ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.54 รอความชัดเจนแผนปฏิรูปภาษีสหรัฐฯ-การประชุม BOJ-กนง.ในสัปดาห์หน้า

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 15, 2017 17:26 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 32.54 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 32.50 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 32.50-32.56 บาท/ดอลลาร์

"ระหว่างวันมีแรงเทขายสกุลเงินในตลาดเกิดใหม่ เช่น หยวน ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ รวมทั้งเงินบาท แต่ขณะเดียว กันก็มีแรงซื้อเข้ามาในตลาดบอนด์บ้านเราช่วยให้ชะลอแรงเทขายเงินบาทได้บ้าง"นักบริหารเงิน กล่าว

ส่วนทิศทางค่าเงินบาทคาดว่าจันทร์จะยังเคลื่อนไหวในกรอบ 32.45-32.55 บาท/ดอลลาร์ ส่วนกรอบสัปดาห์หน้าจะอยู่ ระหว่าง 32.35-32.65 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ต้องติดตามคือความชัดเจนเรื่องแผนปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯ การประชุมคณะ กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และ การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันที่ 21 ธ.ค.

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 112.16 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 112.27 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ 1.1796 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1781 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,717.69 จุด เพิ่มขึ้น 2.70 จุด, +0.16% มูลค่าการซื้อขาย 52,053.95 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 619.53 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคาร ซี ไอเอ็มบี ไทย คาดว่าเงินบาทในสัปดาห์หน้า ( 18-22 ธ.ค.) จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.40-
32.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยต้องจับตาการเพิ่มเพดานหนี้และกฎหมายภาษีของสหรัฐฯว่าสำเร็จในเวลาที่พรรครีพับบลิกันตั้งเป้า
ไว้ในวันที่ 22 ธันวาคมนี้หรือไม่ รวมทั้งรายละเอียดกฎหมายภาษีที่ออกมาว่าจะส่งผลบวกหรือลบต่อภาคเศรษฐกิจต่างๆของสหรัฐฯแตก
ต่างกันอย่างไร
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบสุดท้ายของปี 2560 ในวันที่
20 ธ.ค. 60 จะมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ต่อเนื่อง เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงินคงรอติดตาม
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศให้มีความชัดเจนมากขึ้นก่อนที่จะปรับเปลี่ยนการดำเนินนโยบายการเงิน โดยแม้ว่าภาพรวมของการ
ฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีพัฒนาการที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามลำดับ แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2560 มาจากแรงสนับสนุนจาก
ปัจจัยนอกประเทศเป็นหลักในขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจในประเทศยังคงฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่นัก
  • นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยในงาน"Thailand Smart Money"ว่า กระทรวงการคลังมีแนวคิดผลัก
ดันภาคการเงินอย่างธนาคารที่ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้ไปสู่ระดับสากลมากขึ้น โดยจะกระตุ้นให้ธนาคารในไทยมีขนาด
ใหญ่ขึ้นหรือมีการควบรวมกิจการ เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขัน เพราะมองว่ามีจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ แต่อาจต้องมีค่า
ใช้จ่ายและต้นทุนสูง ดังน้น จึงอาจต้องมีการสร้างแรงจูงใจด้วยการรลดค่าใช้จ่ายและลดภาษี ซึ่งจะออกเป็นมาตรการต่อไป
  • กรมการค้าต่างประเทศ คาดว่า การส่งออกข้าวปี 2560 ข้าวไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก โดยการส่งออก
ข้าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 8 ธันวาคมที่ผ่านมา มีปริมาณทั้งสิ้น 10.52 ล้านตัน มูลค่า 158,708 ล้านบาท หรือ 4,683 ล้าน
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.76% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 12.96% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ เบนิ
น จีน สหรัฐฯ และแอฟริกาใต้ ทั้งนี้ คาดว่าทั้งปีจะส่งออกข้าวทะลุ 11 ล้านตันตามเป้าหมายที่คาดไว้
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่าถึงแม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับขึ้น
ดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง แต่อาจไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มากนัก เนื่องจากนักลงทุนได้คาดการณ์ไว้บ้าง
แล้ว ดังนั้น ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จึงอาจไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากปัจจัยการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ

พร้อมคาดว่า ธปท. มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ในปี 61

  • หน่วยงานรัฐและเอกชน ประสานเสียงเศรษฐกิจไทยปี 61 ยังเติบโตจากการลงทุนภาครัฐ จะช่วยหนุนให้การลงทุน
ของภาคเอกชนเริ่มกลับมาดีขึ้น ผลักดันด้วยแรงขับเคลื่อนของภาคการส่งออกที่ต่อเนื่อง ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว และภาคการท่อง
เที่ยวที่ยังแข็งแกร่ง ด้านราคาพลังงานที่เชื่อว่าจะไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากนักก็จะเป็นผลบวกต่อต้นทุนการประกอบการ แต่ยังห่วงกำลังซื้อ
ที่ยังไม่แข็งแรงเพียงพออาจทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ไม่มากนักในปีหน้า
  • รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมปรับเพิ่มคาดการณ์ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สำหรับปีงบประมาณ 2561
เป็น 1.8% ซึ่งบ่งชี้ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังฟื้นตัว
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่น (ทังกัน) ประจำ
ไตรมาส 4/2560 ในวันนี้ โดยระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ ซึ่งรวมถึงบริษัทผลิตรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
นั้น อยู่ที่ระดับ +25 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/2560 ซึ่งอยู่ที่ระดับ +22

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ