ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เผยข้อมูลตลาดอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศที่สำคัญในเอเชีย

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 25, 2019 16:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ก.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง - แนะผู้ประกอบการไทยเปิดการค้าอีคอมเมิร์ซกับจีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ผู้นำระดับโลกด้านการขนส่งด่วนระหว่างประเทศในเครือดอยช์โพสต์ ดีเอชแอล เผย 5 ตลาดสำคัญในเอเชียที่ทำการค้าระหว่างประเทศกับไทย และระบุว่า อีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในตลาดใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถสร้างยอดขายให้เติบโตจากการขยายตลาดสู่ประเทศอื่นๆ จากรายงานของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส นำเสนอข้อมูลเชิงลึก (Market Insight) 5 ตลาดหลักที่ทำการค้าอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศสูงที่สุดในเอเชีย ได้แก่ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย ดังนี้: จีน – ตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยปริมาณการซื้อขายสูงกว่าประเทศอื่นๆ - เกือบหนึ่งในสี่ (24%) ของผู้ซื้อออนไลน์ในจีนทำการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศในปี 2561 เพิ่มขึ้น 11.5% เมื่อเทียบกับปี 2560 - ผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่เชื่อว่าการซื้อสินค้าจากต่างประเทศจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพดีกว่า ข้อเสนอดีกว่า มีความหลากหลายมากกว่า และสินค้าเป็นของแท้ - ลูกค้าชาวจีนเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิมที่สนใจเรื่องราคาเป็นหลัก มาให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่ผู้ซื้อชาวจีนจะยอมรับสินค้าที่มีราคาแพงกว่า ถ้าหากสินค้านั้นมีคุณภาพสูงกว่าและชื่อเสียงของแบรนด์ที่ดีกว่า อินเดีย – ตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก - อินเดียมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 462 ล้านคน และมีอัตราการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซสูงสุดที่ 51% ต่อปี และ 60% ของการซื้อสินค้าออนไลน์เกิดขึ้นในช่วงเวลาทำการปกติ - ยอดขายอีคอมเมิร์ซแบบค้าปลีกในอินเดียคาดว่าจะแตะระดับ 7.94 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2563 - เหตุผลสำคัญที่สุด 3 ข้อที่จูงใจให้ผู้บริโภคชาวอินเดียซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้แก่ คุณภาพดีกว่า (42%) ความน่าเชื่อถือ (37%) และข้อเสนอที่ดีกว่า (26%) - ตลาดอีคอมเมิร์ซในอินเดียมีการแข่งขันอย่างดุเดือด โดยมีผู้เล่นรายสำคัญในท้องถิ่น เช่น Flipkart, Snapdeal และ Amazon India ที่กำลังแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ญี่ปุ่น – ปลายทางยอดนิยมสำหรับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย - ญี่ปุ่นมีประชากรสูงวัยจำนวนมาก และชาวญี่ปุ่นที่มีอายุเกินกว่า 55 ปีมักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเชื่อมต่อออนไลน์ - สินค้าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับชาวญี่ปุ่น ได้แก่ หนังสือ ซีดี วิดีโอเกม (27%) เครื่องสำอาง (21%) และเสื้อผ้าและรองเท้า (20%) - Rakuten, Amazon Japan และ Yahoo Japan Shopping เป็นตลาดอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศ 3 อันดับแรกที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น - โดยทั่วไปแล้วนักช้อปชาวญี่ปุ่นไม่ชอบความเสี่ยง และมักจะมองหาแบรนด์ที่ตนเองรู้จักและไว้ใจ อัตราการคืนสินค้าต่ำและการบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยมเป็นสิ่งที่ลูกค้าชาวญี่ปุ่นคาดหวังว่าจะได้รับจากการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ เกาหลีใต้ – ตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก - การซื้อสินค้าออนไลน์ภายในประเทศยังคงสร้างรายได้อีคอมเมิร์ซมากที่สุดให้กับเกาหลีใต้ แต่อีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน - จากการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ระหว่างประเทศ ชาวเกาหลีใต้พบว่าหลังจากที่รวมค่าขนส่งและภาษีนำเข้าของสินค้าแล้ว สินค้ายังคงมีราคาถูกกว่าที่ซื้อจากเว็บไซต์ในประเทศ ทั้งนี้คาดว่าใน 2-3 ปีข้างหน้า ผู้บริโภคชาวเกาหลีที่สั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น - 60% ของชาวเกาหลีที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 29 ปี ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์หลักในการซื้อสินค้าออนไลน์ - Amazon และ eBay เป็นตลาดอีคอมเมิร์ซต่างประเทศที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ ฮ่องกง – โอกาสที่ดีสำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซ - นักช้อปออนไลน์ในฮ่องกงคาดหวัง 3 สิ่งจากการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ ได้แก่ ค่าจัดส่งฟรี ความสะดวกที่ได้รับจากการสั่งซื้อสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา และส่วนลดพิเศษสำหรับการซื้อทางออนไลน์ - 48% ของประชากรฮ่องกงอ่านรีวิวเกี่ยวกับสินค้าทางออนไลน์ก่อนที่จะตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ - มีนักช้อปออนไลน์ในฮ่องกงเพียง 38% เท่านั้นที่ระบุว่าตนเองรู้สึกพึงพอใจในมาตรฐานการให้บริการ ดังนั้นผู้ค้าออนไลน์จะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นหากนำเสนอบริการทางออนไลน์ได้อย่างดีเยี่ยม "อีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ลูกค้าคาดหวังว่าจะได้รับสินค้าตามต้องการ ทุกที่ ทุกเวลา ตลาดในเอเชียแปซิฟิก เช่น จีน และอินเดีย มีจำนวนนักช้อปออนไลน์ระหว่างประเทศมากที่สุดในโลก และผู้ประกอบการไทยก็ต้องการตัวเลือกด้านบริการจัดส่งสินค้าที่ยืดหยุ่นและไว้ใจได้เพื่อเพิ่มส่วนต่างกำไรและส่วนแบ่งตลาด" นางปาริชาติ ประมุขกุล รองประธานฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว "ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส มุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในประเทศสำหรับการสร้างอีโคซิสเต็มส์ที่มีความคล่องตัว และสามารถขยายตลาดสู่ต่างประเทศได้อย่างง่ายดาย โดยล่าสุดได้เปิดตัว iExpressByDHL แพล็ตฟอร์มการขนส่งสินค้าด่วนระหว่างประเทศที่สามารถตรวจสอบราคาขนส่งได้ทันที นัดหมายการจัดส่ง พิมพ์เอกสารนำส่งและชำระค่าบริการผ่านบัตรเครดิตได้ทันที นอกจากนี้ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ยังช่วยผู้ประกอบการไทยเดินหน้าบนเวทีการค้าโลกด้วยการให้ความรู้มาร์เก็ตอินไซท์ที่ทันสมัยเกี่ยวกับตลาดในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง" ธุรกิจอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศที่กำลังขยายตัวส่งผลให้ความต้องการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่ามูลค่าของตลาดลอจิสติกส์ในส่วนของอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศทั่วโลกจะเติบโตราว 2.41 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระหว่างปี 2561-2565 และคาดว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะครองตลาดตลอดระยะเวลาดังกล่าวจากปริมาณการค้าอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้นในประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย และจีน นาย ไล เซ ชอง รองประธานด้านการปฏิบัติงาน บริษัท โพเมโล่ แฟชั่น จำกัด ผู้นำแบรนด์ค้าปลีกแบบ Omni-Channel กล่าวว่า "เมื่อพิจารณาถึงเศรษฐกิจ พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ลอจิสติกส์ และอื่นๆ ภูมิภาคเอเชียมีโอกาสในการเติบโตของอีคอมเมิร์ซได้อีกมาก อ้างอิงจากแหล่งข้อมูล พบว่าจากรายได้ทั้งหมดของตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียนั้น สินค้ากลุ่มแฟชั่นมียอดการเติบโตสูงสุดกว่าสินค้าอื่นๆที่ 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจะยังครองอันดับหนึ่งเช่นนี้ไปจนถึงปี 2564 ด้วยมูลค่า 357 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การเข้าใจมาร์เก็ตอินไซต์ของแต่ละประเทศจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับเจ้าของแบรนด์หรือผู้ประกอบการในการรุกตลาดต่างประเทศ ภูมิภาคเอเชียนับเป็นตลาดหลักของเรา และดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ได้เข้ามามีบทบาทด้านการบริการลอจิสติกส์ให้ราบรื่นขึ้น พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต และรักษาตำแหน่งตลาดที่แข็งแกร่งในภูมิภาคนี้" ดาวน์โหลดรายงานข้อมูลตลาดอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศ เจาะลึกตลาดจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฮ่องกง ได้ที่ https://bit.ly/2YiE4pW หรือศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ iExpressByDHL พร้อมรับโปรโมชั่นพิเศษสำหรับการส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนได้ที่เว็บไซต์ https://bit.ly/2Y7yK4B

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ