ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลกดดัน กสท.สั่งช่อง 3 อนาล็อกทำตามกฎหลังเยียวยาแล้ว

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday September 1, 2014 12:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่องเนชั่น ตัวแทนผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์(กสท.) ขอให้ยืนยันบังคับใช้มติวันที่ 3 ก.พ.57 อย่างเคร่งครัด จากกรณีที่ช่อง 3 อนาล็อกยืนยันไม่ออกอากาศคู่ขนานในช่องดิจิตอลทีวี เพราะอาจจะทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลสะดุดลงได้ และยังอาจทำให้เกิดปัญหาฟ้องร้องจนทำให้ กสท.ยินยอมผ่อนผันเพื่อบรรเทาผลกระทบไปแล้ว จนทำให้เกิดการแข่งขันที่ยังไม่เท่าเทียมกันในอุตสาหกรรมนี้ตามที่ กสท.ตั้งเป้าหมายไว้

หนังสือที่ยื่นให้กับกสท. มีผู้บริหารสถานีดิจิตอลทีวี 16 รายชื่อจาก 11 ช่อง ได้แก่ ช่องไทยทีวี ช่องไทยรัฐทีวี ช่องเนชั่น ช่องสปริงนิวส์ ช่องวอยซ์ทีวี ช่องพีพีทีวี ช่อง 8 ช่องโมโน 29 ช่อง NOW และช่องอมรินทร์ทีวี

เนื้อหาหนังสือที่ยื่นระบุว่า ตามที่ กสท.มีการประชุมเมื่อ 25 ส.ค.ที่ผ่านมารับทราบคำสั่งของศาลปกครองให้ยกคำร้องคุ้มครองชั่วราวของบมจ.บางกอกเอนเตอร์เทนเมนท์ (BEC) หรือ ช่อง 3 เมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ศาลปกครองได้พิจารณาและรับทราบหนังสืออ้างของ ช่อง3 ถึงประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 24 พ.ค.ที่ให้สถานีโทรทัศน์ในระบบอนาล็อกภาคพื้นดินสามารถออกอากาศทางโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลทีวีได้นั้น

ทั้งนี้ กสท.จะมีการประชุมในวันที่ 1 ก.ย.นี้เพื่อพิจารณาแนวทางหลังจากมติเมื่อวันที่ 28 พ.ค.ให้ขยายเวลาเยียวยาให้ช่อง 3 ในระบบอนาล็อกยังอยู่ภายใต้กฎ Must Carry ไปอีก 100 วันจะครบกำหนดในวันที่ 1 ก.ย.นี้ ซึ่งมีผลทำให้สถานะของช่อง 3 ระบบอนาล็อกไม่มีสิทธิเผยแพร่ผ่านทางโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลทีวีได้ตามปกติต่อไป

ในนามของกลุ่มผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิตัลตามรายชื่อที่แนบมาขอให้กสท. กำกับและดูแลให้ช่อง 3 ยินยอมปฏิบัติคตามประกาศต่างๆของกสท.อย่างเคร่งครัดเพื่อทำให้เกิดความเท่าเทียมในการปฏิบัติต่อผู้รับใบอนุญาตโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลภาคพื้นดินที่มีสิทธิ์ตามประกาศของกสท.เมื่อวันที่ 23 ก.ค.55 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป และการยึดมั่นปฏิบัติตารมมติ กสท.เมื่อวันที่ 3 ก.พ.57 ให้บังเกิดผลอย่างจริงจัง ซึ่งจะเป็นการเร่งให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านจากโทรทัศน์ในระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตทัลเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ กสท.ควรหาหนทางให้ผู้บริหารช่อง 3 พิจารณาใหม่อีกครั้ง ขอความร่วมมือและสนับสนุนกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลด้วยความจริงใจ ด้วยการนำช่อง 3 อนาล็อกไปออกอากาศคู่ขนานในช่องดิจิทัล ในช่องใดช่องหนึ่งที่ช่อง 3 ประมูลมาได้ถึง 3 ช่อง เช่นเดียวกับผู้ประกอบการทีวีระบบอนาล็อก 2 รายที่นำช่อง 7 และ ช่อง 9 ไปออกอากาศคู่ขนานในช่องดิจิทัลระบบ HD ที่สร้างความพึงพอใจให้ผู้บริโภคที่รับชมจากภาคพื้นดิน

กลุ่มผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิทัลมีความเห็นตรงกันว่า กสท.มีอำนาจอย่างสมบูรณ์ตามกฎหมายในการกำกับและดูแลให้ช่อง 3 ปฏิบัติตามมติ กสท.วันที่ 3 ก.พ.57 โดยไม่ม่ความจำเป็นจะต้องขยายระยะเวลาเป็นครั้งที่ 2 ในการทุเลาผลกระทบต่อประชาชนท เป็นเพียงข้ออ้างของช่อง 3 ว่าจะไม่สามารถรับชมช่อง 3 ได้ผ่านจานดาวเทียมและเคเบิลทีวีต่อไป รวมทั้งประกาศ คสช.ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 24 พ.ค. 2557 ที่ช่อง 3 เพิ่งขอใช้เป็นข้ออ้างในการออกอากาศผ่านโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลทีวี ทั้งๆที่ประกาศฉบับนี้ลงวันที่ 24 พ.ค.ก่อนคำฟ้องของช่อง 3 ที่ไดยื่นต่อศาลปกครองที่มีมติรับคำฟ้องของช่อง 3 เมื่อวันที่ 30 พ.ค.57

หากช่อง 3 เป็นห่วงผลกระทบต่อประชาชนและยังประสงค์จะออกอากาศผ่านโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลทีวีเช่นเดิม หลังจากศาลปกครองกลางไม่ให้การคุ้มครองชั่วคราวและครบกำหนดการทุเลามติ กสท. 3 ก.พ. ครบ 100 วันแล้ว ช่อง 3 สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องไปฟ้องศาลปกครองเพื่อเพิกถอนมติ กสท.วันที่ 3 ก.พ. แต่จะต้องยินยอมลดจำนวนนาทีโฆษณาในแต่ละชั่วโมงให้เหลือ 6 นาที ด้วยการดำเนินการเร่งยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในระบบบอกรับสมาชิกและเคเบิลทีวีระบบบอกรับสมาชิกเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตจาก กสท.อย่างเป็นทางการโดยเร็ว ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบกิจการโครงข่ายโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวีสามารถนำช่อง 3 ระบบอนาล็อกไปเผยแพร่ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ

ผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิทัลขอเรียนให้ กสท.ทราบถึงความห่วงใยและข้อกังวลต่อผลกระทบต่างๆ หาก กสท.ไม่ยึดมั่นในการกำกับดูแลอย่างเคร่งครัดตามประกาศต่างๆ และผู้ประกอบการส่วนใหญ่กำลังประสบปัญหาทางธุรกิจอย่างรุนแรงจากการดำเนินการล่าข้าหลายเรื่องของ กสท. เช่น การแจกคูปองส่วนลดล่าช้าไปกว่า 5-6 เดือนแล้ว การกำกับดูแลการขยายโครงข่ายทีวีดิจิทัลไม่เป็นไปตามกำหนด ฯลฯ หากช่อง 3 ยังได้รับการผ่อนผัน ผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิทัลอาจมีความจำเป็นจะต้องพี่งช่องทางอื่นๆในทุกข่องทางเพื่อแสวงหาความยุติธรรมและเป็นธรรม อาทิ ศาลปกครองกลาง คสช. ฯลฯ และอาจมีผลกระทบต่อคณะกรรมการผู้กำกับดูแลทั้งทางแพ่งและอาญา อันเป็นผลจากการจงใจหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ