ลอนดอนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยการต่อสู้กับโรคซึมเศร้า

ข่าวต่างประเทศ Monday December 8, 2014 17:21 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ลอนดอน--8 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ ผู้นำจากทั่วโลกมารวมตัวกันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่การประชุม Global Crisis of Depression จัดโดย The Economist Events วันนี้ (25 พ.ย.) ผู้นำระดับโลก ผู้กำหนดนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และนักวิชาการ เรียกร้องให้ประเทศต่างๆทั่วโลกดำเนินการมากขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน 350 ล้านคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า[1] โดยผู้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดภายใต้หัวข้อ 'The Global Crisis of Depression: The Low of the 21st Century?' ซึ่งรวมถึงนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นายนอร์แมน แลมบ์ สมาชิกรัฐสภา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการดูแลและสนับสนุนแห่งสหราชอาณาจักร และนายนิค แฮคเครัพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของเดนมาร์ก ได้เน้นย้ำว่า ระบบบริการสุขภาพ ภาคธุรกิจ และภาคสาธารณะต้องร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับโรคซึมเศร้า นายโคฟี อันนัน กล่าวกับคณะผู้แทนที่เข้าร่วมประชุมว่า “โรคซึมเศร้าส่งผลกระทบมากมายและมีหลายมิติ อันตรายก็คือโรคนี้ทำให้การตอบสนองอย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องยากมากขึ้น เราจำเป็นต้องสร้างความร่วมมืออย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพเพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ ผมไม่ได้ประเมินความท้าทายต่ำกว่าความเป็นจริง แต่ผมมองเห็นถึงความคืบหน้าที่เกิดขึ้นในสภาวะแวดล้อมต่างๆที่ท้าทายที่สุด เรามีความรู้ในการต่อสู้กับโรคซึมเศร้า แต่ตอนนี้เราต้องการความมุ่งมั่นตั้งใจและทรัพยากร เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนนับร้อยนับล้าน” “ผมหวังว่าการประชุมในวันนี้จะช่วยให้ผู้คนมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบที่สำคัญจากโรคซึมเศร้า รวมถึงผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ เราได้สำรวจตรวจสอบว่ามาตรการใดที่รัฐบาลและภาคธุรกิจกำลังดำเนินการเพื่อรับมือกับผลกระทบจากโรคซึมเศร้า และค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว” ศาสตราจารย์เดวิด ฮาสแลม ประธานสถาบัน National Institute for Health and Care Excellence กล่าว “อย่างไรก็ดี ยังมีเรื่องที่ต้องทำอีกมาก ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเดินหน้าเพื่อให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต และลดผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากโรคซึมเศร้าให้ได้มากที่สุด” ปัจจุบัน โรคซึมเศร้าถือเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียสมรรถภาพทั่วโลก[2] ในยุโรป โรคซึมเศร้าคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 7% ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร[3] และสร้างความเสียหายต่อรัฐบาลในยุโรปเป็นมูลค่ากว่า 9.2 หมื่นล้านยูโรต่อปี [4] มีการประมาณการว่า กว่าหนึ่งในสี่ของประชากรวัยทำงานทนทุกข์กับความเจ็บป่วยทางจิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งรวมถึงโรคซึมเศร้า[5] อันส่งผลกระทบอย่างมากต่อผลิตภาพทางเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคม นอกจากนี้ ต้นทุนทางสังคมและค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลยังเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพของบุคคลและนายจ้าง การแบกรับภาระของผู้ดูแลคนป่วยในครอบครัว และภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเอง[4][6] “โรคซึมเศร้าเป็นความเจ็บป่วยที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย และผมมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นใจว่าผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการสนับสนุนที่จำเป็น เรากำลังมีความก้าวหน้าในเรื่องนี้ โดยอังกฤษเป็นผู้นำโลกในการยกระดับการเข้าถึงการรักษา เรามีแผนริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนแปลงการดูแลสุขภาพจิต และผมขอท้าให้ทุกบริษัทที่จดทะเบียนซื้อขายในดัชนี FTSE 100 ร่วมต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติ ด้วยการลงนามในแคมเปญ Time to Change” นอร์แมน แลมบ์ สมาชิกรัฐสภา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการดูแลและสนับสนุนของสหราชอาณาจักร กล่าว “แต่ก็ยังมีงานที่รัฐบาลและฝ่ายอื่นๆต้องทำอีกมาก บริการด้านสุขภาพ นักวิจัย โรงเรียน และนายจ้างล้วนมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าทุกรายได้รับการสนับสนุนที่พวกเขาควรจะได้รับ” นายอลาสแตร์ แคมป์เบลล์ โฆษก นักเขียน และนักวางแผนกลยุทธ์ ในฐานะตัวแทนประชาสัมพันธ์โครงการ Time to Change ได้เปิดเผยประสบการณ์ส่วนตัวของเขาที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้าว่า “ปัจจุบันนี้ ไม่มีใครที่ไม่รู้จักบุคคลที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่ถึงกระนั้นโรคนี้ก็ยังถือเป็นรอยด่างและเรื่องต้องห้าม และหลายคนยังลังเลที่จะยอมรับว่าโรคนี้เป็นความเจ็บป่วย โรคซึมเศร้าเป็นหนึ่งในความเจ็บป่วยที่เลวร้ายที่สุด รัฐบาลประเทศต่างๆจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความเจ็บป่วยทางจิตมากเท่ากับความเจ็บป่วยทางกาย และเนื่องจากโรคซึมเศร้ามีผลกระทบต่อประชากรวัยทำงาน จึงถือเป็นผลประโยชน์ของรัฐบาลและธุรกิจที่จะร่วมมือกันในเรื่องนี้ ผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่ The Economist ให้ความสนใจกับเรื่องนี้มาก และหวังว่าองค์กรอื่นๆจะเจริญรอยตาม” “องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) พบว่าความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับประเทศสมาชิก OECD มากถึง 4% ของจีดีพี อาจทำให้มีประชาชนตกงานเพิ่มขึ้นสองหรือสามเท่า ทำให้ต้องเลิกเรียนกลางคันเพิ่มขึ้น และขัดขวางการเยียวยารักษาปัญหาสุขภาพทางกาย ดังนั้น จึงต้องมีการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้การรักษาและการแทรกแซงได้ผลอย่างเต็มที่” ฟรานเชสกา โคลอมโบ หัวหน้าแผนกสาธารณสุขของ OECD กล่าว “การที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนมากยอมรับในโรคซึมเศร้านั้นถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่การอภิปรายในวันนี้แสดงให้เห็นว่ายังมีเรื่องต้องทำอีกมาก เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับความสำคัญของการจัดการและรักษาโรคซึมเศร้าในฐานะที่เป็นประเด็นร้ายแรงด้านสาธารณสุข และรับประกันว่าทุกฝ่ายจะปรับปรุงผลการดำเนินงานโดยรวมให้ดีขึ้นตามที่ได้ให้คำมั่นไว้” กรุณาดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.depression.economist.com การประชุม The Global Crisis of Depression จัดโดย The Economist Events ภายใต้การสนับสนุนของ H. Lundbeck A/S ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านทวิตเตอร์ได้ที่ #depressionsummit และ @EconomistEvents เกี่ยวกับ The Economist Events The Economist Events เป็นผู้นำการจัดการประชุมในระดับนานาชาติสำหรับผู้บริหารระดับสูงที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกในประเด็นเชิงกลยุทธ์ การประชุมดังกล่าวประกอบไปด้วยการประชุมอุตสาหกรรม งานบริหารจัดการ และการประชุมโต๊ะกลมของรัฐบาลทั่วโลก The Economist Events เป็นส่วนหนึ่งของ The Economist Group และเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับนับถืออย่างสูง ด้วยประวัติศาสตร์ 162 ปีของแบรนด์ และชื่อเสียงที่ไม่มีใครเทียบได้ในเรื่องความเป็นเลิศและความเป็นอิสระ ทุกการประชุมที่จัดโดย The Economist Events จะมอบการวิเคราะห์อย่างรอบรู้ ตามวัตถุประสงค์ และอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง การประชุมของเรานำเสนอการอภิปรายในระดับที่สูงกว่าปกติ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงจะได้รับข้อมูลในเชิงลึก สามารถแลกเปลี่ยนมุมมอง และเปรียบเทียบกลยุทธ์ได้ http://www.economistinsights.com/events อ้างอิง: 1. European Pact for Mental Health and Well-being, 2008; J. Olesen, et al. Eur J Neurology. 2012; 19:155-162 2. World Health Organisation. Depression Factsheet. Available at: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs369/en/ 3. European Commission. Actions against depression. Improving mental and well-being by combating the adverse health, social and economic consequences of depression. 2004. Available at: http://ec.europa.eu/health/ph_determinants/life_style/mental/docs/depression_en.pdf 4. J. Olesen, et al. Eur J Neurology, 2012; 19: 155-162 5. Mental Health Foundation. Mental Health Statistics. Available at: http://www.mentalhealth.org.uk/help-information/mental-health-statistics/ 6. Evans-Lacko S, Knapp M. Importance of Social and Cultural Factors for Attitudes, Disclosure and Time off Work for Depression: Findings from a Seven Country European Study on Depression in the Workplace. PLOS One. DOI: 10.1371/journal.pone.0091053 สื่อมวลชนติดต่อสอบถามได้ทางอีเมล: economistevents@edelman.com แหล่งข่าว: The Economist Events

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ