ราชดำริ * สศช.คาดจีดีพีไทยปีนี้โต 3.7% แม้เผชิญปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจถดถอย แต่ฟื้นได้เร็วและน่าพอใจ ด้าน ธปท.ยันไม่จำเป็นต้องออกมาตรการดูแลค่าเงินบาทที่ผันผวน ชี้เป็นแค่ความไม่แน่นอนจากหลายประเทศ หนี้ครัวเรือนยังคงเป็นปัจจัยฉุดรั้ง
นายปรเมธี วิมลศิริ เลขา ธิการ คณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยในงาน "Thailand Focus 2017" หัวข้อ "ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และการปฏิรูปประเทศไทย" ว่า สศช.คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไทยปี 2560 ไว้ที่ระดับ 3.7% และคาดว่าในปีต่อๆ ไปจะสามารถเติบโตได้ในระดับ 5% ซึ่งถือเป็นสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ดี แม้ว่าจะมีช่วงที่ไทยประสบปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมือง และภาวะเศรษฐกิจถด ถอย แต่เศรษฐกิจและการค้า ของไทยยังสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและเป็นที่น่าพอ
ใจอย่างไรก็ตาม สศช.ได้มีส่วนร่วมกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 คณะ และการวางยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยมองว่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รัฐบาลชุดต่อๆ ไปใช้นำพาประเทศไปสู่เป้าหมายการเป็นประเทศที่มีรายได้สูง รวมถึงลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ตามแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้ โดยที่กฎหมายและนวัต กรรมจะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนี้สำ เร็จลุล่วงไปได้
ทั้งนี้ ในด้านเศรษฐกิจ สศช.ได้คาดการณ์การเพิ่มขึ้น ของรายได้ต่อหัวมาอยู่ที่ 15,000 เหรียญสหรัฐ จากปัจจุบันอยู่ที่ 6,500 เหรียญสหรัฐ ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จะเป็นระยะ 5 ปีแรกของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่ง SMEs และ Startup จะเป็นแรงผลักดันที่ สำคัญในการช่วยพัฒนาเศรษฐ กิจของประเทศ
นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ยังคงจีดีพีปีนี้ที่ระดับ 3.5% และปรับเพิ่มขึ้นเป็น 3.7% ในปี 2561 หลังจากการขยายตัวของเศรษฐกิจยังมีแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นหลัก
โดยในอีก 1-2 ปีจากนี้ มองว่าหนี้ครัวเรือนยังคงเป็นปัจจัยฉุดรั้ง ส่วนการลงทุนของภาคเอกชนจะเริ่มฟื้นตัวจากการส่งออกที่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง
นายเมธีกล่าวว่า ปัจจุบันภาพรวมของเศรษฐกิจไทยยังมีแรงขับเคลื่อนได้จากปัจจัยด้านต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ ส่วนการบริโภคภาคเอกชนก็เริ่มฟื้นตัวได้ จากการปรับตัวดีขึ้นของราคาสิน ค้าเกษตร ด้านการส่งออกที่ขยายตัวดี ยังเป็นแรงส่งให้ผู้ประ กอบการในระยะต่อไปในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วย
ขณะที่ประเด็นเรื่องค่าเงินที่ผันผวนในขณะนี้ มองว่า ธปท.ยังไม่จำเป็นต้องออกมาตรการอะไรเพิ่มเติมเพื่อดูแลค่าเงินบาท เพราะเกิดขึ้นจากความกังวลในเรื่องของภูมิ ศาสตร์การเมืองที่ยังไม่แน่นอนจากในหลายประเทศ.