"พิเชฐ" นำทีม ขับเคลื่อนการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ (ปี 2558)

ข่าวทั่วไป Monday September 29, 2014 17:55 —สำนักโฆษก

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การปรับโครงสร้าง/กิจกรรม/งบประมาณ ของหน่วยงานในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ (ปี 2558) ตามคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ข้อ 8.1-8.5 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2557

นายพิเชฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวถึงแนวทางขับเคลื่อนไปสู่ผลสำเร็จที่ต้องการบรรลุ มีดังนี้

1. เป้าหมายของ ครม. : ให้มีการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในไตรมาส ที่ 1 35%

2. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ต้องมียุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงานได้อย่างสัมฤทธิ์ผล

2.1 Identify low hanging fruits เช่น กิจกรรมช่วยเหลือ SME และ OTOP บริการทดสอบและมารตวิทยา ต่อยอดผลการวิจัยสู่เชิงพาณิชย์

2.2 Identify priority แผนงาน/โครงการของ 15 หน่วยงาน วท. และบูรณาการร่วมกัน

2.3 ขับเคลื่อนร่วมกับกระทรวงอื่นๆ เช่น ร่วมมือกับ ศธ.(ท้องฟ้าจำลอง) โดยการสร้างความตระหนัก

3.ขับเคลื่อนงานเชิงโครงสร้างและระบบเพื่อวางรากฐาน (กฎหมาย กฎระเบียบ โครงสร้างระบบ โดยการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2558) เพื่อพร้อมรองรับการพัฒนาประเทศในระยะหลังเลือกตั้ง

นโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ วท. ข้อที่ 8 .การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม

8.1 การเพิ่มการลงทุน RDI (วิจัยพัฒนาและนวัตกรรม) สู่เป้าหมาย 1% GDP เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสาขาการผลิต ฯลฯ โดยแบ่งเป็น 1.ส่งเสริมและเร่งรัดพัฒนากำลังคน 2.เร่งรัดการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี 3.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนการวิจัยพัฒนา 4.พัฒนาการใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

8.2 การพัฒนาและใช้ประโยชน์กำลังคนเพื่อการสร้างความตระหนักด้าน วทน. ในสังคมและส่งเสริมสนับสนุน SME โดยแบ่งเป็น 1. ส่งเสริมและเร่งรัดพัฒนากำลังคน 2. สร้างความตระหนักและการเรียนรู้ 3. เร่งรัดการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี 4.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนการวิจัยพัฒนา

8.3 การปฏิรูประบบแรงจูงใจระเบียบ และกฎหมายและการจัดทำแผน วทน. และส่งเสริมความร่วมมือ สถานบันการศึกษา รัฐ และเอกชน โดยแบ่งเป็น 1.สร้างความตระหนักและการเรียนรู้ 2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนการวิจัย พัฒนา

8.4 การส่งเสริมให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ ใช้ประโยชน์งานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมของไทย โดยการเร่งรัดการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี

8.5 การพัฒนาและการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐาน วทน. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางนวัตกรรมและประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 1. เร่งรัดการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี 2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนการวิจัยพัฒนา 3. พัฒนาการใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

ในส่วนแผนงาน/โครงการอื่นๆ ที่ตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาลข้ออื่นๆ นอกเหนือจากข้อ 8.1 - 8.5 คือ 1. เร่งรัดการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี 2. พัฒนาการใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 3.พัฒนาความร่วมมือประชาคมอาเซียนและนานประเทศ

โครงการที่สำคัญที่มีงบประมาณสูงสุด 3 อันดับแรกในนโยบายแต่ละข้อ

8.1 การเพิ่มการลงทุน RDI (วิจัยพัฒนาและนวัตกรรม) สู่เป้าหมาย 1% GDP เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสาขาการผลิตอุตสาหกรรมและบริการยุทธศาสตร์

(ก) การสนับสนุนการเพิ่มการลงทุนวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมสู่เป้าหมาย 1% GDP (22โครงการ)

1. แผนงานวิจัยตามคลัสเตอร์วิจัยมุ่งเป้า (พว.)

2. งบอุดหนุนเฉพาะกิจ (ครุภัณฑ์) (พว.)

3. แผนงานวิจัยและพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีฐานที่สำคัญ 4 สาขา (พว.)

(ข) การลงทุนร่วมกับภาคเอกชน (10โครงการ)

1. แผนงานให้บริการงานวิจัยและพัฒนาแก้ไขปัญหาภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ (พว.)

2. แผนงาน : ยกระดับนวัตกรรม (สนช.)

3.โครงการแก้ไขปัญหามลพิษ สิ่งแวดล้อมและขยะชุมชนโดยเทคโนโลยีสะอาด ในพื้นที่ (พว.)

(ค) การพัฒนาปรับระบบบริหารจัดการ วทน. ให้มีเอกภาพ ประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงเอกชน (2โครงการ)

1. โครงการวิจัยและบริการวิชาการแบบ Solution Based (สทน.)

2. Sweet Innovation Project (Propose) (สทอภ.)

8.2 การพัฒนาและการใช้ประโยชน์กำลังคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสาขาการผลิต อุตสาหกรรมและบริการยุทธศาสตร์ และการสร้างความตระหนักด้าน วทน. ในสังคม

(ก) การยกระดับ STEM การเรียน การสอน และพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรวัยทำงาน (5โครงการ)

1. โครงการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาและการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (STEM) (สวทน.)

2. แผนงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สพอ.) (สทอภ.)

3.โครงการส่งเสริมการใช้ศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรของหน่วยงานในสังกัด วท. (พว.)

(ข) การผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลน (6โครงการ)

1. โครงการสนับสนุนนักเรียนทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ระยะที่ 3 (สป.)

2. โครงการสนับสนุนนักเรียนทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ระยะที่ 3 + (สป.)

3. โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับของมหาวิทยาลัย (ระยะที่ 2) (สป.)

(ค) การผลิตหรือการพัฒนากำลังคนโดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) (3 โครงการ)

1. แผนงานการพัฒนาบุคลากรภาคการผลิตและบริการ (พว.)

2. การผลิตหรือการพัฒนากำลังคนโดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) (สวทน.)

3. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการวิจัยและพัฒนา สำหรับภาคอุตสาหกรรม (NUI-RC) (พว.)

(ง) การส่งเสริม บุคลากร วทน. ของภาครัฐให้สามารถไปปฏิบัติงานภาคเอกชน (Talent Mobility) (5โครงการ)

1.โครงการส่งเสริมและสนับสนุน Talent Mobility (สวทน.)

2. โครงการวินิจฉัยปัญหาและความต้องการด้านวิจัยพัฒนา และเทคโนโลยีของสถานประกอบการในภาคการผลิตและบริการ (พว.)

(จ) การส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือทางเทคโนโลยี และการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญแก่ SMEs (3โครงการ)

1. แผนงานสนับสนุน SME ในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต (พว.)

2. ผลผลิตการถ่ายทอดเทคโนโลยี (สป.)

3. โครงการความร่วมมือกับผู้ประกอบการในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้ไคโตซานฉายรังสี (สทน.)

(ฉ) การสร้างความตระหนักด้าน วทน. ในสังคม (17โครงการ)

1.โครงการพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า (อพ.)

2. ผลผลิตการให้บริการกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (อพ.)

3. ผลผลิตทางการให้บริการนิทรรศการวิทยาศาสตร์ (อพ.)

8.4 การส่งเริมให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ ใช้ประโยชน์งานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมของไทย

(ก) การใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมภายในประเทศ ในการลงทุนขนาดใหญ่ (1 แผนงาน)

1. แผนงานยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อรองรับการผลิตชิ้นส่วนรถไฟและระบบราง (พว.)

(ข)การใช้กลไกลตลาดภาครัฐส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสร้างขีดความสามารถ ทาง วทน.

  • ไม่มีโครงการ

(ค) การกำหนดเงื่อนไขให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีเมื่อมีการจดซื้อเทคโนโลยี จากต่างประเทศในโครงการขนาดใหญ่

-ไม่มีโครงการ8.5 การพัฒาและการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐาน วทน. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศ

(ก) การปรับปรุง และจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการต่อยอดการใช้ประโยชน์งานวิจัยเชิงพาณิชย์ (อาทิ อุทยานวิทยาศาสตร์ มาตรวิทยาระบบมาตรฐาน การทดสอบ และระบบคุณภาพ ฯลฯ) (29โครงการ)

1. โครงการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (นิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) (สป.)

2. โครงการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ เพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้คุณภาพและปลอดภัย (วศ.)

3. แผนงานอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (พว.)

(ข) การพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน วทน. เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริการภาคการผลิตและบริการอย่างมีประสิทธิผล (อาทิ ระบบฐานข้อมูล ระบบการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ฯลฯ) (16โครงการ)

1. โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (สสนก.)

2. โครงการพัฒนาระบบศูนย์คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ (สสนก.)

3. โครงการพัฒนาภูมิสารสนเทศน้ำระบบตำบล (สสนก.)

นโยบายอื่นๆ

  • แก้ไขปัญหาไร้ที่ดินทำกินของเกษตรกรและการรุกล้ำเขตป่าสงวนโดยใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจ
  • อนุรักษ์ ฟื้นฟูและเผยแพร่มรดกวัฒนธรรม ละความเป็นไทยนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดีในระดับประชาชน ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ
  • การแก้ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และปัญหาการขาดแคลนน้ำ
  • ด้านการคมนาคมทางน้ำ โดยการพัฒนาขนส่งสินค้าทางลำน้ำและชายฝั่งทะเล
  • การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรกรให้สอดคล้องกับความต้องการด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การแบ่งเขตเพื่อปลูกพืชผล
  • เร่งส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรฐกิจทางการค้า การลงทุนในภูมิภาคอาเซียน
  • เร่งปกป้องและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
  • บริหารจัดการน้ำของประเทศ
  • เร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ ขยะและน้ำเสีย

ในปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ งบประมาณจากส่วนของภาครัฐ จะต้องมีการจัดทำรายงานค่าใช้จ่าย รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ของค่าใช้จ่ายให้กับสำนักงบประมาณทุกเดือน เพื่อเสนอข้อมูลในแต่ละไตรมาสให้แก่คณะรัฐมนตรี

นายพิเชฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะดำเนินการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานในสังกัด วท. เพื่อถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสงานฉลองครบรอง 60 พรรษา ในเดือน เมษายน 2558 นอกจากนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ จะจัดตั้งโครงการชุบชีวิตท้องฟ้าจำลอง ณ BTS เอกมัย โดยนำนิทรรศการวิทยาศาสตร์ จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มาจัดตั้งไว้ที่ท้องฟ้าจำลอง ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เป็นผู้ประสานงาน คาดว่าจะเปิดตัวภายในปีนี้

ด้าน นายสมชาย รองปลัดกระทรวงฯ กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมเพื่อมอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารขอกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย นายพิเชฐ (รมว.วท.) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2557 ได้มอบนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยเน้นให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาล ตามข้อ 8 คือ การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดทำแผนการดำเนินงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สวทน. และเจ้าหน้าที่รัฐขององค์กรทั้งหมด ได้ร่วมกันกรอกข้อมูลตามแบบที่ได้ประชุมหารือกัน เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน

เขียนข่าว : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ

ถ่ายภาพ : นายไววิทย์ ยอดประสิทธิ์ และนางสุนิสา ภาคเพียร นาวงษ์

เผยแพร่ข่าว : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 02 333 3700 ต่อ 3728 - 3732

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ