การประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของ FATF

ข่าวการเมือง Tuesday May 19, 2015 17:09 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง การประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของ FATF ในปี พ.ศ. 2559

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เสนอ ดังนี้

1. รับทราบการเข้ารับการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism : AML/CFT) ในปี พ.ศ. 2559

2. เห็นชอบมาตรการรองรับการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT ของ FATF ในปี พ.ศ. 2559 ตามมติคณะกรรมการ ปปง. ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2557

3. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดำเนินมาตรการรองรับการประเมินดังกล่าว

สาระสำคัญของเรื่อง

สำนักงาน ปปง. รายงานว่า

1. ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์กรต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิก (Anti-Pacific Group on Money Laundering-APG) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 ซึ่งประเทศไทยในฐานะสมาชิกมีพันธกรณีที่ต้องเข้ารับการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism : AML/CFT) ซึ่งได้แก่ข้อแนะนำของ Financial Action Task Force (FATF) ที่ผ่านมาประเทศไทยได้เข้ารับการประเมินแล้ว 2 รอบในปี พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2550 และมีกำหนดเข้ารับการประเมินเป็นรอบที่ 3 ในปี พ.ศ. 2559

2. หากประเทศไทยไม่เข้ารับการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT จะส่งผลให้ประเทศไทยถูกจัดเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายทันที ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านลบต่อภาพลักษณ์ความโปร่งใส และหลักธรรมาภิบาลของประเทศไทยในสายตาประชาคมโลก

3. กรณีที่ไม่มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล อาจส่งผลให้ประเทศไทยไม่ผ่านการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานด้าน AML/CFT ในปี พ.ศ. 2559 และอาจเป็นเหตุให้ประเทศไทยถูกขึ้นบัญชีรายชื่อเป็นประเทศเสี่ยง ซึ่งประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของ FATF อาจใช้มาตรการตอบโต้ทางการเงินที่จะส่งผลให้การทำธุรกรรมของลูกค้า หรือสถาบันการเงินไทยเกิดความล่าช้า เพราะจะถูกสถาบันการเงินต่างประเทศตรวจสอบธุรกรรมอย่างเข้มข้น รวมทั้งประเมินความสัมพันธ์กับสถาบันการเงินไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจยกเลิกความสัมพันธ์ จนอาจกระทบต่อการค้าการลงทุนระหว่างประเทศของประเทศไทยได้ในที่สุด จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือในการเตรียมการดังกล่าว

4. การประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT ในปี พ.ศ. 2559 จะใช้เกณฑ์การประเมินที่มีความเข้มข้นมากขึ้นโดยจะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิผล (Effectiveness) ของระบบ AML/CFT นอกเหนือไปจากการประเมินการปฏิบัติตามเชิงเทคนิค (technical compliance) โดยจะพิจารณาว่ากฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ที่ใช้บังคับอยู่นั้นมีหลักการตลอดจนผลการบังคับใช้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลตามข้อแนะนำของ FATF หรือไม่

5. อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558 ให้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

6. มาตรการรองรับการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT ของ FATF ในปี พ.ศ. 2559 มีดังนี้

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          มาตรการ                             หน่วยงานที่รับผิดชอบ                     การดำเนินการ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          ความผิดเกี่ยวกับภาษี                     กรมสรรพากร          แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับข้อแนะนำของ
          อากรเป็นความผิด                                           FATF ข้อที่ 3 โดยกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยง
          มูลฐาน                                                   ภาษีหรือฉ้อโกงภาษีตามประมวลรัษฎากรเป็นความผิดมูลฐาน

ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

และกำหนดให้การจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่ได้มาจากการ

กระทำความผิดดังกล่าวเป็นความผิดฐานฟอกเงิน ให้แล้วเสร็จ

ภายในปี พ.ศ. 2558

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          กรณีการสำแดงเงินและตราสารผ่านแดน       สำนักงาน             ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบให้

เศรษฐกิจการคลัง สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอก

กระทรวงการคลัง เงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และมาตรฐานสากลตาม

                                              และธนาคารแห่ง        ข้อแนะนำของ FATF ข้อที่ 32 โดยดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม
                                              ประเทศไทย           กรณีดังต่อไปนี้ ให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2558 ดังนี้
  • กำหนดให้บุคคลต้องสำแดงเงินตราที่เป็นเงินบาทขาเข้า
  • กำหนดให้มีมาตรการควบคุมตราสารผ่านแดน โดย

จะต้องกำหนดให้ผู้ที่นำตราสารเปลี่ยนมือที่มีมูลค่ารวมกันจำนวน

ตั้งแต่ 15,000 เหรียญสหรัฐขึ้นไปผ่านแดนต้องสำแดงต่อ

พนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรและกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่

ศุลกากรรายงานข้อมูลการสำแดงตราสารดังกล่าวให้สำนักงาน

ปปง. ทราบด้วยทำนองเดียวกับกรณีการสำแดงเงินตรา

  • กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรมีอำนาจตรวจค้น

บุคคล ยานพาหนะใด ๆ ตู้ขนส่งสินค้า พัสดุไปรษณีย์ หรือ

ไปรษณียภัณฑ์ที่ออกไปนอกหรือเข้ามาในประเทศได้ หากมีเหตุ

อันควรสงสัยว่ามีเงินตราหรือตราสารซุกซ่อนอยู่โดยมิได้สำแดง

ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการ

สำแดงอันเป็นเท็จ รวมทั้งให้มีอำนาจยึดหรืออายัดเงินตราหรือ

ตราสารผ่านแดนหากมีเหตุอันควรสงสัยว่าเงินตราหรือตราสาร

ที่ขนส่งผ่านแดนนั้นเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินหรือการสนับสนุน

ทางการเงินแก่การก่อการร้าย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          กรณีการเข้าเป็นภาคี                     กระทรวงการ          ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้ประเทศไทย
          อนุสัญญาและพิธีสาร                      ต่างประเทศ           เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาและพิธีสารระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับ
          ระหว่างประเทศ                                            การก่อการร้ายในส่วนที่ประเทศไทยยังมิได้เป็นภาคี ให้แล้ว
          เกี่ยวกับการก่อการร้าย                                       เสร็จภายในปี  พ.ศ. 2558

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 พฤษภาคม 2558--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ