สสส.หนุน"มหกรรมชุมชนจักรยาน กับ 7 รูปแบบสร้างสรรค์ส่งเสริมการใช้จักรยานเพื่อสุขภาวะ”

ข่าวทั่วไป Wednesday August 21, 2019 14:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย สสส.หนุนจัดงานมหกรรมชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ เวทีสรุปผลโครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ ปี 3 เล็งขยายผลต่อยอดความสำเร็จสู่ปีที่ 4 เผยอเมริกาใต้เตรียมนำรูปแบบไทยไปใช้สร้างชุมชนจักรยานเข้มแข็ง นางสาวเข็มเพชร เลนะพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส. )เปิดเผยว่า สสส.โดย สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม มีภารกิจหลักในการสนับสนุนกระจายโอกาสให้แก่ชุมชนดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ ได้มอบหมายให้มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย ค้นหาภาคีที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และมีความพร้อมในการดำเนินงาน "กระบวนการการสร้างชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ" พร้อมกันนี้ได้จัด "มหกรรมชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ เวทีสรุปผลโครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ ปี 3" ณ ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส. ร่วมด้วยภาคีแกนนำทั่วทุกภูมิภาค มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การดำเนินงานร่วมกัน "ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ คือ กลไกในชุมชน เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อน ชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ มีความต่อเนื่องและสำเร็จ หากกลไกนี้เข้มแข็งเราเชื่อมั่นว่า ชุมชนสามารถต่อยอดการใช้จักรยานเป็นเครื่องมือในการทำงบูรณาการร่วมกับงานอื่นๆในชุมชนของเค้าเอง บทเรียนสำคัญของชุดโครงการที่ทำมาใน 3 ปี เราคิดว่าสามารถเป็นรูปแบบที่เอาไปขยายผลให้กับชุมชนอื่นๆ โดยหน่วยงานอื่นๆ เอาไปทำได้เอง และการทำงานร่วมกับมูลนิธิมีความสำคัญ อาจมีการพัฒนาการต่อยอด ขยายผลเรื่องที่มีประสิทธิภาพสู่การมีประสิทธิผลได้มากขึ้น ในปีต่อๆไป " ด้าน ศ.กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษา มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย กล่าวว่า " จักรยาน เรามักนึกถึงรถที่มีล้อ 2 ล้อ พาหนะพาเราจากที่นึงไปยังอีกที่นึงอันนั้นใช่ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่มันเป็นพาหนะที่เป็นเครื่องมือในการบูรณาการ การทำงาน, การขนส่ง, ค่าครองชีพ, การศึกษา, การปกครอง, สุขภาพ หลายต่อหลายอย่าง เพราะที่ผมพูดมาทั้งหมด แม้กระทั่งเรื่องโลกร้อน อยู่ในเรื่องจักรยานนี้แหละ เพราะคำตอบอยู่ในนี้ หากนำเอาแนวคิดนึ้มาทำ แล้วทำให้ชุมชนบ้านเรากลายเป็นชุมชนจักรยานได้ ผมมักจะไม่ใช้คำว่า เมืองจักรยาน เพราะเกิดขึ้นยาก ชุมชนจักรยานเกิดในมุมเล็กๆ ของเมืองซึ่งเกิดได้ง่าย หากเราทำให้ชุมชนมีสังคมที่ดีขึ้น ค่าใช้จ่ายน้อยลง เอื้ออาทรต่อกัน น่าจะเป็นวิธีคิดที่ต่อประเทศไทย เพราะฉะนั้น เราจึงต้องผลักดันวิธีคิดนี้ต่อไปให้เกิดการขยายผล กระจายไปทั่วประเทศ เหมือนกับที่ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ " จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทางสถาบันฯ จึงได้รับคัดเลือกจาก องค์กรผู้จัดการประชุมจักรยานระดับโลก Velo-City 2019 ให้เข้าร่วมกิจกรรมที่เมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ในประเด็น จักรยานเพื่อผู้คนทุกกลุมวัย Cycling for The Ages มีผู้เข้าร่วมกว่า 1,400 คน จาก 120 ประเทศ โดยผลสำเร็จที่ได้ คือ ประการแรกเกิด "แนวร่วม" และ "กระบวนการการมีส่วนร่วม" เป็นกลไกต่อการส่งเสริมในชุมชน สร้างเครือข่ายคณะทำงานรวม 306 แห่ง ประการต่อมาคือ เกิดการจัดการสภาพแวดล้อมด้านกายภาพชุมชน ให้เอื้อต่อการใช้จักรยานเพื่อเดินทางในชีวิตประจำวันที่สร้างความสะดวกปลอดภัย รวมจำนวน 875 แห่ง นอกจากนี้ยังเกิดการกำหนด"นโยบายท้องถิ่น หรือข้อตกลงวาระของเมือง-ชุมชน" และแนวทางขยายผลต่อเนื่องในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้จักรยานเพื่อเดินทางมากถึง 49 พื้นที่ โดยมีประชาชนที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น จากเดิม 3,517 คน หลังดำเนินการแล้วมีกว่า 9,978 คน เพิ่มขึ้นจากเดิม 6,461 คน คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 83.71 ในภาพรวม ทั้งนี้โครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ ปีที่ 3 ที่ดำเนินงานมา ตั้งแต่ปี 2561 ได้สนับ สนุนโครงการย่อยจำนวน 60 โครงการ ดำเนินงานใน 34 จังหวัดของประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อ กระจายโอกาสการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพประเด็นการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน รวมทั้ง การส่งเสริม สนับสนุนชุมชนจัดระบบสุขภาพ โดยการพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำ การเสริมทักษะความรู้ และสามารถไปจัดกระบวนการในพื้นที่ ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะของชุมชน และเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการดำเนินงานของชาวชุมชนจักรยาน ซึ่งผ่านการพัฒนาศักยภาพภาคี เรียนรู้นวัตกรรมชุมชนจักรยาน ผ่าน 7 รูปแบบสร้างสรรค์ที่เกิดจากชุดประสบการณ์ทำงานและผลลัพธ์จากการถอดบทเรียนโครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ ในปีที 1 และ 2 ประกอบด้วย 1. จักรยานกับการจัดการสิ่งแวดล้อม 2.จักรยานส่งเสริมกิจกรรมเด็กและเยาวชน 3.สร้างสุขคนสูงวัยด้วยจักรยาน 4.จักรยานกับงานขับเคลื่อนสุขภาพในชุมชน หมู่บ้าน 5. จักรยานจัดการส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน 6. จักรยานกับการบูรณาการงานท้องถิ่น และ 7. จักรยานกลายเป็นเครื่องมือ หรือมาตรการร่วมของชุมชน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาภายในชุมชน ผ่านแนวคิดการดำเนินงานชุมชนจักรยานควบคู่กัน และมีตัวอย่างผลงานพื้นที่เด่น จาก7 รูปแบบ กว่า 21 ชุมชน ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย 15 อาคารรัจนาการ ชั้น 4 ซ.ประดิพัทธ์ 17 ถ.ประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กทม. www.ibikeiwalk.org facebook : ชุมชนเดินและจักรยานเพื่อสุขภาวะ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ