ภาวะตลาดเงินบาท: เงินบาทเปิดตลาดวันนี้ที่ 33.92 บาท/ดอลลาร์ ทิศทางยังแข็งค่า

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 15, 2017 09:43 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 33.92 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัว ใกล้เคียงกับช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้ ก่อนที่จะปรับตัวแข็งค่าลงมาอยู่ที่ 33.88 บาท/ดอลลาร์ เมื่อเวลา 08.15 น. หลังดอลลาร์อ่อน ค่า เนื่องจากตลาดยังไม่มั่นใจเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ

"บาททรงตัวก่อนที่จะแข็งค่าลงมา หลังดอลลาร์อ่อนค่า เนื่องจากมีตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ทำ ให้ตลาดกังวลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ส่วนการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดนั้น เป็นเรื่องที่ตลาดรับรู้ไปก่อนหน้านี้แล้ว จึงเป็น เพียงแค่ปัจจัยที่ช่วยพยุงไม่ให้ดอลลาร์อ่อนค่าไปมากกว่านี้" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 33.80-33.95 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ 109.54 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 110.00 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1224 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1200 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.908 บาท/ดอลลาร์
  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น
0.25% สู่ระดับ 1.00-1.25% ในการประชุมวันนี้ ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันนี้ นับเป็นการปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ของเฟดในปีนี้ หลังจากมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนมี.ค.
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆเกือบทั้งหมด ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14
มิ.ย.) หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งถือเป็นการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
ครั้งที่ 4 นับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2558
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกแถลงการณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ว่า
ข้อมูลที่ได้รับนับตั้งแต่ที่คณะกรรมการ FOMC ประชุมกันในเดือนพ.ค.บ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง และกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจปรับตัวขึ้นปานกลางตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ ส่วนการจ้างงานแม้ปรับตัวขึ้นปานกลาง แต่เมื่อพิจารณาจากภาพรวมตั้งแต่ต้นปีแล้ว การ
จ้างงานยังนับว่าแข็งแกร่ง และอัตราว่างงานเริ่มปรับตัวลดลง ส่วนการใช้จ่ายภาคครัวเรือนฟื้นตัวขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และ
การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของภาคธุรกิจยังคงมีความแข็งแกร่ง

ส่วนเงินเฟ้อในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมานั้น ปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่ไม่นับรวมราคาพลังงานและอาหารนั้น ปรับตัวลงเช่นกัน โดยยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 2% โดยข้อมูลที่ได้จากการสำรวจการคาดการณ์เงินเฟ้อระยะยาวบ่งชี้ว่า มีการ เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย

คณะกรรมการ FOMC มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการจ้างงานให้เติบโตอย่างเต็มที่และหนุนราคาให้มีเสถียรภาพ โดยคณะ กรรมการ FOMC ยังคงคาดการณ์ว่า ด้วยการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะขยายตัว ปานกลาง และภาวะในตลาดแรงงานจะยังคงมีความแข็งแกร่ง ส่วนเงินเฟ้อนั้น คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 2% ในระยะ ใกล้นี้ แต่คาดว่าในระยะกลางนั้น เงินเฟ้อจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้เป้าหมายที่ระดับ 2% ของคณะกรรมการ FOMC ขณะที่ความเสี่ยงใน ระยะใกล้ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ อยู่ในระดับค่อนข้างสมดุล ทั้งนี้ คณะกรรมการ FOMC ยังคงจับตาสัญญาณบ่งชี้เงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด

คณะกรรมการจะจับตาดูอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับความคืบหน้าทั้งในแง่ความเป็นจริงและการคาดการณ์สู่เป้าหมายเงิน เฟ้อ คณะกรรมการคาดว่าภาวะทางเศรษฐกิจจะปรับตัวในแนวทางที่จะสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอย่างค่อยเป็นค่อย ไป และอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นมีแนวโน้มที่จะยังคงต่ำกว่าระดับที่คาดการณ์ไว้ในระยะยาวต่อไปสักระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ทิศทางที่ แท้จริงของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะขึ้นอยู่กับแนวโน้มเศรษฐกิจ ตามข้อมูลที่กำลังจะมีการเปิดเผยต่อไป

  • China Foreign Exchange Trading System (CFETS) รายงานว่า เงินหยวนแข็งค่าขึ้น 0.87% แตะที่
6.7852 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐในวันนี้
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 3% เมื่อคืนนี้ (14 มิ.ย.) หลังจากสำนักงาน
สารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐลดลงน้อยกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจาก
นี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานของสำนักงานพลังงานสากลซึ่งระบุว่า การผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน
(โอเปก) พุ่งขึ้นในเดือนพ.ค.

โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. ร่วงลง 1.73 ดอลลาร์ หรือ 3.7% ปิดที่ 44.73 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะ ที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 1.72 ดอลลาร์ หรือ 3.5% ปิดที่ 47.00 ดอลลาร์/บาร์เรล


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ