ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.52 แข็งค่าจากแรงเทขายดอลลาร์หลัง FOMC มีมติขึ้นดอกเบี้ย,รอติดตามผลประชุม ECB-BoE

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 14, 2017 09:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.52 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 32.58 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงิน หลังคณะกรรมการนโยบายการ เงิน (FOMC) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้มีแรงเทขายดอลลาร์ออกมา

"บาทแข็งค่าจากเย็นวานเนื่องจากมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมา หลัง FOMC มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่มติที่ออกมา 7:2 ไม่เป็นเอกฉันท์" นักบริหารเงิน กล่าว

คืนนี้นักลงทุนรอดูผลประชุมธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)

นักบริหารเงิน คาดวันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-32.60 บาท/ดอลลาร์

"คิดว่าแนวรับ 32.50 ยังแข็งแกร่ง ไม่น่าจะหลุดลงไปได้" นักบริหารเงิน กล่าว

THAI BAHT FIX 3M (14 ธ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.76711% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (14 ธ.ค.)อยู่ที่ระดับ 1.13934%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ 112.64 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 113.38/41 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ 1.1839 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1752/1755 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.5900 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกแถลงการณ์หลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ซึ่งเสร็จ
สิ้นลงเมื่อวานนี้ (13 ธ.ค.) ว่า ข้อมูลที่ได้รับนับตั้งแต่คณะกรรมการ FOMC ประชุมกันในเดือนพ.ย.บ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานยังคงมี
ความแข็งแกร่ง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวขึ้นในระดับที่แข็งแกร่งเช่นกัน แม้ว่าเกิดผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคน แต่ตัวเลข
การจ้างงานโดยเฉลี่ยปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และอัตราว่างงานยังคงปรับตัวลดลง ขณะที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนมีการขยายตัว
ปานกลาง และการขยายตัวด้านการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของภาคธุรกิจเริ่มกระเตื้องขึ้นในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนตัวเลข
เงินเฟ้อนั้น ทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวลดลงในปีนี้ และยัง
คงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 2% โดยข้อมูลที่ได้จากการสำรวจการคาดการณ์เงินเฟ้อระยะยาวบ่งชี้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย

คณะกรรมการ FOMC มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการจ้างงานให้เติบโตอย่างเต็มที่และหนุนราคาให้มีเสถียรภาพ ส่วนผลกระทบ ของพายุเฮอร์ริเคนและการบูรณะซ่อมแซมพื้นที่ประสบภัยนั้น แม้ว่ายังคงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และเงิน เฟ้อในระยะใกล้นี้ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการ FOMC ยังคงคาด การณ์ว่า ด้วยการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะขยายตัวปานกลาง และภาวะในตลาด แรงงานจะยังคงมีความแข็งแกร่ง ส่วนอัตราเงินเฟ้อในช่วงเวลา 12 เดือนนั้น คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 2% ในระยะ ใกล้นี้ แต่คาดว่าในระยะกลาง เงินเฟ้อจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้เป้าหมายที่ระดับ 2% ของคณะกรรมการ FOMC ขณะที่ความเสี่ยงใน ระยะใกล้ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ อยู่ในระดับค่อนข้างสมดุล ทั้งนี้ คณะกรรมการ FOMC ยังคงจับตาสัญญาณบ่งชี้เงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด

เมื่อพิจารณาถึงภาวะตลาดแรงงานและเงินเฟ้อที่เป็นไปตามการคาดการณ์แล้ว คณะกรรมการได้ตัดสินใจปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 1.25-1.50% ขณะที่จุดยืนด้านนโยบายการเงินนั้น ยังคงอยู่ในลักษณะผ่อนคลาย ซึ่งจะช่วยสนับสนุน ภาวะตลาดแรงงานให้ปรับตัวดีขึ้นต่อไป และจะช่วยหนุนเงินเฟ้อให้ปรับตัวสู่ระดับ 2% อีกครั้ง

  • China Foreign Exchange Trading System (CFETS) ซึ่งเป็นหน่วยงานของธนาคารกลางจีนรายงานว่า
เงินหยวนแข็งค่าขึ้น 2.18% แตะที่ 6.6033 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐในวันนี้
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ประเภท 1 ปี สู่ระดับ
3.25% จากระดับ 3.20%
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ย. ปรับตัวขึ้น 6.1% เมื่อ
เทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอตัวลงหลังจากที่พุ่งขึ้น 6.2% ในเดือนต.ค.
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% ตามคาดในการประชุมเมื่อวานนี้ พร้อมกับปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐทั้งในปีนี้
และปีหน้า อย่างไรก็ตาม ดัชนี S&P500 ปิดตลาดในแดนลบ เนื่องจากหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง หลังจากคณะกรรมการเฟดส่งสัญญาณว่า
จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 3 ครั้งในปีหน้า ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,585.43 จุด เพิ่มขึ้น 80.63 จุด หรือ +0.33% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,875.80 จุด เพิ่มขึ้น 13.48 จุด หรือ +0.20% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,662.85 จุด ลดลง 1.26 จุด หรือ -0.05%

  • ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการเลือกตั้งของอิตาลีในปีหน้า ซึ่งส่ง
ผลให้ดัชนี FTSE MIB ตลาดหุ้นอิตาลีร่วงลงอย่างหนักถึง 1.4% ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลงจากความกังวลดังกล่าวเช่นกัน นอก
จากนี้ นักลงทุนยังชะลอการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยตลาดหุ้นยุโรปปิดทำการไปก่อนที่
คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติการประชุม

ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.2% ปิดที่ 390.70 จุด

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 13,125.64 จุด ลดลง 57.89 จุด หรือ -0.44% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศส ปิดที่ 5,399.45 จุด ลดลง 27.74 จุด หรือ -0.51% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,496.51 จุด ลดลง 3.90 จุด หรือ -0.05%

  • ตลาดหุ้นลอนดอนปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) หลังสหราชอาณาจักรเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่บ่งชี้ว่า อัตราค่าจ้าง
ในอังกฤษยังคงถูกกดดันอย่างต่อเนื่อง

ดัชนี FTSE 100 ลดลง 3.90 จุด หรือ -0.05% ปิดที่ 7,496.51 จุด

  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการ
พลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สหรัฐผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่สต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด
การณ์ไว้

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 54 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 56.60 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 90 เซนต์ หรือ 1.4% ปิดที่ 62.44 ดอลลาร์/บาร์เรล

  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% ตามคาด ในการประชุมเมื่อวานนี้ และส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 3 ครั้งในปีหน้า ซึ่งไม่
เปลี่ยนแปลงจากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 6.9 ดอลลาร์ หรือ 0.56% ปิดที่ ระดับ 1248.60 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 20.1 เซนต์ หรือ 1.28% ปิดที่ 15.869 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ลดลง 30 เซนต์ หรือ 0.03% ปิดที่ 875.40 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 1.70 ดอลลาร์ หรือ 0.2% ปิดที่ 1,004.05 ดอลลาร์/ออนซ์

  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) หลัง
สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น
0.25% พร้อมกับส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีหน้า ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้

ยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1789 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1739 ดอลลาร์ ขณะที่ดอลลาร์อ่อน ค่าลงเมื่อเทียบกับเยน ที่ระดับ 112.83 เยน จากระดับ 113.55 เยน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ