โฆษกฯตำรวจเชื่อคำตัดสินคดีเกาะเต่าประหาร 2 เมียนมาร์ไม่กระทบสัมพันธ์ระหว่างปท.

ข่าวทั่วไป Sunday December 27, 2015 18:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า กรณีที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเมีย
นมาร์ เรียกร้องให้ไทยทบทวนคำตัดสินของศาลฯที่มีคำพิพากษาประหารชีวิตชาวเมียนมาร์ 2 คน ซึ่งเป็นจำเลยคดีฆ่านักท่องเที่ยวชาว
อังกฤษบนเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานีนั้น ไม่สามารถที่จะสอบสวนใหม่ เพราะต้องไปต่อสู้คดีในชั้นศาล ทั้งนี้ เชื่อว่า
เรื่องดังกล่าวจะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเมียนมาร์มานานแล้ว
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนทั้งคนไทยและเมียนมาร์ เชื่อในกระบวนการยุติธรรมของไทย เพราะมีการถ่วงดุลการทำงานอย่าง
ชัดเจน และตลอดเวลาที่ผ่านจำเลยทั้ง 2 รายมีโอกาสในการต่อสู้คดี และมีทนายความที่ว่าความให้ถึง 7 คน ซึ่งศาลที่พิพากษาไม่ได้
ยึดคำให้การให้จำเลย แต่ยึดจากพยานหลักฐาน ทางนิติวิทยาศาสตร์ที่สามารถตรวจสอบได้ และหากเมียนมาร์ ต้องการตรวจสอบการ
ทำงานของพนักงานสอบสวน ก็สามารถยื่นเรื่องมาได้ ทางพนักงานสอบสวนพร้อมที่จะให้การตรวจสอบ
โดยยืนยันว่าการทำงานเป็นไปตามมาตรฐานสากล ตามหลักการสอบสวนของ FBI ตรวจสอบกล้องวงจรปิดกว่า 400 ตัว
มีการตรวจสอบ DNA กว่า 360 คน ซึ่งจากการตรวจ DNA ของสถาบันนิติเวช พบว่า DNA ของผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ตรงกับ DNA ที่
อยู่ในร่างกายของนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ ส่วน DNA ที่ก้นบุหรี่ ก็เป็น DNA ที่ตรงกับจำเลย สำหรับ DNA ที่อยู่ในจอบ ทางเจ้าหน้าที่
ไม่ยืนยันโปรไฟล์ DNA กับผู้ต้องหา เนื่องจากอาวุธดังกล่าวอาจถูกลบเลือนด้วยสภาพแวดล้อม แต่ว่าที่จอบมี DNA ของศพ
สำหรับประเด็นที่ระบุว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการซ้อมผู้ต้องหานั้น ทางพล.ต.อ.เดชณรงค์ ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจะ
ไม่ดำเนินการอย่างนั้นแน่นอน เพราะเป็นวิธีการที่ล้าสมัย และจากการตรวจร่างกายของจำเลย ก็ไม่มีร่องรอยการทำร้ายร่างกายแต่
อย่างใด
ทางด้านพล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งข้อสงสัยในประเด็นที่มีการเคลื่อนไหวในประ
เทศเมียนมาร์ว่า อาจจะมีบางกลุ่มใช้สถานการณ์ดังกล่าวเข้ามาบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ แต่ขอ
ย้ำว่าคดีดังกล่าว เป็นการกระทำความผิดของปัจเจกบุคคล ไม่เกี่ยวกับเรื่องการเมือง ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะไปตรวจ
สอบอีกครั้งว่ามีครั้งว่ามีใครอยู่เบื้องหลังการชุมนุมดังกล่าว เนื่องจากในรอบปีที่ผ่านมา มีคดีที่ชาวเมียนมาร์ ก่อเหตุข่มขืน และ
ฆาตกรรมในประเทศไทยมากถึง 126 คดี โดยในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้มี 26 คดี และคำตัดสินของศาลก็จะมีเหมือนกับเหตุการณ์ที่
เกาะเต่า คือประหารชีวิต แต่ไม่เห็นว่าจะมีความเคลื่อนไหวใดๆ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ