กรุงเทพโพลล์: “ความคิดเห็น ต่อ แพ็คเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ด้าน”

ข่าวผลสำรวจ Monday August 26, 2019 10:36 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ด้าน จะสามารถช่วยเหลือเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย และกระตุ้นการอุปโภคบริโภคตลอดจน การลงทุนในประเทศ ได้ในระดับมากถึงมากที่สุด

ทั้งนี้ประชาชนเห็นว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากมาตรการดังกล่าวมากที่สุดคือ เกิดการใช้จ่ายคล่องตัวขึ้น มีเม็ดเงินหมุนเวียนภายในประเทศดีขึ้น และ มีความสุขในการดำเนินชีวิตไม่ติดขัด

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความคิดเห็นต่อ แพ็คเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ด้าน” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,189 คน พบว่า

ประชาชนร้อยละ 48.1 ทราบข่าวแพ็คเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ด้าน ของรัฐบาล ขณะที่ร้อยละ 51.9 ระบุว่าไม่ทราบ

เมื่อถามถึงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง พบว่า ด้านที่ส่วนใหญ่เห็นว่าสามารถช่วยได้ในระดับมากถึงมากที่สุดคือ การประกัน รายได้ในพืชเศรษฐกิจหลัก (ร้อยละ 47.8) ด้านชดเชยการปลูกข้าว (ร้อยละ 41.6) และด้านเงินกู้ฉุกเฉินรองรับภัยแล้ง (ร้อยละ 38.8) ส่วนด้านที่ส่วนใหญ่ เห็นว่าสามารถช่วยได้ในระดับปานกลางคือ ด้านการผ่อนคลายหนี้สินด้านดอกเบี้ยให้เกษตรกร (ร้อยละ 42.2) และด้านสนับสนุนสินเชื่อใหม่และต้นทุนการเพาะปลูก (ร้อยละ 40.5)

ทั้งนี้มาตรการเพิ่มเงินพิเศษผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ เป็นเวลา 2 เดือน (ส.ค.-ก.ย.) จะช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยได้มากน้อยเพียงใด พบว่า ด้านที่ส่วนใหญ่เห็นว่าสามารถช่วยได้ในระดับมากถึงมากที่สุดคือ การแจกเงินบรรเทาค่าใช้จ่ายผู้สูงอายุที่ถือบัตรคนจนเดือนละ 500 บาท (ร้อยละ 49.5) และแจกเงินให้แก่ผู้ถือบัตรคนจนที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดมีอายุ 0-6 ปี เดือนละ 300 บาท (ร้อยละ 39.5) ส่วนด้านการแจกเงินพิเศษผู้ถือ บัตรคนจนเดือนละ 500 บาท ส่วนใหญ่เห็นว่าช่วยได้ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด (ร้อยละ 39.9)

สำหรับความเห็นต่อมาตรการกระตุ้นการอุปโภคบริโภคและการลงทุนในประเทศ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด พบว่า ด้านที่ส่วนใหญ่ เห็นว่าสามารถช่วยได้ในระดับมากถึงมากที่สุดคือ ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ให้เข้าถึงแหล่งทุน/กู้เงินได้ง่ายขึ้น (ร้อยละ 44.5) ส่วนด้านกระตุ้นการท่องเที่ยว ในประเทศ “ชิมช็อปใช้” โดยให้เงิน 1,000 บาท ต่อคน นั้น ส่วนใหญ่เห็นว่าช่วยได้ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด (ร้อยละ 52.5)

สุดท้ายประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้ง 3 ด้าน มากที่สุดคือ เกิดการใช้จ่ายคล่องตัวขึ้น (ร้อยละ 42.4) รองลงมาคือ มีเม็ดเงินหมุนเวียนภายในประเทศดีขึ้น (ร้อยละ 40.5) และ มีความสุขในการดำเนินชีวิตไม่ติดขัด (ร้อยละ 34.5)

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. การรับทราบข่าวแพ็คเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ด้าน ของรัฐบาล
ทราบ                                        ร้อยละ  48.1
ไม่ทราบ                                      ร้อยละ  51.9

2. ความเห็นต่อมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง จะช่วยเหลือเกษตรกรแต่ละด้านมากน้อยเพียงใด

มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร                                  มากถึงมากที่สุด     ปานกลาง     น้อยถึงน้อยที่สุด
                                                         (ร้อยละ)       (ร้อยละ)       (ร้อยละ)
ผ่อนคลายหนี้สินด้านดอกเบี้ย ให้เกษตรกร                             33.8          42.2          24.0
สนับสนุนสินเชื่อใหม่และต้นทุนการเพาะปลูก                            34.0          40.5          25.5
ชดเชยการปลูกข้าว                                             41.6          34.2          24.2
เงินกู้ฉุกเฉินรองรับภัยแล้ง                                        38.8          34.6          26.6
ประกันรายได้ในพืชเศรษฐกิจหลัก                                   47.8          32.8          19.4

3. ความเห็นต่อมาตรการเพิ่มเงินพิเศษผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ จะช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยได้มากน้อยเพียงใด

มาตรการเพิ่มเงินพิเศษผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่               มากถึงมากที่สุด    ปานกลาง    น้อยถึงน้อยที่สุด
                                                          (ร้อยละ)      (ร้อยละ)      (ร้อยละ)
แจกเงินพิเศษผู้ถือบัตรคนจนเดือนละ 500 บาท 2 เดือน (ส.ค.-ก.ย.)       34.4         25.7          39.9
แจกเงินบรรเทาค่าใช้จ่ายผู้สูงอายุที่ถือบัตรคนจนเดือนละ 500 บาท           49.5         24.5          26.0
2 เดือน (ส.ค.-ก.ย.)
แจกเงินให้แก่ผู้ถือบัตรคนจนที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด       39.5         29.5          31.0
มีอายุ 0-6 ปี เดือนละ 300 บาท 2 เดือน (ส.ค.-ก.ย.)

4. ความเห็นต่อมาตรการกระตุ้นการอุปโภคบริโภคและการลงทุนในประเทศ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด
มาตรการกระตุ้นการอุปโภคบริโภคและการลงทุนในประเทศ            มากถึงมากที่สุด     ปานกลาง     น้อยถึงน้อยที่สุด
                                                          (ร้อยละ)      (ร้อยละ)       (ร้อยละ)
กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ “ชิมช็อปใช้”                           19.5         28.0          52.5
โดยให้เงิน 1,000 บาท ต่อคนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ให้เข้าถึงแหล่งทุน/กู้เงินได้ง่ายขึ้น             44.5         36.3          19.2

5. ประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับจากมาตรการนี้มากที่สุด คือ
เกิดการใช้จ่ายคล่องตัวขึ้น                 ร้อยละ  42.4
มีเม็ดเงินหมุนเวียนภายในประเทศดีขึ้น        ร้อยละ  40.5
ความสุขในการดำเนินชีวิตไม่ติดขัด           ร้อยละ  34.5
ทุกคนมีโอกาสใช้เงินจากรัฐ                ร้อยละ  27.1
รักษาสภาพคล่องทางการเงิน               ร้อยละ  24.3
ธุรกิจในประเทศดีขึ้น                     ร้อยละ  20.9

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับแพ็คเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ด้าน ของรัฐบาล และประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับจากมาตรการ ดังกล่าว เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20-22 สิงหาคม 2562

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 24 สิงหาคม 2562

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ