INTERVIEW: AEC ผ่าเบื้องหลังปลุกชีพจรหุ้น พลิกโฉมโมเดลสู่รอบเติบโตครั้งใหม่

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday May 19, 2021 08:47 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บล.เออีซี (AEC) เผชิญเหตุการณ์วิกฤติซ้อนวิกฤติมาหลายต่อหลายครั้ง และครั้งล่าสุดบริษัทปรับโครงสร้างครั้งใหญ่จากการ ลาออกทุกตำแหน่งของนายประพล มิลินทจินดา เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง ก่อนจะแต่งตั้งนางสาวออมสิน ศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่าย การเงินของ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ข้ามห้วยเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่เมื่อกลางเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา

และด้วยประสบการณ์ในอดีตเคยการทำงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของ EA เข้ามาต่อยอดการบริหารเพื่อเข้ามาแก้ไข ปัญหาภายในองค์กรพร้อมพลิกฟื้นธุรกิจ AEC กลับเข้าสู่การเติบโตรอบใหม่อีกครั้งภายใต้ยุทธศาสตร์เป็นมากกว่าธุรกิจหลักทรัพย์ควบคู่ไปกับ การปั้นธุรกิจดาวรุ่งดวงใหม่สัมปทานเดินรถโดยสารไฟฟ้าในการผลักดันผลประกอบการกลับมาพลิกมีกำไร ก่อนก้าวสู่เป้าหมายสำคัญยกระดับ บริษัทเป็น "โฮลดิ้ง คอมปานี" ภายในปี 66

*เปิดใจ CEO ความท้าทายครั้งใหม่โจทย์ใหญ่ฟื้น AEC

นางสาวออมสิน ศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AEC เปิดเผยกับ "อินโฟเควสท์" ภายหลังจากเข้ามารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า ต้องยอมรับว่าค่อนข้างกระทันหัน โดยได้รับการทาบทามเข้ามารับตำแหน่งเพียง 2 สัปดาห์ โดยมุมมองส่วนตัวมอง เห็นถึงความตั้งใจในการที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาบริษัทของผู้ถือหุ้นของผู้บริหารและพนักงานทุกคน

ธุรกิจหลักทรัพย์ของ AEC เป็นองค์กรไม่ได้ใหญ่มาก จึงต้องกระจายเข้าสู่ธุรกิจอื่นเพื่อหารายได้เข้าสู่บริษัท และด้วย ประสบการณ์จากการทำงานใน EA น่าจะเข้ามาช่วยสนับสนุนธุรกิจใหม่ของ AEC นั่นคือธุรกิจขนส่งผู้โดยสารด้วยรถประจำทางใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายใต้ บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด (TSB) ที่ปัจจุบัน AEC ลงทุนผ่านบริษัทย่อย คือ บริษัท เอซ อิน คอร์ปอเรชั่น (ACE) ล่าสุดสนใจซื้อรถโดยสารไฟฟ้าจากทาง EA เพื่อนำมาให้บริการในรูปแบบสัมปทาน 11 สายการเดินรถ

"เราเคยอยู่ EA มาก่อนทำให้เราเห็นว่าทาง TSB เป็นของจริง เราเห็นว่ามีความตั้งใจจริงและมีแผนงานที่ชัดเจน ก็เลย ทำให้เรามีข้อมูลจากสองขา คือ ขาของ AEC ที่ชวนเรา กับขาของลูกค้าเราที่เขากำลังประกอบร่างกันอยู่ ทำให้การตัดสินใจไม่ยากสัก เท่าไร ถือว่าเป็น challenge อันนึงในชีวิต จากเดิมที่เราคิดว่าอีกไม่กี่ปีก็เกษียณแล้วตามเป้าหมายเบาๆ ของเรา ก็กลายเป็นเป้าหมาย ใหญ่ขึ้นมา ซึ่งในวันนี้มีทั้งเรื่องเก่าและเรื่องใหม่ เราพยายามที่จะทำให้ AEC แข็งแรงยิ่งขึ้นในหลากหลายรูปแบบที่จะพอเป็นไปได้ภายใต้ ข้อจำกัด หากผู้ถือหุ้นเห็นสิ่งที่เราทำเดินหน้าไปด้วยกัน คิดว่าในวันข้างหน้าจะทำให้บริษัทมีความแข็งแกร่งขึ้น" นางสาวออมสิน กล่าว

*ปรับโครงสร้างทุน คาดปลด C ปลายปี ,ไร้แวว EA เข้าถือหุ้น

นางสาวออมสิน กล่าวต่อว่า แผนงานหลักของ AEC ในปี 64 คือเป็นปีแห่งการปรับโครงสร้างทุนก่อน เพื่อให้งบการเงินของ บริษัทมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ด้วยการล้างขาดทุนสะสมทั้งหมด จากขั้นตอนการเพิ่มทุนในมูลค่าที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) เพื่อแก้ไข ส่วนต่ำมูลค่าหุ้นที่เป็นสาเหตุให้บริษัทติดเครื่องหมาย C ตั้งแต่ปี 63 และเพื่อปรับตัวเลขลดปัญหาที่เกิดขึ้น

บริษัทเตรียมจะลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม โดยรวมหุ้นจาก 5 เป็น 1 หุ้น ส่งผลให้พาร์เปลี่ยนเป็นจาก 1 บาท เป็น 5 บาท จากนั้นจะลดพาร์จาก 5 บาท เหลือ 1 บาท จะส่งผลให้ส่วนต่ำมูลค่าหุ้นหายไป และล้างขาดทุนสะสมออกทั้งหมด โดยกระบวนการ ต่างๆ จะแล้วเสร็จภายในเดือน ต.ค.64 ก่อนที่บริษัทจะยื่นเรื่องการขอปลดเครื่องหมาย C ต่อไป

สำหรับกระแสของการที่ว่าจะมี นายสมโภชน์ อาหุนัย ผู้ถือหุ้นใหญ่ EA เข้ามาเป็นทุนใหญ่และเข้ามาร่วมถือหุ้นใน AEC นั้น หากมองในโครงสร้างผู้ถือหุ้นปัจจุบันจะเห็นว่าไม่มี EA และผู้บริหารของทาง EA มาเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ใน AEC เลย ดังนั้น โครงสร้างของ การถือหุ้นใน AEC จะยังคงเป็นเหมือนเดิม แต่อาจจะมีบางส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ เนื่องจากมติคณะกรรมการบริษัทได้เปิดกว้างเอาไว้

โดยบริษัทตั้งเป้าหมายที่จะระดมทุนครครั้งนี้ได้ให้ราว 1,000 ล้านบาท จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม (Rights Offering) สัดส่วน 3 หุ้นเดิมต่อ 2 หุ้นใหม่ ในราคาเสนอขายหุ้นละ 0.35 บาท แต่หากมีผู้ถือหุ้นจองไม่ครบจำนวน หรือจองไม่หมด ผู้ ถือหุ้นรายอื่นๆ สามารถจองซื้อเกินสิทธิได้

"เราไม่น่าจะได้เห็นชื่อ EA เป็นผู้เข้ามาถือหุ้นใน AEC แต่จากเดิมที่ได้เห็นทาง TSB เป็นลูกค้าของกลุ่ม EA อยู่ ก็เห็นแผน งานและความตั้งใจที่จะทำ E-Bus เราอาจจะเห็นการซัพพอร์ตรูปแบบอื่นก็น่าจะเป็นไปได้ ซึ่งการที่ AEC จะเข้าร่วมทุนกับ TSB ที่จะมา ซื้อรถจาก EA จึงเหมือนการเป็นพันธมิตรกันในเชิงการทำธุรกิจ และกลยุทธ์การทำธุรกิจของ EA เองจะไม่ลงมาถึงระดับ retail และ ไม่ได้มีสาระสำคัญกับผลประกอบการโดยรวมของ EA เขาก็จะเน้นไปทำอะไรที่เป็นกอบเป็นกำ" นางสาวออมสิน กล่าว

*ปักธงพลิกกำไรปี 65 ก่อนยกระดับเป็น "โฮลดิ้ง คอมปานี" ภายในปี 66

ซีอีโอ AEC คาดว่าจะเห็นผลประกอบการปรับตัวดีขึ้นช่วงปลายปี 64 และเริ่มมีกำไรสุทธิในปี 65 หลังจากที่เริ่มรับรู้รายได้ จาก TSB ซึ่งจะเริ่มเห็นความก้าวหน้าอย่างชัดเจนหลังจากทยอยเปลี่ยนมาเป็นรถโดยสารไฟฟ้าได้ทั้ง 11 สายการเดินรถ เป็นระยะ เวลา 7 ปี โดยชำระค่าสัมปทานครบถ้วนแล้ว และจะสามารถต่ออายุได้ในอนาคต เบื้องต้นมีแผนยกเลิกการเดินรถโดยสารแบบที่ใช้ พลังงานเชื้อเพลิงจากน้ำมันทั้งหมดและทยอยปรับเปลี่ยนรถบัสไฟฟ้าจะแล้วเสร็จภายในปี 65 ด้วยเป้าหมายรวม 337 คัน มูลค่าการลงทุน ประมาณ 2,500 ล้านบาท คาดว่าใช้เงินทุนของ TSB ร่วมกับสินเชื่อสถาบันการเงิน

แผนงานในอนาคตของ AEC ภายในปี 66 มีเป้าหมายยกระดับบริษัทก้าวสู่การเป็น "โฮลดิ้ง คอมปานี" แบ่งเป็น รายได้จาก ธุรกิจหลักทรัพย์ไม่เกิน 30% และรายได้ส่วนใหญ่จะมาจากธุรกิจใหม่ที่เริ่มจาก TSB และธุรกิจอื่นๆ ที่จะเข้ามาเพิ่มในอนาคต โดยส่วนของ ธุรกิจหลักทรัพย์นั้นบริษัทยังคงเก็บใบอนุญาตต่างๆ เอาไว้เช่นเดิมเพื่อสามารถให้บริการทางด้านการเงินแบบครบวงจร พร้อมกับเตรียม พัฒนาระบบไอทีให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อที่จะรองรับการพัฒนาธุรกิจมิติต่างๆที่เกิดขึ้นในอนาคต

"การเปลี่ยนเป็นโฮลดิ้งไม่ใช่ว่าจะต้องรีบทำให้รวดเร็วในทันที แต่เราควรจะทำในวันที่เรามีความพร้อมในการที่จะเก็บของ เดิมไว้ และการที่จะไปลงทุนใหม่ๆ ซึ่งการเป็นโฮลดิ้งมีข้อดีคือสามารถแบ่งแยกการบริหารจัดการ สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้ คือ หากมีความเสี่ยงในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ก็สามารถกระจายความเสี่ยงออกไปได้ ไม่ได้กระทบเข้ามาทั้งหมด และหากมีธุรกิจใหม่ๆก็จะเป็นอีก หนึ่งสายภายใต้โฮลดิ้งได้"นางสาวออมสิน กล่าว

*แจงธุรกิจให้บริษัทเอกชนกู้ยืม ไม่กระทบแผนงาน ตั้งสำรองครบ 100%

ในอดีตที่บริษัทได้ทำการตัดสินใจดำเนินธุรกิจรูปแบบให้บริษัทเอกชนกู้ยืมเพื่อหาผลตอบแทน ปัจจุบันมูลค่าเงินที่ให้กู้ยืมทั้งหมด บริษัทได้ตั้งสำรองไปเกือบทั้งหมด 100% แล้ว เมื่อจำนวนเงินดังกล่าวไหลกลับเข้ามายังบริษัทก็จะทำให้เป็นภาพบวกทั้งหมด ทั้งในแง่ของ งบการเงิน และเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องใช้ระยะเวลาเนื่องจากบางธุรกิจมีความเกี่ยวเนื่องกับการท่อง เที่ยว ,ชาวต่างชาติ และอาหาร ซึ่งขณะนี้ยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19

"กระบวนการจัดการในปัจจุบันคือการติดตามเพื่อที่จะดึงเงินส่วนดังกล่าวกลับมา แต่การดึงเงินกลับมามีหลากหลายรูปแบบดึง กลับมาในทันที ขณะที่ลูกหนี้ไม่มีศักยภาพจะคืนทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ ต่อมาคือการฟ้องดำเนินคดีทางกฎหมาย บางรายอาจจะทำได้ บางราย ก็ไม่เหมาะสมที่จะทำ

ภายใต้ปัจจัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ปัจจุบันบริษัทจึงใช้รูปแบบของการประเมินศักยภาพลูกหนี้แต่ละราย คือการเชิญผู้บริหารเข้ามา หารือ และพิจารณาแผนธุรกิจร่วมกัน หากมีศักยภาพในการดำเนินกิจการแม้ว่าไม่มานัก ก็ให้โอกาส ในขณะเดียวกันลูกหนี้ก็ต้องทยอยชำระ คืนบริษัทต่อไป ซึ่งก็จะเริ่มมีเงินไหลกลับเข้ามายังบริษัท ปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตามมีลูกหนี้บางรายที่อาจจะไม่สามารถ ดำเนินกิจการไปต่อได้จริงๆ"

https://youtu.be/5NTQIjt1YTg


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ