้ข้าวสุกแก่เร็วขึ้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-19 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตรพื้นที่ซึ่งได้รับความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมขังในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม ถ้าต้นไม้มีบาดแผลควรตัดแต่งแผลและทำความสะอาด แล้วทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา
  • ข้าวนาปีเนื่องจากระยะนี้ปริมาณฝนลดลง สำหรับข้าวที่อยู่ในระยะออกรวง ชาวนาควรระบายน้ำออกจากแปลงนาหลังข้าวออกดอกประมาณ 15 วัน ในกรณีที่ดินเป็นดินเหนียว หรือประมาณ 20 วันในกรณีที่ดินเป็นดินทราย ส่วนในบางพื้นที่ เช่น บริเวณตอนล่างของภาคซึ่งอุณหภูมิสูงสุด มากกว่า 30 องศาเซลเซียส อาจทำให้ข้าวสุกแก่เร็วขึ้น

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังพื้นที่เพาะปลูกนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • ข้าวนาปีเนื่องจากระยะนี้บริเวณตอนบนของภาคปริมาณฝนเริ่มลดลงแล้ว สำหรับข้าวที่อยู่ในระยะออกรวง ชาวนาควรระบายน้ำออกจากแปลงนาหลังข้าวออกดอกประมาณ 15 วัน ในกรณีที่ดินเป็นดินเหนียว หรือประมาณ 20 วันในกรณีที่ดินเป็นดินทราย ส่วนในบางพื้นที่ ซึ่งอุณหภูมิสูงสุด มากกว่า 30 องศาเซลเซียส อาจทำให้ข้าวสุกแก่เร็วขึ้น
  • พืชไร่เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ในช่วงนี้ดินมีความชื้นสูงอาจทำให้รากชะงักการดูดธาตุอาหาร น้ำ และ ออกซิเจน ทำให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบควรรีบกำจัด

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ข้าวนาปี เนื่องจากระยะนี้บริเวณตอนบนของภาคปริมาณฝนลดลงแล้ว สำหรับข้าวที่อยู่ในระยะออกรวง ชาวนาควรระบายน้ำออกจากแปลงนาหลังข้าวออกดอกประมาณ 15 วัน ในกรณีที่ดินเป็นดินเหนียว หรือประมาณ 20 วันในกรณีที่ดินเป็นดินทราย ส่วนในบางพื้นที่ ซึ่งอุณหภูมิสูงสุด มากกว่า 30 องศาเซลเซียส อาจทำให้ข้าวสุกแก่เร็วขึ้น
  • ยางพาราในบริเวณที่อากาศมีความชื้นสูงต่อเนื่อง เช่น บริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราด ชาวสวนยางควรระวังป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราที่อาจเกิดขึ้นบริเวณใบและเปลือกของต้นยางพารา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 18-21 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผลช่วงนี้จะมีฝนตกชุก อากาศมีความชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โรคผลเน่าในเงาะและทุเรียน เป็นต้น
  • ยางพาราในบริเวณที่อากาศมีความชื้นสูงต่อเนื่อง เช่น บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และนครศรีธรรมราช ชาวสวนยางควรระวังป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราที่อาจเกิดขึ้นบริเวณใบและเปลือกของต้นยางพารา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่งในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. ทะเลอันดามันและ อ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผลช่วงนี้จะมีฝนตกชุก อากาศมีความชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โรคผลเน่าในเงาะและทุเรียน เป็นต้น
  • ยางพาราในบริเวณที่อากาศมีความชื้นสูงต่อเนื่อง เช่น บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และนครศรีธรรมราช ชาวสวนยางควรระวังป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราที่อาจเกิดขึ้นบริเวณใบและเปลือกของต้นยางพารา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่งในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. ทะเลอันดามันและ อ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตรในระยะ 7 วันข้างหน้า

ปริมาณฝนสะสมเดือน ตุลาคม (วันที่ 1 - 16) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีปริมาณฝนตกสะสม 50-200 มม. ส่วนบางพื้นที่ที่บริเวณด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีปริมาณฝนสะสมมากกว่า 300 มม. ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตก ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ 20-100 มม.เว้นแต่บริเวณฝนตกหนักมากซี่งได้แก่บริเวณภาคตะวันออกตอนล่าง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งมีปริมาณฝนสะสม> 100 มม. ส่วนบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีฝนสะสมต่ำกว่า 10 มม

ศักย์การคายระเหยน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมอยู่ตั้งแต่ 20-30 มม.

สมดุล ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ทำให้ในหลายพื้นที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก แต่บางพื้นที่ที่ซึ่งมีฝนตกน้อยในระยะที่ผ่านมาค่าสมดุลน้ำเป็นลบ เช่น บริเวรจังหวัดน่าน ตาก พิษณุโลก พิจิตร เพชรบรูณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ นครราชสีมา นครสวรรค์ ชัยนาท ระยอง จันทบุรี พัทลุง สงขลา และยะลา

คำแนะนำ ในช่วง7วันที่ผ่านมาแม้มีฝนตก ทำให้มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก แต่หลายพื้นที่ประเทศไทยตอนบนซึ่งมีฝนตกน้อย ทำให้ค่าสมดุลน้ำยังคงเป็นลบ และในช่วง 7 วันข้างหน้าปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้น ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาตใต้ซึ่งจะเป็นผลดีแก่พืช และบางพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วมขังเกษตรกรควรรีบระบายน้ำจากพื้นที่การเกษตร อย่าให้มีน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพื่อป้องกันการระบาดโรครากเน่าและโคนเน่า ส่วนภาคเหนือ จะมีฝนตกเล็กน้อย โดยมีฝนร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ เกษตรกรควรพิจารณาเพิ่มเติมน้ำ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ